อิ่มบุญ ซึมซับพุทธประวัติหลายพันปี อันล้ำค่า ขององค์พระธาตุพนม

มากกว่าสิ่งยึดเหนี่ยมจิตใจ คือคุณค่าทางศาสนา อิ่มบุญ ซึมซับพุทธประวัติหลายพันปี อันล้ำค่า ขององค์พระธาตุพนม จากองค์พระธาตุเก่าแก่คู่บ้านสู่มรดกโลก

เล่าเท่าไหร่ยังคงไม่หมด สำหรับทริปบุญ #อีจันอินนครพนม

ที่ทีมอีจันและผู้ร่วมทริปรู้สึกสุขล้นๆ หลังจากที่เราได้ไปสักการะองค์พระธาตุพนม และได้ไปทำความสะอาดล้างลานพระธาตุ-ห่มผ้าพระธาตุ เพื่อเป็นสิริมงคลกับทีมและครอบครัวแล้ว เรายังมีโอกาสได้ฟัง พระครูไก่ หรือพระครูพนมปรีชากร เลขานุการเจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนมฯ เล่าถึงประวัติความเป็นมาของพระธาตุพนม และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่ในบริเวณวัดพระธาตุพนมทั้งหมด จนทำทีมขนลุกเพราะความศักดิ์สิทธิ์และรู้สึกอิ่มใจที่สุด

เริ่มจากประวัติโดยสังเขปพระธาตุพนม พระธาตุพนมหรือเรียกตามแผ่นทองที่จารึกไว้ในสมัยเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กแห่งนครเวียงจันทน์ซึ่งได้มาบูรณะองค์พระธาตุในราวปีพุทธศักราช 2236 – 2245 ว่า “ธาตุปะนม” เป็นพุทธเจดีย์ที่บรรจุพระอุรังคราตุ (กระดูกส่วนพระอุระ) ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีสัณฐานรูปทรงสี่เหลี่ยม ประดับตกแต่งด้วยศิลปะงามวิจิตรประณีตสูงจากระดับพื้นดิน 43 เมตร ฉัตรทองคำสูง 4 เมตร รวมเป็น 47 เมตร อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ห่างจากแม่น้ำโขงอันเป็นเขตกั้นแดนระหว่างประเทศลาวกับประเทศไทยประมาณ 5.0 เมตร และห่างจากกรุงเทพ ฯ ประมาณ 800 กิโลเมตร

ในตำนานพระธาตุพนมกล่าวไว้ว่า องค์พระธาตุพนมเริ่มสร้างในปีพุทธศักราช 8 ในยุคสมัยที่อาณาจักรศรีโคตบูรกำลังเจริญรุ่งเรือง โดยท้าวพญาทั้ง 5 อันมีพญาศรีโคตบูรเป็นต้น และพระอรหันต์ 500 รูป มีพระมหากัสสปเถระเป็นประธานลักษณะการก่อสร้างใช้ดินดิบก่อขึ้นเป็นรูปเตาสี่เหลี่ยม กว้างด้านละ 2 วา สูง 2 วา (วาของพระมหากัสสปเถระ) ข้างในเป็นโพรง มีประตูสี่ด้านแล้วเผาให้สุก เมื่อสร้างเสร็จก็ได้อัญเชิญพระอุวังคบรมธาตุเข้าประดิษฐานไว้ในภายใน ซึ่งพญาทั้ง 4 ที่มีส่วนรับผิดชอบในการก่อดินดิบเพื่อสร้างองค์พระธาตุพนมในแต่ละทิศ คือ

1.พญาจุลมณีพรหมทัตผู้ครองแคว้นจุลมณี ได้ก่อตินทางทิศตะวันออก

2.พญาอินทปัตถนครผู้ครองเมืองอินทปัตถนคร ได้ก่อดินทางทิศตะวันตก

3.พญาคำแดงผู้ครองเมืองหนองหานน้อย ได้ก่อดินทางทิศใต้

4.พญานันทเสนผู้ครองเมืองศรีโคตบูร ได้ก่อดินทางทิศเหนือ

5.พญาสุวรรณภิงคารผู้ดรองเมืองหนองหานหลวง ได้ก่อรวบยอดเป็นฝาละมีปิดองค์พระธาตุพนม

พระธาตุพนม ก่อสร้างและเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของทั้งชาวไทยและลาวเรื่อยมา จนมาถึงเหตุการณ์ พระธาตุพนมล้ม

