Live อัปเดต : 13 กรกฎาคม 66 ชี้ชะตา โหวตนายกฯ คนที่ 30 ของไทย

อีจันเกาะติด วันโหวตนายกฯ คนที่ 30 ของไทย ชี้ชะตา พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ จะได้เป็นนายกฯ หรือไม่?

เริ่มโหวตนายกฯ 5 โมงเย็น 13 ก.ค.66
“วันนอร์” เผยเริ่มโหวตนายกฯ 5 โมงเย็น 13 ก.ค.66

วันนี้เป็นวันที่ที่ประชุมสภา จะมีการลงมติโหวตนายกรัฐมนตรี คนที่ 30 ของประเทศไทย มีสื่อมวลชนทุกสำนักมารอฟังผลการโหวตในครั้งนี้ ทีมอีจันก็มาครับ
ใครจะได้นั่งตำแหน่งนายกรัฐมนตรี มาติดตามได้ทั้งวันที่อีจัน

ว่าที่นายกรัฐมนตรี คนที่ 30 นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี จากพรรคก้าวไกล เดินทางมาถึงที่รัฐสภาแล้ว เพื่อเตรียมตัวเข้าประชุมสภา โหวตนายกรัฐมนตรี

โดยนายพิธา กล่าวว่า มั่นใจว่าในวันนี้ได้รับเสียงสนับสนุนจากสว. และได้ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ส่วนการที่ กกต. ส่งคำร้องถึง ศาลรัฐธรรมนูญ ในเรื่องของหุ้นไอทีวีนั้น เชื่อว่าไม่กระทบการโหวตในวันนี้อย่างแน่นอน พร้อมยืนยันว่า จะทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ กล่าวก่อนเข้าประชุมสภาผู้แทนราษฎร ว่า ไม่มีความจำเป็นต้องเลื่อนการโหวตนายกรัฐมนตรี ในวันนี้ ส่วนการชุมนุมของกลุ่มผู้สนับสนุนนั้น สามารถทำได้ แต่ก็ขอให้เป็นไปตามกรอบของรัฐธรรมนูญ อยากให้เป็นไปอย่างสันติ

ปิดถนน รอบรัฐสภามีรถน้ำ มีรั้วเหล็กกั้น ขวางปิดถนน โดยเฉพาะเส้นสามเสน ถูกปิดตายเรียบร้อยค่ะ

ภาพบรรยากาศหน้ารัฐสภาเช้านี้ รถติดหนักมาก จากการกันพื้นที่ เพื่ออำนวยความสะดวกให้การประชุมสภาแต่ประชาชนก็สู้ค่ะ ทยอยกันเดินทางมาเกาะติดการโหวตนายกหน้ารัฐสภาแล้ว และประชาชนที่เดินทางมา ไม่ต้องกลัวหิวค่ะ เพราะ มีพ่อค้าแม่ค้า มาจับจองพื้นที่ขายของต่างๆ แล้วเช่นกันค่ะ

วันนี้อีจันจะเกาะติดอยู่ที่รัฐสภาทั้งวันค่ะ เพื่อรอฟังผลการโหวตนายกคนที่ 30 การเสนอชื่อ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ จะเป็นไปอย่างราบรื่นหรือไม่

ที่ประชุมสภา วันนี้ เสนอชื่อ “พิธา” เป็นนายกฯ เพียงชื่อเดียว
และจะโหวตตอน 5 โมงเย็น!

ลาออกมีผลทันที! วันนี้เหลือ ส.ว. 249 คน
น.ส.เรณู ตังคจิวางกูร สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ยื่นหนังสือแสดงความประสงค์ ขอลาออกจากการเป็นสมาชิก ส.ว.

โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 12 ก.ค.66 คาดว่าเหตุผลในการลาออก คือเรื่องสุขภาพ
ส่งผลให้วันนี้มี ส.ว.เพียง 249 คน และสมาชิกรัฐสภาทั้งหมดเหลือเพียง 749 คน ทำให้จำนวนการโหวตนายกรัฐมนตรีต้องได้รับเสียงสนับสนุนจากรัฐสภาเกินกึ่งหนึ่งอยู่ที่ 375 คน

วันนี้ 13 ก.ค.66 เวลา 09.30 น. นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา เริ่มเปิดประชุมสภา โดยชี้แจงขั้นตอนการโหวตนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 เวลาการอภิปรายของทั้ง ส.ส. และ ส.ว. จากนั้น นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย เป็นผู้เสนอชื่อ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล เป็นนายกรัฐมนตรี โดยมีผู้แสดงตนรับรองชื่อ 303 คน

วันนี้ 13 ก.ค.66 ก่อนเริ่มประชุมสภาหมออ๋อง ปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาคนที่ 1 ได้ลงพื้นที่ตรวจดูความเรียบร้อยที่บริเวณศูนย์ราชการเกียกกาย

หมออ๋อง บอกว่า ได้มาทำตามนโยบายของประธานรัฐสภา ที่ให้ศูนย์เยาวชนเกียกกาย หรือศูนย์ราชการเกียกกายแห่งนี้เป็นพื้นที่ชุมนุมอย่างปลอดภัย และประชาชนได้รับความสะดวก

จากการที่เข้าไปตรวจยังไม่มีอะไรติดขัด สำหรับผู้ชุมนุม แค่ห้องน้ำยังไม่เพียงพอ ต้องให้ กทม.มาช่วยเหลือเพิ่มเติม และตอนนี้ถนนสามเสนไม่เหมาะกับการชุมนุม เพราะมีไซต์ก่อสร้างจำนวนมาก กลัวจะเป็นอันตราย

หมออ๋องมองว่า การประชุมวันนี้ไม่มีอะไรน่ากังวล ถ้าเปิดประชุมผ่านไปด้วยดี ก็น่าจะลงมติได้ในเวลา 17.00 น.

ส่วนการที่ตำรวจมาตั้งตู้คอนเทรนเนอร์นั่น มองว่า ตำรวจคงจัดตั้งตามผู้มีอำนาจและคงไม่มาล่วงล้ำมายังสภาได้ แต่ก็อยากให้รักษาความปลอดภัย และรักษาสิทธิเสรีภาพการแสดงออกของประชาชน

ปิดถนนรอบสภา รอรับม็อบ

สำหรับการโหวตนายกรัฐมนตรี คนที่ 30 ในวันนี้ มีการสั่งปิดถนนตั้งแต่เมื่อคืนเลยค่ะ

ซึ่งมีการปิดถนนสามเสน สะพานแดง แยกเกียกกาย รอบสภา โดยการใช้รั้วเหล็กกั้น พร้อมตั้งตู้คอนเทนเนอร์ มีป้ายติดไว้ว่าตรงไหนคือพื้นที่ห้ามชุมนุม และมีตำรวจหลายนายยืนดูความเรียบร้อย

ตอนนี้เหล่าผู้ชุมนุมเริ่มทยอยมากันแล้วค่ะ ได้เดินเข้ามาจุดที่สภาเตรียมไว้ให้สำหรับผู้ชุมนุม และนั่งฟังการอภิปรายไปด้วย

นายชาดา ไทยเศรษฐ์ ส.ส.พรรคภูมิใจไทย อภิปรายเกี่ยวกับ ม.112 ที่พรรคก้าวไกล จะเสนอแก้ไข ระหว่างประชุมรัฐสภา ว่า ผมอยากเห็นรัฐบาลชุดนี้แต่งตั้งไว ๆ แต่ท่านอย่าไปจุดชนวนให้บ้านเมือง ขอเรื่อง ม.112 ท่านจับเมื่อไหร่ก็วุ่นวาย โดยระบุช่วงหนึ่งของการอภิปรายว่า “ถ้าท่านถือว่าการแก้ไข ม.112 เป็นพันธกิจที่ต้องกระทำให้ได้ ผมและพรรคภูมิใจไทยก็ถือเป็นพันธกิจเหมือนกัน ที่จะคัดค้านท่านทุกวิถีทาง”

