Live อัปเดต : 19 กรกฎาคม 2566 จับตา โหวตนายกฯ รอบ 2

อีจันเกาะติด การประชุมมสภาร่วม สว.-สส. โหวตนายกฯ รอบ 2 : 19 กรกฎาคม 2655

ลุ้น! โหวตนายกฯ รอบ 2 วันที่ 19 ก.ค.66 “พรรคก้าวไกล” จะดัน “พิธา ลิ้มเจริญรัตน์” นั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ได้หรือไม่?

โดยวันที่ 19 ก.ค.66 นี้ เวลา 09.30 น. จะมีการประชุมสภา เพื่อโหวตรับรองนายกรัฐมนตรี รอบ 2 และวานนี้ (17 ก.ค.66) การประชุม 8 พรรคร่วมรัฐบาลมีมติจะเสนอชื่อ “นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์” เป็นนายกรัฐมนตรี อีกครั้ง!

ดังนั้น ในวันที่ 19 ก.ค.66 วันโหวตรับรองนายกรัฐมนตรีรอบ 2 ซึ่งเป็นวันที่ 66 นับจากวันเลือกตั้ง 14 พ.ค.66 สถานการณ์ในวันนั้น หรือจุดพลิกผันสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นมีอะไรบ้าง “อีจัน” วิเคราะห์จากข้อมูลทั้งหมดที่มีมาให้อ่านกัน

สถานการณ์วันที่ 19 ก.ค.66 ที่รัฐสภา

เวลา 09.30 น.เปิดประชุมสภา อาจมีการเสนอที่ประชุมสภาตีความ กรณีการเสนอชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรี ในรอบที่ 2 โดยอ้างอิงข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ.2563 ข้อ 41 กำหนดว่า “ญัตติใดซึ่งตกไปแล้ว ห้ามนำญัตติซึ่งมีหลักการเดียวกันขึ้นเสนออีกในสมัยประชุมเดียวกัน เว้นแต่ญัตติซึ่งยังไม่มีการลงมติหรือญัตติที่ประธานสภาอนุญาต ในเมื่อพิจารณาเห็นว่าเหตุการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป” ซึ่งหากพิจารณาตามข้อบังคับดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าญัตติพิจารณาให้ความเห็นชอบนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ได้ตกไปแล้ว จะนำกลับมาพิจารณาใหม่อีกไม่ได้ในสมัยประชุมนี้

ลุ้น! โหวตนายกฯ รอบ 2 “ก้าวไกล” ได้ไปต่อหรือไม่

สว.กิตติศักดิ์ : เรายืนยันว่า เรามาตามบทเฉพาะกาล พ.ค. ปีหน้าก็หมดแล้ว ไม่ทราบว่าทำไมมาทำตรงนี้ เรื่องอื่น เรื่องปากท้อง เรื่องเศรษฐกิจ ทำไมไม่ทำมาทำตรงนี้ผมมองว่า นอกจากไม่ได้สาระแล้ว ยังเป็นเรื่องของเด็กๆ ที่เกเร

พิธา โพสต์ 4 ข้อ ฝากถึง สว. วอนเลือกนายก ตามเสียงประชาชน
ศาล รธน. รับคำร้องให้ “พิธา” หยุดปฏิบัติหน้าที่ ปมหุ้นไอทีวี

เจตจำนงของรัฐธรรมนูญ ต้องการให้ตั้งฝ่ายบริหารโดยเร็ว ประชาชนเลือกตั้งมาจะต้องได้รับการเเต่งตั้งมาเป็นฝ่ายบริหารโดยเร็วที่สุด ไม่ใช่มาถ่วงเวลาเเบบนี้ นี่คือ #วาระซ่อนเร้น ในการสกัดการเป็นนายกรัฐมนตรี ของคนที่ได้รับการเลือกตั้งส่วนใหญ่ของประชาชนหรือไม่ ?

เสียงแตก! โหวตนายกฯรอบ 2 เดือด เสนอชื่อ “พิธา” เป็นญัตติหรือไม่?