หลังจากพระธาตุพนมบรมเจดีย์ที่มีประวัติมาอย่างยาวนานนับได้ 2,500 กว่าปี ก็ได้มีการปฏิสังขรณ์ต่อเติมครั้งใหญ่ๆ จำนวน 3 ครั้งด้วยกัน คือ

1.ราวปีพุทธศักราช 500 ได้มีการปฏิสังขรณ์ขึ้นเป็นครั้งแรกโดยพระอรหันต์ 5 รูป ซึ่งอดีตก็คือพญาทั้ง 5 พระองค์ที่ได้ร่วมก่อสร้างพระธาตุพนมร่วมกับพระมหากัสสปเถระ ภพชาติสุดท้าย ก็ได้มาร่วมปฏิสังขรณ์บูรณะให้สูงจากเดิมที่สูงเพียง 2 วา โดยมีพญามิตตธรรมวงศาแห่งเมืองมรุกขนครเป็นประธานฝ่ายฆราวาส และฤาษีอีก 2 ตน ซึ่งได้นำศิลาจากยอดภูเพ็กมาตั้งประดิษฐานไว้บนชั้นที่ 2 ขององค์พระธาตุ

2.ราวปีพุทธศักราช 2233 – 2235 (ตามบันทึกในประวัติศาสตร์ของลาว) เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก (ญาคูขี้หอม) ก็ได้บูรณะต่อเติมองค์พระธาตุตั้งแต่ชั้นที่ 2 ขึ้นไปจนถึงยอด รวมแล้วสูง 430 เมตร ฉัตร 4 เมตร รวมเป็น 48 เมตร

3.ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันทมหิดล พุทธศักราช 2483 – 2484 ได้มีการซ่อมแซมและต่อเติมองค์พระธาตุพนมสูงขึ้นอีก 11 เมตร โดยการนำของอธิบดีกรมศิลปากรขณะนั้นพร้อมด้วยคณะนักเรียนและนายช่าง เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พุทธศักราช 2518 เวลา 19.38 น. ตรงกับวันจันทร์ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 9 ปีเถาะจุลศักราช 1337 เป็นวันที่ฝนตกพรำต่อเนื่องหลายวัน

อีกทั้งยังมีพายุโหมกระหน่ำทำให้องค์พระธาตุพนมอันเป็นเจดีย์เก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองอายุสองพันห้าร้อยกว่าปีพังล้มลงเพราะความผุกร่อนของฐาน ที่มีความสูง 8 เมตร ได้ยังความสลดสังเวชใจให้เกิดขึ้นกับพุทธศาสนิกชนทั่วหล้า

ส่วนเรื่องราวและความสำคัญของพระธาตุพนมด้านในแต่ละชั้น และรุรังคธาตุนั้น สามารถอ่านได้ที่ https://bit.ly/3xLm744

ต่อมาพระครูไก่ได้พูดถึงความสำคัญ ของสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกเหนือที่พระธาตุพนมแล้ว ต้องแวะกราบไหว้สักการะให้ครบทุกจุดซึ่งมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์มากมาย

จุดแรก สถูปอิฐพระธาตุพนมองค์เดิม

สถูปอิฐพระธาตุพนมองค์เดิมตั้งอยู่เกาะกลางสระน้ำหน้าวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ทางด้านทิศตะวันออกเถียงเหนือ ห่างจากองค์พระธาตุพนม ประมาณ 200 เมตร และห่างจากริมฝั่งแม่น้ำโขงประมาณ 250 เมตร