หอบความหวังมาจากสระแก้ว บึ่งรถออกจากบ้านตั้งแต่ตี 3 มาถึงหน้าสภา 8 โมงเช้า พร้อมใส่เสื้อส้ม และป้ายเชียร์ให้กำลังใจ พิธา รอลุ้นนั่งเก้าอี้นายก

“พี่หวังให้เศรษฐกิจดีขึ้น เพราะคนที่บ้านว่างงานเยอะมาก”

นอกจากนี้ยังมีด้อมส้มอีกมากมายค่ะ ที่มารอฟังผลโหวตนายกในวันนี้ บางคนมานอนรอตั้งแต่เมื่อคืนเลยค่ะ แม้ว่าวันนี้อากาศจะร้อนแค่ไหนก็ไม่หวั่น ขอนั่งเชียร์ รอลุ้นให้กำลังใจ พิธา หน้าสภาต่อไป

มาติดตามกันค่ะ ว่าการเสนอชื่อ พิธา จะเป็นอย่างไร

อนุทิน เผย ภูมิใจไทยยังมีเวลาตัดสินใจยกมือโหวตนายกฯ ถึง 5 โมงเย็น ระบุถ้าโหวตจบวันนี้ได้ก็ดี

วันนี้ (13 ก.ค.66) ก่อนที่จะเริ่มประชุมสภา นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย (ภท.) ให้สัมภาษณ์ว่า รอฟังทั้งสองฝ่ายที่จะอภิปราย โดยพรรคภูมิใจไทยมีผู้อภิปรายด้วย เดี๋ยวค่อยพิจารณาดู โดยพรรคจะมีการประชุมกันหลายๆ รอบ และต้องฟังเสียงของสมาชิกพรรคหลายคนด้วย ยังมีเวลาในการตัดสินใจจนถึงเวลา 17.00 น. ที่จะมีการโหวตนายกรัฐมนตรี พร้อมระบุว่า การโหวตนายกฯ ถ้าจบได้ก็ดี

สำหรับการประชุมสภาวันนี้ เริ่มขึ้นในเวลา 09.30 น. โดยปจะเปิดโอกาสให้ ส.ส. ใช้เวลาอภิปราย 4 ชั่วโมง และ ส.ว.ใช้เวลาอภิปราย 2 ชั่วโมง ก่อนเริ่มโหวตนายกรัฐมนตรี ในเวลา 17.00 น. ซึ่งเป็นการโหวตแบบเปิดเผย

เราจะมาบอกว่า วันนี้ อุดมการณ์ของพรรครวมไทยสร้างชาติ คือ ความชัดเจน มาตั้งแต่เริ่มต้นว่า เราจะปกป้อง และดำรงไว้ซึ่งสถาบันหลักของชาติไทย ดังนั้นเราจึงไม่สนับสนุนพรรคการเมืองใด หรือนักการเมืองคนใด ที่มีนโยบายในการแก้ไขมาตรา 112 เพราะเราเห็นว่า บ้านเมืองของเราวันนี้ ไม่สามารถเดินไปข้างหน้าได้

เราสามารถที่จะพัฒนาไปข้างหน้าได้ โดยไม่จำเป็นต้องแก้ไขมาตรานี้เลย ไม่มีความจำเป็นใดๆเลยครับ และเราไม่จำเป็นต้องทำลายขนบธรรมเนียมประเพณีไทยหรือต้นทุนทางวัฒนธรรมที่มีมาตั้งแต่ในอดีต ไม่มีความจำเป็นเลยครับ

พร้อม อภิปรายจุดยืนสุดเดือด

“เขาบอกว่าฝั่งนู้นฝั่งประชาธิปไตย แล้วฝั่งผมมาจากไหน ผมก็เลือกตั้งมาเหมือนกัน ฝั่งโจรเหรอ เป็นโจรก็ยอม เป็นโจรที่รักชาติ รักสถาบัน เป็นโจรที่ปกป้องบ้านเมืองนี้ และปกป้องสถาบัน ด้วยหัวใจ ด้วยเลือดเนื้อของผม

โพสต์รูปคู่ครับศาสตรา ศรีปาน ส.ส.รวมไทยสร้างชาติ โพสต์รูปคู่ ชาดา ไทยเศรษฐ์ ส.ส.พรรคภูมิใจไทย

