อุตุฯ เตือน รับมือ พายุดีเปรสชัน 30 มิ.ย. – 2 ก.ค. นี้

กรมอุตุฯ เตือน รับมือ พายุดีเปรสชัน 30 มิ.ย. – 2 ก.ค. นี้ ระวังฝนตกหนัก – น้ำท่วม

เตือนพายุดีเปรสชัน ทำไทยเจอฝนเพิ่มขึ้น

ล่าสุดวันนี้ (30 มิ.ย. 65) กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเตือนฉบับที่ 4 เปิดเผยว่า พายุดีเปรสชันที่บริเวรทะเลจีนใต้ตอนบน มีความเร็วสูงสุดประมาณ 55 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศจีนตอนใต้ในช่วงวันที่ 2–3 ก.ค. 65 โดยไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่ออากาศของประเทศไทย

แต่ในช่วงวันที่ 30 มิ.ย. – 2 ก.ค. 65 นี้ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและประเทศลาวตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยเริ่มมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ไทยมีฝนเพิ่ม และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก

จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง

ในช่วงวันที่ 30 มิ.ย. 65

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง พะเยา แพร่ และน่าน

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดหนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคตะวันออก: จังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้: จังหวัดระนอง พังงา และภูเก็ต

ในช่วงวันที่ 1 ก.ค. 65

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา น่าน แพร่ ลำพูน ลำปาง อุตรดิตถ์ ตาก พิษณุโลกและเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี หนองบัวลำภู สกลนคร นครพนม ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง: จังหวัดกาญจนบุรี และราชบุรี

ภาคตะวันออก: จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้: จังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่

ในช่วงวันที่ 2 ก.ค. 65

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก พิษณุโลก และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี หนองบัวลำภู สกลนคร นครพนม ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง: จังหวัดอุทัยธานี กาญจนบุรี และราชบุรี รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้: จังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่

ในช่วงนี้ขอให้ประชาชนระมัดระวังอันตรายที่เกิดจากฝนตกหนัก และฝนตกสะสม อาจจะทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากได้ ส่วนคลื่นลมในทะเลทั้ง 2 ฝั่ง ทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร และสูงกว่า 2 เมตร ในพื้นที่ฝนฟ้าคะนอง ส่วนทะเลอ่่าวไทย มีคลื่นสูง 1-2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

คลิปอีจันแนะนำ
10 ปีที่ผูกพัน ลาจากกันทั้งน้ำตา #เพื่อนบ้าน