สถูปอิฐพระธาตุพนมสร้างจากอิฐของพระธาตุพนมองค์เดิมที่ได้ รวบรวมก่อเป็นรูปสถูปมีความสูงประมาณ 14 เมตร ตั้งอยู่บนฐานสูง 60 เซนติเมตร

มีลักษณะรูปทรงสี่เหลี่ยม คล้ายกับองค์พระธาตุพนมยุคแรกภายในบรรจุ เก็บเศษปูนพระธาตุพนมองค์เดิม ซึ่งหักล้มลงเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พุทธศักราช 2518

นอกจากนี้ยังได้บรรจุพระบรมสาริกธาตุ พระอรหันตธาตุพระพุทธรูปอัญมณีและวัตถุมงคลอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก หีบสำหรับบรรจุพระบรมสารีริกราตุและสิ่งของมีค่าได้จัดทำเป็นพิเศษมี 1.50 เมตร สูง 1.5 เมตร หลังคาขององค์สถูปมีลักษณะกลมเหมือนโอคว่ำ

บนยอดมีดอกบัวปั้น 5 ดอก เป็นดอกบัวที่บานแล้ว 4 ดอก อีก 1 ดอกเป็นดอกบัวตูม เพื่อให้เป็นปริศนาว่า “ในภัทรกัปป์นี้จะมีพระพุทธเจ้าตรัสรู้ 5 พระองค์ 4 พระองค์ ตรัสรู้และปรินิพพานไปแล้ว อันได้แก่ พระกกุสันธสัมมาสัมพุทธเจ้า,พระโกนาคมนสัมมาสัมพุทธเจ้า,พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า เหมือนดอกบัวที่บานแล้วและร่วงโรยไปแล้ว

อีกหนึ่งพระองค์จะมาตรัสรู้ในภายภาคเบื้องหน้า ซึ่งได้แก่ พระศรีอริยเมตไตย์เหมือนดอกบัวตูมที่รอการเบ่งบาน” ปีพุทธศักราช 2525 หลังจากสร้างองค์พระธาตุพนมแล้วเสร็จ ทางวัดก็ได้ขนย้ายเศษอิฐเศษปูนของพระธาตุพนมองค์เดิม ซึ่งกองรวมกันอยู่ที่สนามหญ้าทางด้านทิศตะวันออกของหอพระพุทธไสยาสน์ นำไปเก็บไว้ที่เกาะกลางสระน้ำหน้าวัดและอีกส่วนหนึ่งที่เป็นลวดลาย ได้นำไปเก็บไว้ที่ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมรัตนโมลีศรีโคตรบูร

ต่อมาปีพุทธศักราช 2535 ทางวัดได้ขุดลอกสระน้ำหน้าวัด ทั้งทางด้านทิศใต้และทิศเหนือและยังตกแต่งขอบสระน้ำให้สวยงามมั่นคงทั้ง 2 สระ จนแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2541 ได้รับการอุปถัมภ์จากคณะเจ้าภาพโดยใช้งบประมาณทั้งสิ้น สองล้านหกแสนสองหมื่นบาทถ้วน

ต่อมาคือ เสาอินทขีล อินทขีล (อิน-ทะ-ขีน) ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณทิตยสถาน พ.ศ.2542

เสาอินทขีลรอบ ๆ องค์พระธาตุพนมมีลักษณะรูปทรงแปดเหลี่ยม ยอดมน ปราชญ์โบราณท่านให้มองเป็นปริศนาธรรม (มรรคเมืองค์แปด) และมีตัวอัสสมุขีหรือรูปสัตว์ในนิทานสลักจากหินทรายวางอยู่ด้านข้างของเสาอินทขีล ที่ลานพระธาตุพนมจะมีใบเสมาปักอยู่ทั้งสี่มุมรอบกำแพงแก้วชั้นใน และจะมีเสาอินทขีลสี่ต้นปักอยู่รอบกำแพงแก้วชั้นนอก เป็นหลักฐานทางโบราณคดี

