‘ ฉางเอ๋อ-5 ’ ยานสำรวจ ดวงจันทร์ ลงแตะแผ่นดินจีนแล้ว

สำเร็จอีกขั้น ! ยานอวกาศ ‘ ฉางเอ๋อ-5 ‘ ของ จีน กับภารกิจเก็บตัวอย่างจาก ดวงจันทร์ ชุดใหม่สู่โลกในรอบ 40 ปี กลับถึงแผ่นดินจีนแล้ว

จีน ประสบความสำเร็จอีกขั้น กับภารกิจกลางห้วงอวกาศ
หลังจากที่ ยานอวกาศฉางเอ๋อ-5 (Chang’e-5) ของจีน พุ่งทะยานขึ้นสู่ห้วงอวกาศ จากฐานปล่อยยานอวกาศเหวินชาง บนชายฝั่งมณฑลไห่หนาน (ไหหลำ) ทางตอนใต้ของจีน เมื่อวันที่ 24 พ.ย.63 เวลา 04.30 น. ตามเวลาปักกิ่ง
เพื่อปฏิบัติภารกิจเก็บตัวอย่างวัตถุจากดวงจันทร์กลับมายังโลก ซึ่งถือเป็นหนึ่งในภารกิจที่ซับซ้อนและท้าทายที่สุดในประวัติศาสตร์วงการอวกาศจีน

ภาพจากอีจัน
ล่าสุด สำนักข่าวซินหัว รายงาน ช่วงเช้ามืดของวันนี้ (17 ธ.ค.63) แคปซูลส่งกลับของฉางเอ๋อ-5 (Chang’e-5) ปฏิบัติภารกิจสำเร็จแล้ว พร้อมนำตัวอย่างที่เก็บจากดวงจันทร์กลับมายังโลก ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่จีน ปฏิบัติภารกิจดังกล่าวสำเร็จ และเป็นตัวอย่างจากดวงจันทร์ชุดใหม่ของโลกในรอบ 40 ปี !
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
ทั้งนี้ องค์การบริหารอวกาศแห่งชาติจีน (CNSA) รายงานว่า ยานสำรวจฉางเอ๋อ-5 ได้ลงจอดในอำเภอซื่อจื่อหวัง เขตปกครองตนเองมองโกเลีย ทางตอนเหนือของประเทศ โดยการลงจอดนี้เป็นบทสรุปความสำเร็จของโครงการสำรวจดวงจันทร์ของจีนที่เริ่มมาตั้งแต่ปี 2004 ซึ่งแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ประกอบด้วยการโคจร การลงจอด และเก็บตัวอย่างกลับโลก ซึ่งฉางเอ๋อ-5 เป็นหนึ่งในภารกิจที่ซับซ้อนและท้าทายที่สุดในประวัติศาสตร์การบินและอวกาศของจีน โดยยานลำนี้ประกอบด้วยโมดูลโคจร โมดูลลงจอด โมดูลพุ่งขึ้น และโมดูลส่งกลับ โมดูลลงจอด-พุ่งขึ้นของยานได้ลงจอดทางเหนือของจุดเกิดการก่อตัวของภูเขาไฟ “มอนส์ รึมเคอร์” (Mons Rümker) ในแอ่งขนาดใหญ่ “โอซีเอนัส พรอสซาเลรัม” (Oceanus Procellarum) หรือที่เรียกกันว่ามหาสมุทรแห่งพายุ ณ ด้านใกล้ของดวงจันทร์ เมื่อวันที่ 1 ธ.ค. ที่ผ่านมา ภารกิจอันเป็นจุดหมายสำคัญนี้ได้บรรลุความสำเร็จครั้งแรกหลายอย่างของจีน อาทิ การเก็บตัวอย่างจากดวงจันทร์ครั้งแรก การนำยานขึ้นจากพื้นที่นอกโลกครั้งแรก การนัดพบและเชื่อมยานในวงโคจรของดวงจันทร์ครั้งแรก และยานอวกาศลำแรกที่ขนตัวอย่างกลับมาชั้นบรรยากาศด้วยความเร็วสูง
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน