เคล็ดลับปังๆ ขอพรสมหวัง ตามความเชื่อวันดาวตก

ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์ 12 ส.ค.66 นี้ ‘อีจัน’ มีเคล็ดลับปัง ในการขอพรดาวตก ตามความเชื่อโบราณมาฝากสายมูได้อัปดวงฟูกันค่ะ

ใครเคยขอพรดาวตกแล้วสมหวังบ้าง 

หลังจากที่สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) เผยว่า เวลาประมาณ 23.00 น. ของวันที่ 12 ไปจนถึงรุ่งเช้าวันที่ 13 ส.ค.66 จะเกิดปรากฏการณ์ฝนดาวตกวันแม่ หรือฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์ ที่มีความสว่างเป็นอันดับ 2 รองจากฝนดาวตกลีโอนิดส์  

มีอัตราการตกสูงสุดชั่วโมงละกว่า 100 ดวง มีศูนย์กลางการกระจายตัวอยู่บริเวณกลุ่มดาวเพอร์เซอิดส์ ซึ่งเราจะสามารถเห็นได้ชัดๆ แบบไม่มีแสงจันทร์รบกวน 

ส่อง! ปรากฏการณ์บนท้องฟ้า ส.ค. 66

โดยดาวตก คือ วัตถุที่ถูกแรงดึงดูดของโลกดูดเข้ามา ขณะที่วัตถุนั้นกำลังตกลงมายังพื้นโลกจะเกิดการเสียดสีบรรยากาศของโลกทำให้มีความร้อนสูง เราจึงเห็นดาวตกสว่างและมีหาง ขณะที่วัตถุนั้นยังตกลงมาไม่ถึงพื้นโลก เราจะเรียกวัตถุนั้นว่า “ดาวตก” 

คนโบราณมักผูกความเชื่อไว้กับดวงดาว ซึ่งเชื่อว่าปรากฏการณ์ดาวตกเป็นเรื่องของเทวดาบนฟ้าที่ลงมาบนโลกมนุษย์ ใครที่เห็นดาวตกจะเป็นคนที่โชคดี อธิษฐานอะไรก็จะได้ดังใจหวัง หลายคนจึงรีบยกมือขึ้นอธิษฐานขอพร เพราะเชื่อว่าเทวดาจะช่วยให้เราสมหวังในสิ่งที่อยากได้  

‘อีจัน’ ได้มีเคล็ดลับในการขอพรวันดาวตกให้สมหวัง ตามตวามเชื่อคนโบราณมาฝากลูกเพจ ดังนี้ค่ะ 

มองหาดาวตก โดยแนะนำให้อยู่ในที่มืดๆ จะได้เห็นแสงชัดๆ นอนหรือนั่งตามสบาย แหงนหน้ามองฟ้า คิดคำอธิฐาน  

หลับตาขณะอธิษฐาน ถ้าโชคดีเห็นดาวตก ให้หลับตาก่อนขอพร จากนั้นพูดว่า “แสงดาว ดวงดาวที่สุกใส ดาวดวงแรกที่ฉันเห็นในค่ำคืนนี้ ฉันหวังว่าฉันจะได้ ฉันหวังว่าฉันจะได้สิ่งที่ปรารถนาในค่ำคืนนี้” ซึ่งเป็นบทกลอนเก่าแก่ตามความเชื่อของชาวยุโรป 

อยากดูดาวชัดๆ ด้วยกล้องโทรทรรศน์ : https://s.lazada.co.th/l.WhKo

เมื่อขอพรเสร็จ อย่าบอกความปรารถนากับใครเด็ดขาด หากเราบอกความปรารถนากับใครซักคน โอกาสที่จะเป็นจริงจะน้อยลง หากเรากำลังดูดาวกับเพื่อน ให้พูดคำอธิษฐานในใจอย่าให้ใครยิน แต่ถ้าอยู่คนเดียว สามารถพูดดัง ๆ ได้เลย  

ต้องลองแล้วล่ะ ดาวตก 12 ส.ค.66 นี้ ‘อีจัน’ แอบได้ยินมาว่า มีหลายคนที่เคยสมหวังเพราะขอพรดาวตกมาแล้ว โดยเฉพาะเรื่องความรัก ปังสุดๆ อย่างไรก็ตาม เรื่องราวดังกล่าวเป็นเพียงความเชื่อส่วนบุคคลเท่านั้นนะคะ 

ข้อมูลจาก: https://www.gotoknow.org/ , https://thethaiger.com/ , http://astro.phys.sc.chula.ac.th/