ทำให้เชื่อได้ว่า อาณาจักรศรีโคตบูรเป็นอาณาจักรของชนพื้นเมืองสองฝั่งแม่น้ำโขง โดยเจดีย์องค์พระธาตุพนมได้สร้างขึ้นหลังจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จต้นขันธปรินิพพานไปแล้วได้ 8 ปี เจดีย์ในยุคนั้นเรียกว่า สถูป

ซึ่งสถูปองค์นี้สร้างโดยพระมหากัสสปเถระ มีลักษณะเป็นรูปทรงโอคว่ำ เหมือนกับสถูปเก่าแก่ที่สร้างในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ท้าวพญาทั้ง 5 ได้ทรงให้นำเอาศิลามาทำเป็นเสาอินทขีลจากสถานที่ต่างๆ ดังนี้ คือ

ต้นที่ 1 นำมาจากเมืองกุสินาราฝังไว้ที่มุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือและสร้างรูปอัสสมุขี ไว้ที่โคนเสา 1 ตัวเพื่อเป็นหลักชัยมงคลแก่บ้านเมืองในชมพูทวีป

ต้นที่ 2 นำมาจากเมืองพาราณสีฝั่งไว้มุมทิศตะวันออกเฉียงใต้และสร้างรูปอัสสมุขี ไว้ที่โคนเสา 1 ตัว เพื่อความเป็นมงคลแก่โลก

ต้นที่ 3 นำมาจากเมืองลังกาฝั่งไว้ที่มุมทิศตะวันตกเฉียงใต้

ต้นที่ 4 นำมาจากเมืองตักศิลา ฝังไว้มุมทิศตะวันตกเอียงเหนือ

ต่อมาคือ บ่อน้ำพระอินทร์

บ่อน้ำพระอินทร์เป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์หนึ่งในเจ็ดที่ใช้ในพระราชพิธีมูรธาภิเษกของพระมหากษัตริย์ตั้งแต่สมัยรัซกาลที่ 6

แห่งกรุงรัตนโกสินทร์จนถึงรัชกาลในปัจจุบัน มูรธาภิเษกแปลว่าการยกให้หรือการแต่งตั้งโดยการทำพิธีรดน้ำ ปัจจุบันน้ำอภิเษกซึ่งทำพิธีพลีกรรม ดักมาจากปูชนียสถานสำคัญในจังหวัดด่างๆ ทั่วราชอาณาจักรรวม 18 แห่ง ในจังหวัด

นครพนมมี 2 แห่งคือ บ่อน้ำพระอินทร์ที่วัดพระธาตุพนมและน้ำจากหนองบัวทอง อำเภอวังยาง ราวปีพุทธศักราช 2518 ช่วงบูรณะองค์พระธาตุพนมที่ พังล้มลง ทางวัดได้ถือโอกาสขุดลอกบ่อปรากฎว่า พบหินบางๆเป็นแผ่นใหญ่ปิดกันบ่อ เมื่อจัดขึ้นน้ำที่ได้พุ่งพาคนงานลอยขึ้นถึงปากบ่อ ด้วยพระบามีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถและพระบรมวงศานุวงศ์และด้วยกฤษดาภินิหารอันศักดิ์สิทธิ์ขององค์พระธาตุพนมนับแต่นั้นมาบ่อน้ำพระอินทร์ก็มีน้ำใสสะอาด เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อีกแห่งหนึ่งในวัด

ต่อมาหอพระนอนหรือหอพระพุทธไสยาสน์

เนินพระอรหันต์ เป็นสถานที่อยู่จำพรรษาของพระรหันต์ 5 รูป ที่ได้มาทำการบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุพนมพระอรหันต์ 5 รูป

