ศาลฎีกา เพิกถอนสิทธิ สมัครรับเลือกตั้ง ตลอดชีวิต ธณิกานต์ อดีตสส.พปชร.

ศาลฎีกา เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตลอดชีวิต “ธณิกานต์ พรพงษาโรจน์” อดีต สส.พปชร.เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 10 ปี ฐานฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรมเสียบบัตรแทนกัน

ศาลฎีกา เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตลอดชีวิต “ธณิกานต์ พรพงษาโรจน์” อดีต สส.พปชร.เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 10 ปี ฐานฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรมเสียบบัตรแทนกัน

เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2566 องค์คณะผู้พิพากษาศาลฎีกา อ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ คมจ.2/2564 ระหว่างคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ผู้ร้อง) และนางสาวธณิกานต์ พรพงษาโรจน์ (ผู้คัดค้าน) โดยยื่นคำร้องว่า เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2562 นางสาวธณิกานต์ ดำรงตำแหน่ง สส.กทม. ซึ่งเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเป็นเจ้าพนักงานของรัฐ ลงชื่อเข้าร่วมประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 25 ปีที่ 1 ครั้งที่ 14 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง ซึ่งมีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติเหรียญราชรุจิ รัชกาลที่ 10 พ.ศ….

โดยนางสาวธณิกานต์ ไม่ได้ลาประชุม แต่ไม่ได้อยู่ในที่ประชุมระหว่างเวลาประมาณ 13.30-15.00 น. โดยฝากบัตรอิเล็กทรอนิกส์แสดงตนและลงมติของตนกับ สส.รายอื่น หรือบัตรอยู่ในความครอบครองของ สส.รายอื่นโดยความยินยอมของผู้คัดค้าน เพื่อให้ สส.รายนั้น ใช้บัตรกดปุ่มแสดงตนและลงมติแทน นางสาวธณิกานต์ ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติเหรียญราชรุจิ รัชกาลที่ 10 พ.ศ…. วาระที่ 1 และวาระที่ 3 เวลา 13.41-14.01 น. การกระทำเข้าลักษณะเป็นการฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงนั้น

พฤติการณ์แห่งคดีประกอบกันมีเหตุผลและน้ำหนักให้รับฟังได้ว่า นางสาวธณิกานต์ ได้ฝากบัตรอิเล็กทรอนิกส์แสดงตนและลงมติแก่ สส.รายอื่น การออกเสียงลงคะแนนของ นางสาวธณิกานต์ จึงเป็นการออกเสียงลงคะแนนที่ไม่สุจริต อันเป็นการละเมิดหลักการพื้นฐานของการเป็น สส.ที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติ ทั้งขัดต่อหลักความซื่อสัตย์สุจริตที่ได้ปฏิญาณตนในที่ประชุมก่อนเข้ารับหน้าที่ โดยเฉพาะการออกเสียงลงคะแนนจะกระทำแทนกันมิได้มีผลทำให้การออกเสียงลงคะแนนของนางสาวธณิกานต์เป็นการออกเสียงลงคะแนนที่ทุจริต ถือได้ว่าเกิดความเสียหายแก่สภาผู้แทนราษฎรและปวงชนชาวไทยแล้ว

การกระทำของนางสาวธณิกานต์ ถือได้ว่าเข้าลักษณะเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ฐานไม่รักษาไว้ซึ่งเกียรติภูมิและผลประโยชน์ของชาติ ฐานไม่ถือผลประโยชน์ของประเทศชาติเหนือกว่าผลประโยชน์ส่วนตัว ฐานไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบเพื่อตนเองนอกจากนั้น การกระทำของนางสาวธณิกานต์ ดังกล่าวยังเป็นการก่อให้เกิดความเสื่อมเสียต่อเกียรติศักดิ์ของการดำรงตำแหน่ง และฐานไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการอย่างเต็มกำลังความสามารถ และยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรมโปร่งใสและตรวจสอบได้ และไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติและความผาสุกของประชาชนโดยรวม

แต่มูลเหตุที่ทำให้ผู้คัดค้านกระทำการการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรม ส่วนนี้เกิดจากผู้คัดค้านได้เตรียมจัดงานเสวนาหัวข้อ “การเลี้ยงดูลูกในยุคสมัยดิจิทัล” ซึ่งเป็นโครงการกิจกรรมวันแม่ โดยกำหนดวันจัดงานไว้ล่วงหน้าและนัดหมายวิทยากรรวมทั้งได้ประชาสัมพันธ์แก่ผู้มาร่วมงานไปก่อนแล้วประกอบกับร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวได้ประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายแล้ว การกระทำในส่วนนี้จึงยังไม่พอถือได้ว่าเป็นกรณีฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมที่มีลักษณะร้ายแรงและเห็นว่ากรณียังถือไม่ได้ว่าการกระทำของนางสาวธณิกานต์ เป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนกับประโยชน์ส่วนรวมตามคำร้อง

พิพากษาว่า นางสาวธณิกานต์ ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ รวมทั้งผู้ว่ากรตรวจเงินเผ่นดิน และหัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ พ.ศ. 2561 ข้อ 6,7,8 ประกอบข้อ 27 วรรคหนึ่ง ให้นางสาวธณิกานต์ พ้นจากตำแหน่งนับแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2564 อันเป็นวันที่ศาลฎีกมีคำสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้คัดค้านตลอดไป และไม่มีสิทธิดำรงตำแหน่งทางการเมืองใดๆ และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดเวลาสิบปีนับแต่วันที่ศาลฎีกามีคำพิพากษา ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 235 วรรคสามและวรรคสี่ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 89 ประกอบมาตรา 81 คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก

คลิปอีจันแนะนำ
เสรีพิศุทธ์ ฝากถึงก้าวไกล บุญคุณต้องทดแทน