หมอโอ๋ เลี้ยงลูกนอกบ้าน โพสต์สอนใจ กรณี วิลล์ สมิธ บน เวทีออสการ์ 2022

หมอโอ๋ เลี้ยงลูกนอกบ้าน โพสต์ข้อความ สอนใจ กรณี วิลล์ สมิธ บน เวทีออสการ์ 2022

จากรณีที่นักแสดงชื่อดัง วิลล์ สมิธ ได้เดินขึ้นไปบนเวที งานประกาศผลรางวัลออสการ์ 2022 และตบหน้าคริส ร็อค พิธีกรดาวตลก เนื่องจากไปล้อเลียนภรรยาของวิลล์

อึ้งทั้งงาน! วิล สมิธ ตบ คริส ร็อก กลางเวทีออสการ์

ในวันนี้ (29 มี.ค. 65) เพจเลี้ยงลูกนอกบ้าน ได้โพสต์ข้อความ คติสอนใจ ถึงกรณีที่เกิดขึ้นดังกล่าว มีใจความว่า

#สอนลูกเรื่องเวทีออสการ์

เหตุการณ์ของเวทีออสการ์ ได้สร้างปรากฏการณ์ที่คงถูกพูดถึงไปอีกยาวนาน เมื่อวิลล์ สมิธ ได้เดินขึ้นไปตบหน้าคริส ร็อค พิธีกรดาวตลก เพราะไปล้อเลียนเรื่องศีรษะของเจดา ภรรยาของเขา

วิลล์ สมิธ ขึ้นกล่าวขอโทษทั้งน้ำตาตอนรับรางวัล

“หลายครั้งเราต้องทนกับเรื่องพวกนี้ โดยที่ทำเป็นยิ้มเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น…. “ และ “ความรักทำให้เราทำในสิ่งที่ผิดเพี้ยน” (love make us do crazy things)

เราจะชวนลูกเรียนรู้อย่างไรกับเรื่องนี้…

1. ถามลูกว่าถ้าลูกเป็นวิลล์ สมิธหรือภรรยา ถ้าถูกพูดถึงแบบนี้ ลูกจะรู้สึกอย่างไร

2. ชวนลูกคุย ว่าทำไม คริส ร็อค ถึงได้พูดแบบนั้น (ชวนคุยไปถึงเรื่อง body shaming ว่าลูกเจอมันในชีวิตจริงบ้างมั้ย รู้สึกกับมันอย่างไรบ้าง ทำไมมันถึงได้เกิดขึ้น)

3. ชวนคุยถึง “ผู้ชม” ที่หัวเราะเฮฮา ว่าคนเหล่านี้มีผลกับสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างไร

4. คุยกับลูก ว่าการล้อเลียนเรื่องรูปร่างหน้าตา (body shaming) เป็นเรื่องที่มีผลกับจิตใจของใคร แบบที่หลายคนคิดไปไม่ถึง “จงคิดถึงใจเขาใจเราเสมอ”

5. การแซวกันเรื่องรูปร่างหน้าตาไม่ได้เป็นเรื่องตลก ขำขัน ล้อกันเล่นๆ ไม่น่ามีอะไรซีเรียส นี่คือ “การละเมิด” ในสิทธิเนื้อตัวร่างกายของผู้อื่น

6. ถ้าลูกถูกล้อเลียนในรูปแบบนี้ นี่ไม่ใช่สิ่งที่เราต้องยิ้มหรือยอมรับได้ ลูกปกป้องตัวเองได้ และอยากให้ลูกบอกพ่อแม่เสมอ

7. ชวนคุยถ้าลูกเป็นวิลล์ สมิธ เมื่อลูกอยู่ในสถานการณ์แบบนั้น ลูกจะปกป้องตัวเองหรือคนรักได้อย่างไรบ้าง แต่ละทางเลือก มีผลอย่างไร

8. การใช้ความรุนแรงของวิลล์ สมิธ ดูเป็นเรื่องที่เราเข้าใจได้ ว่าทำไมเขาถึงได้ต้องเดือดดาลขนาดนั้น

9. เข้าใจได้ ไม่ได้หมายความว่า มันเป็นเรื่องที่เราต้อง “ยอมรับกันได้” หรือถูกทำให้กลายเป็น “เรื่องที่ถูกต้อง”

10. เมื่อการใช้ความรุนแรงเป็นทางเลือก มันมีราคาที่ต้องจ่ายกับผลที่ตามมาเสมอ

11. “ความรัก” ไม่ควรนำมาใช้เป็นข้ออ้างของการใช้ความรุนแรง เช่น เรารักสถาบันการศึกษาของเรา เราต้องไปตีกับสถาบันอื่น หรือ มาว่าลูกพ่อได้ไง เดี๋ยวพ่อไปชกหน้ามันเอง

12. เรายืนหยัดที่จะปกป้องสิทธิของตัวของเราได้ โดยไม่ต้องใช้ความรุนแรงเป็น “ทางเลือกแรก” เสมอ (ถ้าเรามีสติพออะนะ 😅)

ลองคิดเล่นๆ ว่า ถ้าในเหตุการณ์นี้ วิลล์ สมิธ เดินขึ้นไปบนเวที แล้วไปคว้าไมค์ พูดว่า

“ผมและภรรยารู้สึกแย่มาก ในขณะที่คริส ร็อคพูดถึงเรา พวกคุณหัวเราะกันสนุกสนาน ไม่มีใครรู้ว่าผมและเจดาต้องผ่านอะไรมาบ้าง ผมอยากให้คนเข้าใจว่าการถูกล้อเลียน และถูกทำให้อับอาย ด้วยเรื่อง body shaming เป็นสิ่งที่ทำร้ายกันมากขนาดไหน ผมอยากให้เราทุกคนคิดถึงใจเขาใจเราให้มากขึ้น และอยากให้เรื่องเหล่านี้หมดไปจากสังคมได้แล้ว”

เขาอาจจะเป็นคนที่รับรางวัลในค่ำคืนนี้

แบบที่ไม่ต้องมีอะไรที่ต้องมากวนใจมากนัก

แต่เราก็พูดได้ ตอนที่เราไม่ได้เป็นเขาอะเนอะ 😅🤣

และเขาก็อาจจะเลือกแล้ว

ว่ามันคุ้มค่าในแบบของเขา

ซึ่งเขาก็คงต้องรับผิดชอบกับผลลัพธ์ของการกระทำของเขา

เท่านั้นจริงๆ

#หมอโอ๋เพจเลี้ยงลูกนอกบ้าน

ผู้เชื่อว่าความรุนแรงทั้งทางกายหรือวาจา มีราคาที่ต้องจ่ายเสมอ

กรณีของ วิลล์ สมิธ เป็นกรณีศึกษาได้หลายรูปแบบ ขอให้ลูกเพจทุกคน ดูตัวอย่างในด้านที่ดีๆกันนะครับ

ตลิปแนะนำอีจัน
จระเข้น้ำจืด พระเอกผืนป่า ชี้ความสมบูรณ์ ป่าเเก่งกระจาน