ประกอบด้วย

1. พระสังขวิชาเถระ

2.พระรัตนเกระ

3.พระจุลรัตนเถระ

4. พระรัตนเถระ และ 5.พระจุลรัตนเถระ

หลังจากพระมหากัสสปเถระและพญาทั้ง 5 สร้างสถูปเพื่อประดิษฐานพระอุรังคธาตุเมื่อปีพุทธศักราช 8 ให้หลังประมาณ 500 ปี จากนั้นพญาสุมิตธรรมวงศาแห่งเมืองมรุกขนคร และพระอรหันต์ 5 รูป ได้ทำการบูรณะขณะ เดียวกันพญาสุมิตธรรมวงศาก็ได้สร้างกุฏิถวายพระเกระทั้ง 5 เพื่อให้เป็นที่พักจำพรรษา ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือทิศตะวันตกและทิศได้ขององค์พระธาตุพนม

ซึ่งทางด้านทิศเหนือขององค์พระราตุพนมมี 1 หลังเป็นกูฏิที่อยู่ของพระสังขวิชาเถระที่เรียกว่า “หอพระนอนหรือหอพระพุทธไสยาสน์” ในปัจจุบันด้านทิศตะวันตกมีจำนวน 2 หลัง เป็นกุฏิของพระรัตนเถระและพระจุลรัตนเถระ ซึ่งได้แก่กุฏิ “กระตีบหรือกระตีบพระอรหันต์ ” อยู่บริเวณลานต้นพระสมหาโพธิ์ ส่วนทางด้านทิศใต้องค์พระธาตุพนม 2 หลังเป็นที่อยู่ของพระสุวรรณปาสาทเถระและพระจุลสุวรรณป่าสารทเถระใกล้กับกุฏิศิลาภิรัตรังสฤษฎิ์หรือกุฏิใหญ่ในปัจจุบัน

วิหารหอพระแก้ว

วิหารหอพระแก้วสร้างในราวปีพุทธศักราช 2073-2102 โดยพระเจ้าโพธิสาสราชเจ้าผู้ครองนครหลวงพระบางทรงเป็นกษัตริย์องค์ที่ 40 ในราชวงศ์ล้านช้าง เมื่อคราวที่เสด็จมาบูรณะองค์พระธาตุพนม ทรงให้สร้างพระวิหารหลังนี้ขึ้นมีหลังคามุงด้วยตะกั่ว และมีระเบียงโดยรอบ เมื่อมีการสร้างวิหารทำให้เข้าใจว่าได้หล่อพระประธานตั้งแต่คราวนั้นพระประธานมีนามว่า “พระพุทธมารวิชัยศาสดา”

ต่อมาเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์ เจ้าเมืองนครพนม พระบรมราชา (สุตตา) เจ้าเมืองมุกดาหารและพระเจ้าจันทสุริยวงศ์ (กิ่ง) ร่วมกันบูรณะ มีท้าวขัตติยะเป็นแม่งาน เมื่อแล้วเสร็จจึงได้ฉลองในปีพุทธศักราช 2343 วิหารหอพระแก้วอยู่ได้ 327 ปี ก็พังลงในปีพุทธศักราช 2430 และได้มีการบูรณะซ่อมแชมมาตามลำดับ

พระองค์แสนศาสดา พระองค์แสนศาสดา เป็นพระประธานที่ประดิษฐานอยู่กายในพระอุโบสถวัดพระธาตุพนม วรมหาวิหารตำบลธาตุหนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม เป็นงานพุทธศิลป์แบบล้านช้างในรัชสมัยของพระเจ้าวิชุลราชแห่งหลวงพระบางมีพระพักตร์นูน พระนาสิกโด่ง พระองค์เกลี้ยงเกลา ทำให้เราสังเกตได้ถึงลักษณะที่คล้ายคลึงกับพระพุทธรูปศิลปะล้านนา (สิงห์ 2 ) และอักษรธรรมที่จารึกตรงฐานขององค์พระมีลักษณะคล้ายคลึงกับ อักษรธรรมของล้านนาอาจเป็นไปได้ว่าอาณาจักรล้านช้างได้รับอิทธิพลทางพระพุทธศาสนาจากอาณาจักรล้านนา อันสืบเนื่อง จากการเจริญสัมพันธไมตรีระหว่าง 2 อาณาจักร ไทยลาว