ระบุข้อความว่า “อุดมการณ์หนักแน่น แน่วแน่ ไม่มีอคติส่วนตัว เห็นด้

‘พิธา’ โต้เดือด รัฐสภาไม่ควรมีศาลเตี้ย ยืนยันคุณสมบัตินายกรัฐมนตรี สมบูรณ์แบบทุกประการ และชอบธรรม

การประชุมรัฐสภา วันนี้ (13 ก.ค.66) เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลเป็นนายกรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 272 โดย นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน และหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) เสนอชื่อบุคคลที่สมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี คือ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคก้าวไกล (ก.ก.)

ตามมาตรา 272 รัฐธรรมนูญมาตรา 159 และข้อบังคับการประชุมร่วมรัฐสภาข้อ 136 เป็นบุคคลที่ไม่มีคุณสมบัติต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ 160 และถูกเสนอชื่อเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคการเมืองตามรัฐธรรมนูญมาตรา 88

ซึ่งภายหลัง นายชาดา ไทยเศรษฐ์ ส.ส. อุทัยธานี เขต 2 พรรคภูมิใจไทย และ นายประพันธ์ คูณมี สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ได้ปภิปรายเรื่องคุณสมบัติผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

และถัดจากนั้น นายพิธา ได้อภิปรายทักท้วง โดยขอใช้สิทธิพาดพิงในที่ประชุมสภา ระบุว่า ขอบคุณนายชาดา และนายประพันธ์ ที่ได้อภิปรายสอบถามในหลายเรื่อง เกี่ยวกับคุณสมบัติ ในฐานะผู้ที่ถูกเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ 30 ของประเทศไทย

โดยการที่ นายชาดา ได้ติติงบุคลิก ติติงภาวะผู้นำนั้น ส่วนตัวกำลังพยายามที่จะพัฒนาอยู่เหมือนกัน พยายามที่จะพัฒนาให้เป็นคนที่ ฟังมากกว่าพูด ขณะเดียวกัน ก็พัฒนาภาวะผู้นำ ให้เป็นคนที่รักษาคำพูด เหมือนกับสโลแกนของพรรคท่านเหมือนกัน คือ พูดแล้วทำ เพราะฉะนั้น สัญญาที่เคยให้ไว้กับพี่น้องประชาชนอย่างไร ก็ยังคงเป็นแบบนั้น

อีกทั้ง ยังพยายามที่จะพัฒนาคุณลักษณะ ความเป็นผู้นำว่า ถึงจะไม่เห็นด้วย กับทุกเรื่องที่ นายชาดา ได้พูด แต่ก็เห็นว่า นายชาดา มีเสรีภาพในการที่จะพูด และนี่คือหน้าที่ของรัฐสภา คือหน้าที่ของสภา ที่นายชาดา ก็มีประสบการณ์ แบบหนึ่ง มีความคิดแบบหนึ่งส่วนตัวก็มีชุดความคิดแบบหนึ่ง ประสบการณ์แบบหนึ่ง

ดังนั้น นี่คือสาเหตุที่เราต้องใช้รัฐสภา ในการแก้กฎหมายนิติบัญญัติ และข้อขัดแย้งตลอดมาของประเทศไทย และนี่คือสิ่งที่อยากเห็นตั้งแต่สมัยที่แล้วแล้ว และที่ นายชาดา ได้กล่าวถึงการลดโทษ หรือมีการคุ้มครองก็ดี ซึ่งเวทีนี้เป็นเวทีเลือกนายกรัฐมนตรี ไม่ใช่เวทีในการแก้ไขหรือกฎหมายใดๆ เพราะฉะนั้น ตรงนี้จึงคิดว่า เป็นบรรยากาศที่ดี

“ผู้นำที่ดีของประเทศนี้ ต้องมีความอดทนอดกลั้น รับฟังข้อกล่าวหาที่จะจริงหรือไม่จริงก็แล้วแต่”

