ผ้าทอกะเหรี่ยง กลุ่มบ้านแม่ยางมิ้น สั่งได้แล้วผ่านเพจเฟซบุ๊ก

อยากได้ต้องได้ สั่งง่ายๆ ผ่านเพจเฟซบุ๊ก แม่ยางมิ้น “Pakhayo” ใครชอบผ้าทอกะเหรี่ยง ผ้าคลุมไหล่ กระเป๋าย่าม หรือพวงกุญแจ ห้ามพลาด!

ใครที่ชอบผ้าทอกะเหรี่ยง ผ้าคลุมไหล่ กระเป๋าย่าม หรือพวงกุญแจ ของกลุ่มบ้านแม่ยางมิ้น อ.แม่สรวย จ.เชียงราย

วันนี้สั่งได้แล้วที่ เพจเฟซบุ๊ก : แม่ยางมิ้น “Pakhayo”

มะลิวัลย์ เต๊จ๊ะ กลุ่มบ้านแม่ยางมิ้น อ.แม่สรวย จ.เชียงราย หนึ่งในผู้เข้าร่วมอบรมการทำตลาดออนไลน์กับ เน็ตทำกิน เล่าว่า เพจเฟซบุ๊ก : แม่ยางมิ้น “Pakhayo” ที่ทำขึ้นเพื่อจำหน่ายสินค้า โปรโมทผ้าทอ ทำให้มีคนเริ่มรู้จัก

มะลิวัลย์ เล่าว่า ทำผ้าทอมาตั้งแต่รุ่นแม่แล้ว แต่ไม่ค่อยมีกำไร พ่อแม่เลยเลิกทำ พอกลับมาอยู่บ้านเลยลองทำผ้าทอดู และรวมคนทุกกลุ่มในหมู่บ้านมาร่วมกันทอผ้า โดยให้ยาย และป้า ๆ เป็นคนสอน โดยเสนอทำผ้าคลุมไหล่เพราะทอง่าย

“ผ้าทอของบ้านแม่ยางมิ้นจะทำเป็นลายดอกเอื้องผึ้ง เพราะเป็นดอกไม้ที่มีอยู่ทั่วหมู่บ้าน โดยจะทั้งปักและทอเป็นลายดอกเอื้องผึ้ง นอกจากสินค้าที่ทำจะมีผ้าคลุมไหล่แล้ว ยังมีกระเป๋าย่าม รวมทั้งเสื้อผู้หญิงและผู้ชาย ช่วงแรก ๆ การขายสินค้าจะเป็นการขายแบบปากต่อปาก แต่ตอนนี้เริ่มมีการขายในเพจเฟซบุ๊กแล้ว แต่เนื่องจากสินค้ามีราคาค่อนข้างสูง นักท่องเที่ยวก็ถามถึงสินค้าที่ราคาถูกลงมาหน่อย เลยคิดทำพวงกุญแจปลาหางกล้วยให้เป็นของที่ระลึกกับนักท่องเที่ยว” ” มะลิวัลย์ กล่าว

มะลิวัลย์ บอกว่า นอกจากทำเรื่องผ้าทอแล้ว ได้เริ่มปรับปรุงพื้นที่ ทำลานกางเต็นท์ โดยลองผิดลองถูก ตั้งแต่เริ่มทำช่วงสิ้นปีที่แล้ว มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเยอะ แต่เนื่องจากพื้นที่แคบ จึงต้องแบ่งช่วงเวลาการเข้ามาของนักท่องเที่ยว บางคนก็ติดต่อมาทางเพจเฟซบุ๊ก ที่สร้างเพจเฟซบุ๊กเพราะอยากให้คนในพื้นที่อื่น ๆ ได้เห็น ได้รู้จัก ซึ่งบางคนมากดไลก์เพจ บอกสวยจัง อยู่จังหวัดอะไร ถามราคา

ใครสนใจซื้อสินค้าผ้าทอของแม่ยางมิ้น ผ้าทอมือที่ใช้สีธรรมชาติ แวะมาดูได้ที่เพจเฟซบุ๊ก : แม่ยางมิ้น”Pakhayo”

ส่วนคนที่สนใจอยากมาแคมปิ้ง แวะดูได้ที่เพจเฟซบุ๊กแม่ยางมิ้นแคมปิ้ง : Maeyangmin Camping


สำหรับการลงพื้นที่ครั้งนี้เป็นความร่วมมือกันระหว่าง ดีแทค, องค์การแพลน อินเตอร์เนชั่นแนล, กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ และศูนย์นวัตกรรมและการจัดการเทคโนโลยีดิจิทัล (DITC) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้กับกลุ่มชาติพันธุ์โดยเฉพาะผู้หญิง ผ่านกิจกรรมสร้างรายได้โดยใช้ทักษะดิจิทัล ซึ่งโครงการนี้จะดำเนินการใน 24 กลุ่มชุมชน ใน 7 จังหวัดตั้งแต่พื้นที่เหนือสุดของประเทศไทยไปจนถึงภาคกลาง และทำงานร่วมกับกลุ่มชาติพันธุ์ 7 กลุ่ม ชาติพันธุ์ ม้ง กะเหรี่ยง ลาหู่ เมี่ยน มลาบรี ดาราอั้ง ไทใหญ่ สำหรับพื้นที่เชียงใหม่อยู่ในส่วนงานของ ศูนย์พัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูง จ.เชียงใหม่ ที่สังกัด กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์