วันนี้ (19 ก.ค.66) เวลา 09.30 น. นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา เปิดประชุมรัฐสภาซึ่งเป็นการประชุมร่วมระหว่าง สว. และ สส. รวม 750 คน เพื่อโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีรอบที่ 2 โดยได้เปิดให้เสนอถือตามขั้นตอน

เวลา 09.37 น. นายสุทิน คลังแสง สส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย เสนอชื่อ นายพิธาลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ซึ่งมี สส.รับรองชื่อจำนวน 299 คน

จากนั้นนายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ สส.ราชบุรี พรรครวมไทยสร้างชาติ ได้เสนอความคิดเห็นว่า การเสนอชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ทำผิดข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ.2563 ข้อ 41 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ญัตติใดซึ่งตกไปแล้ว ห้ามนำญัตติซึ่งมีหลักการเดียวกันขึ้นเสนออีกในสมัยประชุมเดียวกัน เว้นแต่ญัตติซึ่งยังไม่มีการลงมติหรือญัตติที่ประธานสภาอนุญาต ในเมื่อพิจารณาเห็นว่าเหตุการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป” ซึ่งการโหวตนายพิธาได้โหวตแล้วเมื่อวันที่ 13 ก.ค.66 แล้วไม่ผ่าน ทำให้ญัตตินี้ตกไป และไม่มีเหตุการณ์ใดเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากการประชุมวันนี้ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ยังมีการเสนอชื่อในสภา พร้อมเสนอเป็นญัตติ และมีผู้รับรองถูกต้อง

ส่วนบรรยากาศการประชุมสภาในช่วงเช้าค่อนข้างวุ่นวาย มีสส.ลุกประท้วงหลายคนเกี่ยวกับการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีว่าสามารถทำได้หรือไม่ ในความเห็นเกี่ยวกับข้อบังคับ และหมวดที่แตกต่างกัน

นายวันมูหะมัดนอร์ กล่าวว่า วันนี้เราจะมีการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีในรอบที่ 2  โดยทั้ง 2 ฝ่าย มีความเห็นไม่ตรงกัน ฝ่ายหนึ่งเห็นว่าการเสนอชื่อนายพิธา ผิดข้อบังคับ ข้อ 41 และเป็นญัตติ ในขณะที่อีกฝ่ายมีความเห็นว่าไม่เป็นญัตติแแต่เป็นข้อพิจารณาและสามารถเสนอชื่อได้ ดังนั้น ประธานสภาจึงเปิดให้มีการอภิปรายในประเด็นนี้โดยไม่กำหนดเวลาก่อนหาข้อสรุปว่าการเสนอชื่อ “พิธา” โหวตนายกฯ รอบ 2 เป็นญัตติหรือข้อพิจารณา

ทั้งนี้ เมื่อที่ประชุมสภาอภิปรายแล้ว ที่ประชุมสภาจะยกมือลงคะแนนเพื่อหาข้อสรุปนี้

“ระเบียบราชการ ก็ต้องรอหนังสือจากทางราชการก่อน ไม่ต้องแสดงอาการกระเหี้ยนหระหือรือขนาดนั้น”

หากท้ายที่สุดพรรคก้าวไกล จะต้องไปเป็นฝ่ายค้าน พรรคเป็นธรรมก็มีจุดยืนเดียวกันที่จะยืนเคียงข้างกับพรรคก้าวไกล แล้วไปเป็นฝ่ายค้านด้วยกัน

พร้อมบอกด้วยว่า มองว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นความพยายาม สกัดกั้นไม่ให้ 8 พรรคการเมืองจัดตั้งรัฐบาลได้ ซึ่งมีความพยายามมาตั้งแต่แรกอยู่แล้ว แต่ 8 พรรคจะไม่หวั่นและจะเดินหน้าสู้ต่อไป เพราะจะยืนเคียงข้างประชาชน และยืนยันการทำตามฉันทามติของประชาชน

เหตุการณ์ซ้ำ ธนาธร – พิธา แคนดิเดตนายก หยุดปฏิบัติหน้าที่ สส.
“ เป็นที่ชัดเจนแล้ว ในระบบปัจจุบัน ชนะความไว้วางใจจากประชาชนไม่เพียงพอ ที่จะบริหารประเทศชาติ ต้องขออนุมัติจากวุฒิสภากอน เผลอๆ่ไม่พอที่จะเสนอชื่อเป็นครั้งที่ 2 ด้วยซ้ำไป”

เหตุการณ์นี้ คล้ายกับ 4 ปีที่แล้ว 25 พ.ค. 62 นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ก็ได้เดินออกจากรัฐสภา หลังมีคำสั่ง คดีหุ้นสื่อวีลัคมีเดีย ให้หยุดปฎิบัติหน้าที่ สส. ก่อนโหวตนายก

“ตั้งแต่การเลือกตั้ง 14 พฤษภาคมสังคมไทยได้เปลี่ยนไปแล้ว”กาก้าวไกลประเทศไทยไม่เหมือนเดิม”และประเทศไทยจะไม่มีวันกลับไปสู่จุดเดิมอีกดังนั้น ต่อสู้ร่วมกันต่อไปเราชนะมาแล้วครึ่งทางอีกครึ่งทางขอให้สู้ร่วมกันจนสำเร็จจงได้”

ปะทะคารมกัน หลังวิโรจน์เปิดคลิป 38 วินาที ที่ สมชาย แสวงการ เคยพูดไว้เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2564 เรื่องการโหวตนายกฯ และเสียงโหวต ในที่ประชุมสภาขณะนั้น

ผลมติผลโหวตในสภา ญัตติห้ามโหวตชื่อ พิธา เป็นนายกซ้ำครั้งที่ 2

– เห็นด้วย 395 เสียง

– ไม่เห็น 312 เสียง

– งดออกเสียง 8

– ไม่ลงคะแนนเสียง 1

ผลสรุปคือ พิธา ไม่สามารถถูกเสนอชื่อโหวตเป็นนายกคนที่ 30 ของประเทศไทย ได้

มติสภา! เสนอชื่อ “พิธา” โหวตนายกฯรอบ 2 ไม่ได้
“ปิยบุตร” ชี้ชัดมติสภาวันนี้ ส่อพรรคร่วมไม่กล้าแบก “ก้าวไกล”

วันนี้ (19 ก.ค.66) หลังปิดประชุมสภา นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการ คณะก้าวหน้าโพสต์เฟซบุ๊ก Piyabutr Saengkanokkul – ปิยบุตร แสงกนกกุล ระบุว่า ผลการลงมติในที่ประชุมรัฐสภาวันนี้ ยิ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของตำแหน่งประธานรัฐสภา

ผลจากการประชุมรัฐสภาวันนี้ คงได้เห็นความสำคัญของตำแหน่งประธานรัฐสภาในช่วงเวลาที่มาตรา 272 ยังคงอยู่กันแล้ว

ผลการลงมติวันนี้ ไม่เพียงกระทบต่อการเลือกพิธาในรอบที่ 2 แต่ยังกระทบไปถึงการลงมติครั้งหน้าในการเสนอชื่อแคนดิเดตจาก พท. ด้วย

ต่อไปนี้ สว.และ พันธมิตรสามพรรค “ภจท/พปชร/รทสช” มีอำนาจต่อรองกับ พท. ว่า หากครั้งหน้า เสนอชื่อแคนดิเดตจากพรรค พท. มาโดยที่ยังยึด “8 พรรค” และมี กก.อยู่ พวกเขาก็จะไม่ลงคะแนนให้แคนดิเดตจาก พท. ทำให้ พท. และพันธมิตร “8 พรรค” อาจไม่กล้าเสี่ยงในการแบก กก. ไว้อีกต่อไป เพราะหากเสนอคนของ พท. แล้วไม่ผ่าน ก็อาจเป็นญัตติซ้ำ หรือจะเปลี่ยนเป็นคนอื่นจาก พท. อีก หากพวกเขารวมหัวกันคว่ำอีก ก็จะกลายเป็นญัตติซ้ำไปเรื่อยๆ จนแคนดิเดตหมดสต๊อก

หากเป็นเช่นนั้น “ประตู” ของ “ภจท/พปชร/รทสช” ก็เปิดกว้างขึ้น

หากปดิพัทธ์ สันติภาดา เป็นประธานรัฐสภา วันนี้ ผมมั่นใจว่า เขาจะกล้าใช้อำนาจประธานยืนยันว่า การเสนอชื่อนายกฯ ไม่ใช่ ญัตติ หรือต่อให้ลากไปเป็นญัตติซ้ำ แต่ก็มีข้อยกเว้นในข้อ 41 ตอนท้ายว่า “เหตุการณ์เปลี่ยนแปลงไป” ทำให้เสนอซ้ำได้

เคาะแล้ว วันโหวตนายกฯรอบสาม 27 ก.ค. 66