พิธา กล่าว

เราขอประกาศ ณ สภาแห่งนี้ว่า ใครก็ตามที่คิดจะแก้ไข ม.112 และใครก็ตามที่คิดจะจาบจ้วงสถาบันพระมหากษัตริย์ ผมและสมาชิกพรรคทั้ง 25 ท่าน จะออกไปต่อสู้และต่อต้าน ปกป้องสถาบันพระมหากษัติย์แห่งนี้ให้ถึงที่สุด

นายชาดา ไทยเศรษฐ์ ส.ส. ภูมิใจไทย ผู้อภิปรายคนแรก ไม่สนับสนุนพรรคการเมืองที่มาจาก พรรคการเมืองที่มีนโยบาย แก้ไขหรือยกเลิก 112 

ไม่มีวาระแก้ไขหรือยกเลิก แม้ว่าพรรคการเมืองทั้ง 8 พรรคจะลงนามในบันทึกการจัดตั้งรัฐบาล ทุกพรรคเห็นร่วมกันว่า รัฐบาลที่ทุกพรรคจะดันต้องไม่กระทบต่อรูปแบบของรัฐ การปกครองในระบอบประชาธิปไตรอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ชาดา ไทยเศรษฐ์ ผู้เริ่มอภิปราย ยันไม่สนับสนุนพรรคแก้ไข 112

“คุณบอกว่า 14 ล้านเสียง พร้อมจะลงถนน อีก 20 กว่าล้านเสียงที่ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ผมบอกเลยว่าก็พร้อมยอมตายถวายชีวิต เพื่อสถาบัน เพราะฉะนั้น ผมบอกและเรียนตามตรงกว่า การแก้ไข 112 จะสร้างแต่รอยร้าว รอยแตกแยกให้กับประเทศไทย”

ศาสตรา ศรีปาน ส.ส.รวมไทยสร้างชาติ
“ชัยธวัช” วอน ส.ส.-ส.ว. เคารพผลเลือกตั้ง เลือก “พิธา” เป็นนายกรัฐมนตรี

ในฐานะเคยเป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และมีประสบการณ์เรื่องนี้มาก่อน การแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา สามารถทำได้ และเคยแก้ไขมาแล้ว

เดิมกฎหมายวางไว้ว่า ใครดูหมิ่นต้องระวังโทษจำคุก 1-7 ปี ต่อมาในปัจจุบันแก้ไข เป็นจำคุกตั้งแต่ 3 ปี แต่ไม่เกิน 15 ปี ดังนั้นจะเห็นว่า สามารถแก้ไขได้ ในเมื่อรัฐธรรมนูญยังแก้ได้ ทำไมกฎหมายอาญาจะแก้ไม่ได้

ก้าวไกลไม่ยอม! ซัดกลับกลางสภา หลังถูดพาดพิง ปมแก้ไขกฎหมายใหม่

วันนี้ผมยืนยันและสบายใจที่จะทำหน้าที่ตรงนี้ ไม่เกรงกลัวใดๆ ทั้งสิ้น เพราะผมเชื่อมั่นว่า สมาชิกทุกคนมีความรักชาติ รักผืนแผ่นดินแห่งนี้ เคารพเสียงของการเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเห็นด้วยกับพรรคก้าวไกล หรือเห็นด้วยกับพรรคเพื่อไทย หรือเห็นด้วยกับพรรคพลังประชารัฐ รวมไทยสร้างชาติ ประชาธิปัตย์ ภูมิใจไทย และพรรคอื่นๆ รวมถึงประชาชนที่เขาไม่ได้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ทั้งประเทศรวมกัน 67,000,000 คน

ผมขอร้องครับว่า หลังจากเราเลือกวันนี้เสร็จแล้ว ไม่ว่าคุณพิธาจะได้เป็นนายกรัฐมนตรีหรือไม่ก็ตาม เราเลิกอ้างเรื่องเสียงข้างมาก 14,000,000 คน หรือบังคับคนทั้งประเทศว่าจะต้องเปิดสวิตช์ สว. ให้เห็นด้วย และห้ามเห็นด้วยกับคนอื่น ยกเว้นนายพิธา อันนี้ผิดหลักครับ ผิดหลักประชาธิปไตย มันเป็นเผด็จการ

