สงสัยกันไหม สรรพากรรู้รายได้ของเรา ได้ยังไง?

คลายข้อสงสัย! สรรพากรรู้นะ รายได้ของเรา มีเท่าไหร่ต่อปี แถมยังตรวจสอบได้ด้วย

ปีใหม่แล้วนะ ยื่นภาษีกันหรือยัง แล้วเคยส่งสัยไหมคะ ว่าทำไมกรมสรรพากร เขารู้รายได้ของเรา ทั้งที่เราไม่ได้บอก

วันนี้ (18 ก.พ 66) เพจ สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ ได้ออกมาเปิดเผยว่า ช่วงการยื่นภาษี หลายคนอาจสงสัย ว่า สรรพากรรู้รายได้ของเรานะ ว่ามีเท่าไหร่

กรมสรรพากร หน้าที่หลัก คือ เก็บภาษีต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนด เช่น ภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT หน้าที่ตรวจสอบว่าผู้เสียภาษี ได้ปฏิบัติตามหน้าที่หรือไม่ รวมถึงการแสวงหาข้อมูลจากช่องทางต่างๆ เพื่อประเมินรายได้ของเราโดยอาศัยช่องทางแบบนี้

ข้อมูลจาก ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่ได้รับจากผู้จ่ายเงินให้คุณ ข้อมูลชุดนี้จะถูกบันทึกไว้ในฐานข้อมูลส่วนกลางของกรมสรรพากร ทำให้กรมสรรพากรรู้รายได้ ในภาพรวมว่า แต่ละบุคคลนั้นมีรายได้กี่บาท หากพบว่าต้องชำระภาษีเพิ่ม แล้วไม่มาดำเนินการยื่นและจ่ายภาษีตามที่กำหนด เจาหน้าที่สรรพากรสามารถอาศัยข้อมูลชุดนี้ เพื่อตรวจสอบแลยื่นหนังสือ เพื่อชี้แจ้งสาเหตุที่ไม่จ่ายภาษี

และข้อมูลจากธนาคาร มีหน้าที่รายงาน “ธุรกรรมลักษณะเฉพาะ” ให้กรมสรรพากรทราบ ตัวอย่างเช่น เมื่อพบว่ามีการฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชี ของสถาบันการเงินเดียวกันรวมในปีเดียว ตั้งแต่ 3,000 ครั้ง หรือเฉลี่ย เดือนละ 250 ครั้ง ถ้าทั้งปีมี ยอดรวม 2,999 ครั้ง จะยังไม่เข้าเกณฑ์ธุรกรรมลักษณะเฉพาะ

เมื่อพบว่า มีการฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชี ของสถาบันการเงินเดียวกันในปีเดียว ตั้งแต่ 400 ครั้ง และมียอดรวมของธุรกรรมฝากหรือรับโอน รวมกันตั้งเต่ 2,000,000 บาทขึ้นไป

ข้อมูลจากประชาชนที่เข้าร้องเรียนให้กรมสรรพากรทราบ ข้อมูลที่มีการสุ่มตรวจ การสุ่มตรวจเป็นวิธีการที่เจ้าหน้าที่สรรพากร เดินทางไปสำรวจตามพื้นที่ที่ตนรับผิดชอบ ข้อมูลจากระบบ Big Data Analytics กรมสรรพากรได้เริ่มนำระบบ Big Data Analytics มาคัดแยกผู้เสียภาษีกลุ่มดี และผู้เสียภาษีและผู้เสียภาษีกลุ่มเสี่ยง โดยอาศัยข้อมูลที่เจ้าหน้าที่สรรพากรบันทึกไว้ รวมถึงข้อมูลภายนอก การทำ Web Scraping (การดึงข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อหา keyword หรือข้อมูลที่เกี่ยวข้อง) มาประกอบการพิจารณาเพื่อประเมินรายได้ ได้ด้วยนะ

บอกเลยว่ามีข้อมูลแค่นี้สรรพากรก็รู้แล้วว่าเราต้องจ่ายภาษีเท่าไหร่ ใครที่คิดจะหลีกเลี่ยงการจ่ายภาษีระวังไว้ให้ดี ระวังโดนภาษีย้อนหลังแบบจุกๆ นะคะ

ที่มา : กรมสรรพากร