5 เทคนิคทรงประสิทธิภาพ รับมือน้ำมันรั่วไหลลงสู่ทะเล

5 เทคนิค รับมือจัดการปัญหาน้ำมันรั่วไหลลงสู่ทะเล ได้อย่างมีประสิทธิภาพปลอดภัยต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม

จากหลายต่อหลายเหตุการณ์อุบัติภัยทางทะเลไม่ว่าจะเป็นแท่นขุดน้ำมันรั่วไหล เรืออับปาง หรืออุบัติเหตุทางทะเลที่ทำให้เกิดการรั่วไหลของน้ำมันลงสู่ท้องทะเล จนเกิดคราบน้ำมันกระจายตามคลื่นน้ำอาจส่งผลผลกระทบในระยะยาวต่อระบบนิเวศทางทะเล ทั้งบนบกบริเวณ ชายหาด บนพื้นน้ำ และใต้น้ำรวมถึงสัตว์ทะเลและปะการัง การต่อสู้กับปัญหานี้โดยการขจัดคราบน้ำมันให้หมดไป เป็นเรื่องทางเทคนิคที่ต้องใช้องค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วย และต้องคอยเฝ้าสังเกตุระยะยาวถึงผลกระทบต่อระบบนิเวศกันอีกต่อไป

จะมีเทคนิคอะไรบ้าง ที่สามารถใช้ทำความสะอาดน้ำมันที่รั่วไหลได้บ้าง ?


สำหรับการจัดการกับน้ำมันที่รั่วไหลสู่ท้องทะเล อาจแบ่งออกกว้างๆ เป็นการใช้ วิธีการทางกายภาพ เคมี และชีวภาพ ซึ่งรวมแล้วมีวิธีการให้เลือกใช้ได้มากมาย หลายแบบตามแต่ปัจจัยแวดล้อมเพื่อลดผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งให้ได้มากที่สุด ซึ่งเทคโนโลยีในการจัดการน้ำมันรั่วไหลนั้นจะมีอะไรบ้าง และมีหลักการอย่างไร

1. ทุ่นลอยน้ำล้อมน้ำมัน (oil boom)

เป็นวิธีมาตรฐานเพื่อไม่ให้น้ำมันแพร่กระจายเป็นวงกว้าง ก่อนจะใช้เรือกวาดน้ำมัน (หรือดูดน้ำมัน) เนื่องจากน้ำมันมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ น้ำมันที่หกลงในทะเลจะลอยอยู่บนผิวน้ำ วิธีจัดการที่ดีที่สุดและต้องทำให้ไวที่สุด ใช้เรือลากทุ่นลอยน้ำล้อมน้ำมันไว้มากองรวมกันเพื่อจัดการต่อด้วยวิธีอื่นและเป็นการจำกัดบริเวณการแพร่กระจายออกไป

2. การเผาน้ำมัน (In-Situ Burning)

วิธีนี้ต้องใช้แต่เนิ่นๆ ทันทีที่ทราบว่ามีการรั่วไหลของน้ำมัน ซึ่งในกรณีนี้เมื่อคราบน้ำมันถูกกวาดล้อมด้วยทุ่นที่ทำจากวัสดุทนไฟจนสามารถจำกัดบริเวณได้ จากนั้นจึงทำการเผาทำลายน้ำมันด้วยการควบคุมให้ได้มากที่สุด แม้ว่าวิธีการเผานี้จะรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ แต่ก็เป็นวิธีการที่ไม่ค่อยได้ใช้เพราะผลกระทบที่ตามมานั้นอาจก่อมลพิษต่อระบบนิเวศทั้งทางน้ำและอากาศ อีกทั้งการเผาน้ำมันยังทิ้งสารพิษตกค้างในน้ำซึ่งต้องกำจัดออกก่อนที่จะส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากปัจจัยเหล่านี้ การเผาไหม้ในแหล่งกำเนิดจึงใช้เฉพาะในน้ำนิ่งที่ไม่มีพืชและสัตว์หนาแน่น และห่างไกลพื้นที่ชายฝั่ง

3. การเครื่องสูบ หรือ ช้อนน้ำมัน (Oil Skimmer)

เมื่อกักเก็บน้ำมันไว้ในทุ่นได้แล้ว น้ำมันจะถูกสูบออกจากผิวน้ำด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า Oil skimmer ซึ่งมีหน้าตาหลากหลายรูปแบบ บางประเภทใช้สายพานลำเลียงขณะที่บางประเภทใช้การดูด โดยการทำงานตัวเครื่องจะทำการดูดน้ำมันที่อยู่บนผิวน้ำซึ่งเมื่อดูดซับน้ำมันออกจากผิวน้ำแล้วน้ำมันจะถูกรีดออกเข้าถังเก็บน้ำมัน ซึ่งการทำงานจะคล้ายกับเครื่องดูดฝุ่นตามบ้านเรือน คือ ดูดน้ำมันเข้าสู่ถังกักเก็บ แต่ประสิทธิภาพของสกิมเมอร์นั้นขึ้นอยู่กับสภาพทะเลและการมีอยู่ของเศษขยะ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอุปสรรคในการทำงานเหล่านี้

4. สารกระจายน้ำมัน (oil dispersant)

สารช่วยกระจายตัวเป็นกลุ่มของสารเคมีที่ออกแบบมาเพื่อขจัดน้ำมันออกจากผิวน้ำโดยเฉพาะ พวกมันทำงานโดยทำให้คราบน้ำมันแตกออกเป็นหยดเล็กๆ จำนวนมาก คล้ายกับวิธีที่น้ำยาล้างจานทำลายคราบมัน การโปรยสารกระจายน้ำมันซึ่งเป็นสารลดแรงตึงผิวลงไปบนผิวน้ำ 

วิธีนีก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่นิยม เพราะอนุภาคน้ำมันดิบจะกระจายตัวออก ไม่เกาะเป็นก้อน ไม่ตกเป็นตะกอน เป็นพิษน้อยลง ทำให้จุลินทรีย์ที่กินน้ำมันสามารถย่อยสลายพวกมันได้ง่ายขึ้น (ผ่านกระบวนการย่อยสลายทางชีวภาพ)  สารช่วยกระจายตัวไม่ได้กำจัดน้ำมันออกจากสิ่งแวดล้อม แต่ช่วยลดความเข้มข้นของน้ำมันโดยกระจายออกไปในน้ำ ข้อดีของวิธีนี้คือ ใช้ได้ในวงกว้าง ส่วนข้อเสียคือสารพวกนี้เอง บางชนิดก็เป็นพิษเช่นกัน

วัสดุดูดซับอาจเป็นทางเลือกที่ได้รับการพูดถึงมากที่สุด วิธีนี้มักใช้กับพื้นที่ซึ่งมีน้ำมันรั่วไหลไม่มากนัก หรือไม่ก็ใช้เป็นขั้นตอนสดุท้ายที่เหลือน้ำมันไม่มากแล้ว วัสดุดูดซับมีหลากหลายชนิดทั้งที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ เช่น พืชมอส วัสดุคาร์บอน ดิน ซึ่งสามารถดูดซับน้ำมันได้ 3-20 เท่าของน้ำหนักวัสดุ หรือวัสดุสังเคราะห์ เช่น โพลียูรีเทน โพลีเอธิลีน ซึ่งสามารถดูดซับน้ำมันได้ถึง 70 เท่าของน้ำหนักวัสดุ วัสดุดูดซับที่ดีจะต้องมีรูพรุนสูง และสามารถจับกักน้ำมันแต่ไม่ชอบน้ำ

ใช้ในกรณีเก็บกวาดเศษน้ำมันที่เหลือหลังจากการดักเก็บน้ำมันที่รั่วไหลด้วยวิธีอื่นจนหมดแล้ว ส่วนวัสดุดูดซับมีหลากลายประเภท ได้แก่

ตัวดูดซับอินทรีย์ธรรมชาติสามารถจมน้ำได้ประมาณ 3-15 เท่าของน้ำหนัก แต่อาจจมลงได้และเก็บยาก ตัวอย่างของสารดูดซับตามธรรมชาติ ได้แก่ พีทมอส ฟาง ขี้เลื่อย ขนนก และแม้แต่ซังข้าวโพดบด

ตัวดูดซับอนินทรีย์ธรรมชาติเช่น ดินเหนียว เพอร์ไลต์ ใยแก้ว ทราย หรือเถ้าภูเขาไฟสามารถแช่น้ำมันได้ 4 ถึง 20 เท่าของน้ำหนัก สารเหล่านี้มีข้อกังวลคล้ายกับตัวดูดซับอินทรีย์ตามธรรมชาติ แต่ก็มีราคาไม่แพงและมีอยู่ในปริมาณมาก แม้ว่าจะไม่ได้ใช้กับผิวน้ำก็ตาม

ตัวดูดซับสังเคราะห์นั้นคล้ายกับพลาสติกและออกแบบมาเพื่อดูดซับของเหลวเข้าสู่พื้นผิวและสามารถดูดซับของเหลวเข้าไปในโครงสร้างที่เป็นของแข็งซึ่งทำให้วัสดุบวม จากข้อมูลของ EPA ตัวดูดซับสังเคราะห์ส่วนใหญ่สามารถดูดซับน้ำมันได้ถึง 70 เท่าของน้ำหนัก

อันจะเห็นได้ว่าวิธีจัดการการแก้ไขปัญหาน้ำมันรั่วไหลสู่ทะเลนั้น มีปัจจัยและมีทางเลือกที่มีประสิทธิภาพอยู่มาก แต่ทั้งนี้นั่นก็ต้องขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ที่เกิดเพื่อให้เหมาะสมและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้ได้น้อยที่สุด  

ขอบคุณข้อมูล response.restoration.noaa.gov , nanotec.or.th , tos.org , safetymanagement.eku.edu, oilspillprevention.org , สาระวิทย์ สวทช.