“ขอได้ไหมครับ ไม่แก้ 112 ไปแก้ปัญหาปากท้องของพี่น้องประชาชน ยังมีเรื่องอีกร้อยแปดพันเก้า ที่เราสามารถจะเสนอแก้ไขกฎหมายให้กับพี่น้องประชาชนได้ ในการแก้ 112 มีแต่สร้างความแตกแยก สร้างแต่รอยร้าวให้กับประเทศไทย คนลงถนน บ้านเมืองจะอยู่ยังไงครับ มีแต่พังพินาศ ชัยชยะบนซากปรักหักพัง ชอบกันเหรอครับ ?”

ศาสตรา ศรีปาน ส.ส.รวมไทยสร้างชาติ

“บ้านเมืองวันนี้ สามารถเดินไปข้างหน้าได้ สามารถพัฒนาไปข้างหน้าได้โดยไม่จำเป็นต้องแก้ไขมาตรานี้เลย ไม่มีความจำเป็นใดๆเลย และเราไม่จำเป็นเราต้องทำลายขนบทำเนียมประเพณีไทย หรือ ต้นทุนทางวัฒนธรรมไทยที่มีมาตั้งแต่ในอดีต”

โหวตผ่านไปแล้ว 170 คน เห็นชอบ 85 ไม่เห็นชอบ 36 งดออกเสียง 38

ลุงป้อม โหวตไม่เห็นชอบ “พิธา” เป็นนายกคนที่ 30 ของไทย

ยอดผู้เห็นชอบให้พิธา เป็นนายก ยังสูสีกับ ยอดรวมของ ไม่เห็นด้วย + งดออกเสียง รอลุ้นผลการโหวตนายกคนที่ 30 ไปพร้อมกันค่ะ จะได้ นายกชื่อ พิธา หรือ จะต้องมีการโหวตนายกใหม่อีกครั้ง

ผมขอเชิญชวนทุกท่าน อย่าให้ความคลางแคลงใจที่ท่านมีต่อผม ขวางกั้นประเทศไทยไม่ให้เดินต่อตามเสียงและเจตนารมย์อันแรงกล้าของประชาชน ขอให้การตัดสินใจของท่านนั้น สะท้อนในความหวังของประชาชน และความหวังของตัวท่านเอง อย่าให้มันสะท้อนในความกลัวครับ

พิธา อภิปรายครั้งสุดท้ายก่อนเริ่มโหวตนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศไทย

ผลการโหวตรับรอง “พิธา” เป็นนายก

– เห็นชอบ 323 คน

– ไม่เห็นชอบ 182 คน

– งดออกเสียง 198 คน

พิธา ขาดเสียงรับรอง 52 เสียง ถึงได้ครบ 375 เสียง

ผลรวมคะแนนเบื้องต้น ณ เวลา 17.55 น. วันที่ 13 ก.ค.66 ที่ประชุมสภา ผลโหวตนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ชี้ชัดว่า 8 พรรคร่วมรัฐบาลยังแข็งแกร่ง เพราะ “นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์” ได้คะแนนเสียงจาก ส.ส. รวม 310 เสียง เท่ากับจำนวน ส.ส.ของ 8 พรรคร่วม (311 เสียง ไม่นับรวมประธานสภา)

ส่วนคะแนนเสียงจาก ส.ว. ได้ 13 เสียง รวม 323 เสียง ไม่ได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 เนื่องจากไม่ได้เสี่ยงเกินกึ่งหนึ่งของที่ประชุมรัฐสภา 375 เสียง จากทั้งหมด 749 เสียง (เนื่องจากเมื่อวานนี้ ส.ว.ลาออกไป 1 คน)

พิธาไม่ได้รับรองเป็นนายก! สรุปผลลงคะแนนโหวตรับรอง “พิธา” เป็นนายก อย่างเป็นทางการ ณ เวลา 18.25 น.