สุดท้ายที่เราจะเล่าวันนี้คือ

เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก : พระครูยอดแก้ว “ญาคูขี้หอม” ในปี 2241 เมื่อครั้งสมเด็จพระเจ้าสุริยวงศาธรรมาธิราชสวรรคตได้ 8 ปี ประเทศลาวได้ถูกแบ่งออกเป็น 3 อาณาจักร เป็นอาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ และอาณาจักรล้านข้างจำปาสัก ชาวเมืองแห่งอาณาจักรล้านช้างจำปาสัก มีความผูกพันกับพระครูยอดแก้วโพนสะเม็กซึ่งเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวลาวตอนล่าง จนได้รับฉายาว่า “พระครูชี้หอม” หรือ “ญาคูขี้หอม” เพราะความเคารพเสื่อมใสผู้คนจะเก็บสิ่งของเครื่องใช้ของท่านมาบูชา แม้กระทั่งอุจจาระก็ไม่รังเกียจ

สมัยพระอุปราชผู้ครองกรุงเวียงจันทน์ เจ้าราชครูได้บรรพชาศึกษาเล่าเรียนทางธรรมอย่างแตกฉานมาตั้งแต่อายุยังน้อยจนได้รับการสถาปนาเป็น “ซาจัว” หรือราชาแห่งสามเณรภายหลังอุปสมบท ก็มาประจำอยู่ที่วัดโพนสะเม็กชานเมืองเวียงจันทน์ และได้รับแต่งตั้งมีฐานันดรสมณศักดิ์เป็นเจ้าราชครูตั้งแต่ยังเป็นพระหนุ่ม จากพระเจ้าสุริยวงศาพระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงเวียงจันทน์ แต่ประชาชนทั่วไปมักขนานนามว่า “พระครูยอดแก้วโพนสะเม็ก”

พุทธศักราช2233 พระครูยอดแก้วโพนสะเม็ก พร้อมด้วยประชาชนประมาณ 3,000 คนได้ล่องเรือตามลำน้ำโขงมาจนถึงมรุกชนครเพื่อบูรณะองค์พระธาตุพนม ท่านใช้เวลา 3 ปีโดยประมาณจึงแล้วเสร็จ ท่านได้บูรณะพระธาตุพนมตั้งแต่ชั้นที่ 2 ขึ้นไปถึงยอดสวมยอดองค์พระธาตุพนมด้วยเหล็กเปียกหรือเหล็กไหล ถือว่าเป็นการบูรณะครั้งที่ 4 นับตั้งแต่ได้สร้างองค์พระธาตุพนมมา หลังจากบูรณะองค์พระธาตุพนมสำเร็จ เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กก็ได้แบ่งครอบครัวจำนวนหนึ่งให้อยู่อุปัฏฐากรับใช้องค์พระธาตุพนม ส่วนที่เหลือนอกนั้น ท่านได้พาล่องใต้ลอยไปตามลำน้ำโขงจนล่วงเข้าสู่แคนเขมรหลังจากท่านมรณภาพอัฐิธาตุส่วนหนึ่งได้บรรจุไว้ในสถูปข้างกำแพงแก้วชั้นนอก ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือเรียกว่าพระธาตุหลวงพ่อขี้หอม มีรูปหล่อของท่านขนาดเท่าองค์จริงประดิษฐานอยู่

เเละนี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหมดที่ตั้งประดิษฐาน ในวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ซึ่งยังมีอีกมากมายที่หลายคนยังไม่เคยรู้ เเละรอให้ลุกเพจไปสัมผัสความศักดิ์สิทธิ์เเละความน่าเลื่อมใสในสถานที่จริงๆ สักครั้งอยู่นะคะ

จันยังยืนยันเหมือนเดิมว่า เรื่องราวเเละพุทธประวัติของวัดพระธาตุพนม นั่งเล่าเท่าไหร่ก้ยังไม่จบ เพราะมีมากมายเหลือเกิน หากจันได้มีดอกาสไปอีกจะเก็บภาพเเละเรื่องราวที่น่าส่งต่อนี้มาเล่าเรื่อยๆนะคะ