ศบค. จ่อเสนอ ครม. พิจารณาขยาย พ.ร.ก.ฉุกเฉิน อีก 1 เดือน

ศบค. เตรียมเสนอ ครม. พิจารณาขยายเวลา พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ทั่วราชอาณาจักร ครั้งที่ 7 ตั้งแต่ 1 – 30 พฤศจิกายน 2563 เพื่อควบคุมปลอดภัยการแพร่ระบาด ชี้โควิด-19 ถือเป็นโรคประจำถิ่น ต้องเรียนรู้และอยู่กับมัน

ศบค. จ่อเสนอ ครม. ต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน อีก 1 เดือน ตั้งแต่ 1 – 30 พฤศจิกายน 2563

วานนี้ 22 ต.ค. 63 เวลา 15.30 น. ที่ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 (ศบค.) นำโดยนายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค. แถลงสถานการณ์ประจำวัน สรุปสาระสำคัญ ดังนี้

ขณะนี้ตัวเลขผู้ป่วยสะสมรายทั่วโลก วันยังมีทิศทางที่พุ่งขึ้นในหลัก 3 – 4 แสนคนต่อวัน ซึ่งอาจจะพุ่งถึงวันละ 5 แสนคนถึง 6 แสนคนได้ โดยประชากรโลกมี 7 พันล้านคน ติดเชื้อโควิด-19 แล้ว 41 ล้านคน ซึ่งไม่อาจทราบได้ว่าโรคนี้จะคงอยู่ไปอีกนานเท่าไรระทรวงสาธารณสุข จึงได้เน้นย้ำให้สื่อสารกับประชาชนว่า ไวรัสโควิด-19 นั้น ถือเป็นโรคประจำถิ่น การติดเชื้อจึงถือเป็นเรื่องปกติ การควบคุมการติดเชื้อให้เป็น 0 ไม่ใช่เรื่องที่จะยึดติดอีกต่อไป เพราะมีหลายโรคน่ากลัวกว่าโควิด-19 เช่น วัณโรค ต่อปีประเทศไทยพบผู้ป่วยประมาณ 7-8 หมื่นคน

ขณะนี้ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคงมั่นคง (ศปม.) ได้กวดขันเรื่องการเดินทางข้ามชายแดน โดยมีการลาดตระเวน การวางเครื่องกีดขวาง การตรวจ และการจับกุมผู้ลักลอบเข้าเมือง มีการแจ้งข่าวสารผู้หลบหนี และตรวจสถานที่ตามมาตรการที่ผ่อนคลายด้วย

ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
ที่ประชุม ศบค. เห็นควรเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาขยายระยะเวลาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร คราวที่ 7 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2563 นอกจากนี้ โฆษก ศบค. บอกอีกว่า ที่ประชุม ศบค. อนุมัติให้มีการเพิ่มกำหนดสัดส่วนจำนวนที่นั่งสำหรับผู้ชมกีฬา ร้อยละ 50 จากที่เคยประกาศไว้เดิม โดยกีฬากลางแจ้ง การเชียร์เสียงดังสามารถมีผู้เข้าชมได้ร้อยละ 50 การเชียร์เสียงไม่ดังมีผู้เข้าชมได้ร้อยละ 70 ส่วนสนามกีฬาในร่มการเชียร์เสียงดังสามารถมีผู้เข้าชมได้ร้อยละ 30 และการเชียร์เสียงไม่ดังมีผู้เข้าชมได้ร้อยละ 50 ก่อนทิ้งท้ายว่าต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน อีกไปอีก 1 เดือน เพื่อควบคุมโรค นอกจากนี้ ยังเห็นชอบขยายสัดส่วนจำนวนที่นั่งสำหรับผู้ชมกีฬา โดยกีฬากลางแจ้งที่เชียร์เสียงดัง ขยายจาก 25% เป็น 50% ของที่นั่งทั้งหมด , กีฬาในร่ม ที่เชียร์เสียงดังขยายจาก 15% เป็น 30 % ของที่นั่งทั้งหมด ฯลฯ