จากผู้เข้าโหวตทั้งสิ้น 751 คน

มีผู้เห็นชอบ 324 ไม่เห็นชอบ 182 งดออกเสียง 199

นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็น บุคคลเดียวที่ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นนายกรัฐมนตรี เพียงคนเดียวในสภา ในวันนี้เขาอภิปราย และตอบคำตอบถามทั้งหมด เมื่อมี ส.ว. หรือ ส.ส. อภิปรายตั้งคำถาม

ในการอภิปราย ส.ส. และ ส.ว. ส่วนใหญ่ ยกเรื่องติดใจในการที่ นายพิธา และพรรคก้าวไกล ยืนยันแก้ไข ม.112 ทำให้ ส.ส. และ ส.ว. แสดงเจตนารมณ์ ตั้งแต่ยังไม่เปิดโหวตว่า ไม่สนับสนุน ให้เป็นนายกรัฐมนตรี

โดย ณ ขณะนี้ การโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 1 สิ้นสุดแล้ว ผลการโหวต พิธา ได้รับเสียงสนับสนุนในรัฐสภา ไม่ถึงครึ่งหนึ่ง ทำให้ ณ เวลานี้ พิธา ยังไม่ได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของไทย

การเมืองร้อนระอุ! การโหวตนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 วันนี้ 13 ก.ค.66 ดันแฮชแท็กทวิตเตอร์ร้อนตามไปด้วย ทั้ง #โหวตนายก #พิธา #สวมีไว้ทำไม

นาทีนี้อุณหภูมิการเมืองร้อนแบบฉุดไม่อยู่ ตลอดทั้งวันนี้ 13 ก.ค.66 ที่มีการโหวตนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 พบว่า ผู้ใช้งานทวิตเตอร์ให้ความสนใจการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีครั้งนี้เป็นอย่างมาก และดันแฮชแท็กโหวตนายกพุ่งต่อเนื่องตลอดทั้งวัน

ล่าสุด เวลา 18.15 น. ที่ประชุมสภา วันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภา สรุปผลการโหวตรับรองนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 พบว่า “นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์” มีผู้เห็นชอบทั้งหมด 324 เสียง ไม่เห็นชอบ 182 เสียง และงดออกเสียง 199 เสียง ทำให้นายพิธา ไม่ได้คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของที่ประชุม หรือ 375 เสียง สรุปที่ประชุมไม่เห็นชอบให้นายพิธาเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30

ทั้งนี้ คะแนนเสียงที่ได้ของนายพิธา ยังถือได้ว่า 8 พรรคร่วมรัฐบาลยังแข็งแกร่ง เพราะได้คะแนนเสียงจาก ส.ส. รวม 311 เสียง เท่ากับจำนวน ส.ส.ของ 8 พรรคร่วม ส่วนคะแนนเสียงจาก ส.ว. ได้ 13 เสียง รวม 324 เสียง

บรรยากาศตอนนี้ ที่หน้ารัฐสภา ด้อมส้ม ปักหลักรอให้กำลังใจพิธา ท่ามกลางฝนตก แดดออก หลังพิธาแพ้โหวต ไม่ได้รับรองเป็นนายกรัฐมนตรี

ด้อมส้มหลายคน ถึงกับหลั่งน้ำตาออก เพราะคาดหวังว่า “พิธา จะได้เป็นนายก”

โดยบอกว่า “ยอมรับผลที่เกิดขึ้น แต่ยังไม่ยอมแพ้ จะใช้เวลารวบรวมเสียงต่อไป ก่อนจะมีการโหวตเลือกนายก ครั้งที่ 2”

หลังการโหวตนายกฯ สิ้นสุดลง “พิธา” ให้สัมภาษณ์กับสื่อ เผย ยังไม่ยอมแพ้ และจะทำตามสัญญา ที่เคยให้ไว้กับประชาชน!

ผลโหวตพิธาเป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ 30 ของประเทศไทย ยังไม่ผ่าน ด่าน ส.ว.

ผลการโหวตลงมติ เลือกนายกครั้ง 2 ซึ่งยังไม่มีกำหนดว่า จะมีขึ้นอีกครั้งวันไหน หลังให้สัมภาษณ์เสร็จ พิธา ไปประชุมต่อ ส่วนด้านนอกรัฐสภา มีมวลชนรอให้กำลังใจอยู่ เป็นจำนวนมาก

เปิดชื่อ 13 ส.ว. ขานรับเห็นด้วย ให้ “พิธา” เป็นนายกฯ

วันนี้ (13 ก.ค. 66) เป็นอีกหนึ่งวันที่ประชาชนทั้งประเทศ จับตามอง เนื่องจากเป็นวันโหวตนายกรัฐมนตรี คนที่ 30 ของประเทศไทย นอกจากนี้ ยังมีการจับตาการขานเสียงของ สมาชิกวุฒิสภา หรือ ส.ว. ซึ่งหลังจากการโหวตสิ้นสุดลง พบว่ามี สว.ที่ขานโหวต “พิธา ลิ้มเจริญรัตน์” เป็นนายกรัฐมนตรี จำนวน 13 คน ดังนี้

1. ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ นพ.ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์

2. นายจรุงวิทย์ ภุมมา

3. นายเฉลา พวงมาลัย

4. นายซากีย์ พิทักษ์คุมพล 

5. พล.ต.ท.ณัฏฐวัฒก์ รอดบางยาง

6. นางประภาศรี สุฉันทบุตร

7. นายพิศาล มาณวพัฒน์

8. นายพีระศักดิ์ พอจิต

9. นายมณเฑียร บุญตัน

10.นายวันชัย สอนศิริ

11. นายวุฒิพันธุ์ วิชัยรัตน์

12. นายสุรเดช จิรัฐิติเจริญ

13. นายอำพล จินดาวัฒนะ

แม้การรับรองเสียงจากสภา ที่รับรอง นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรี ไม่ถึงกึ่งหนึ่งของคะแนนเสียงทั้งหมด คือ 375 เสียง แต่นายพิธา ได้ออกมาขอบคุณ ส.ว. ทั้ง 13 ตน ที่ได้โหวตให้ตน โดยกล่าวว่า ขอชื่นชมและให้กำลังใจ ที่กล้าหาญตามที่สัญญากับประชาชนไว้ 

ยอมรับแต่ไม่ยอมแพ้!

“พิธา” โพสต์ไอจีหลังการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีครั้งที่ 1 เสร็จลง ด้วยความว่า “ยอมรับแต่ไม่ยอมแพ้ !ยอมรับว่าถึงแม้จะยังไม่ถึงฝั่งฝัน แต่ไม่ยอมแพ้ เดินหน้า วางแผนยุทธศาสตร์รวบรวมเสียงกันใหม่เป็นเกียรติสูงสุดของชีวิตผมที่ได้รับการเสนอชื่อโดยสภา เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประชาชน ต้องขอขอบคุณทั้ง 324 เสียงที่ให้ความไว้วางใจในตัวผม รวมถึง 13 เสียงของวุฒิสภาที่กล้าหาญท่ามกลางความกดดันสารพัด ขอกำลังใจให้ความแน่วแน่ของพวกเราด้วยครับ แล้วเจอกันใหม่ “

ซึ่งโพสต์นี้ โพสต์หลังจากการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง

ซึ่งผลการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีในครั้งนี้ พิธา ยังไม่ได้เป็นนายกรัฐมนตรีเพราะคะแนนเสียงยังไม่ถึงกึ่งหนึ่งของสภาทำให้ยังไม่ได้เป็นนายก 30 ของไทยในครั้งนี้

การโหวตนายกยังไม่จบ ในการประชุมสภาครั้งที่ 1 เก้าอี้นายก ตอนนี้ยังคงเป็นรักษาการจึงต้องมี การประชุมโหวตนายกครั้งที่ 2

อีก 6 วัน ลุ้นอีกครั้ง 19 กรกฎาคม 2566 นี้การเสนอชื่อ จะยังคง เป็นชื่อของ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เพียงคนเดียวเหมือนเดิม หรือไม่ หรือ จะมีชื่อของใคร มีชิงตำแหน่ง รอติดตาม ที่เพจอีจัน เราจะเกาะติดอย่างเหนียวแน่นเพราะเรื่องนี้ เรื่องใหญ่ ของคนไทยทั้งประเทศ