บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ ในการเลือกตั้ง 2566 ใช้อย่างไร

ทำความรู้จักบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ คือ บัตรเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขต และบัตรเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ในการเลือกตั้งทั่วไป 2566

หลังจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กำหนดให้วันที่ 14 พฤษภาคม 2566 เป็นวันเลือกตั้งทั่วไป และกำหนด วันเลือกตั้งล่วงหน้า เป็น วันที่ 7 พฤษภาคม 2566 เวลา 08.00-17.00 น. ณ หน่วยเลือกตั้งที่ท่านลงทะเบียนขอใช้สิทธิ 

วันนี้ อีจัน จะพาทุกคนไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ ซึ่งจะใช้ในการเลือกตั้งทั่วไป 2566

ในการเลือกตั้งทั่วไป ปี 2566 นี้ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้แบ่งบัตรเลือกตั้งออกเป็น 2 ใบ ดังนี้

ใบที่ 1 เป็นบัตรเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ ส.ส.แบบแบ่งเขต ซึ่งมีเพียงมีหมายเลขผู้สมัคร(เบอร์) และช่องสำหรับกากบาท โดยไม่มีชื่อผู้สมัครและโลโก้พรรค

ใบที่ 2 เป็นบัตรเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ซึ่งมีหมายเลขผู้สมัคร(เบอร์) มีสัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายของพรรคการเมือง และมีชื่อพรรคในบัตรเลือกตั้ง

นายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวชี้แจงเรื่องบัตรเลือกตั้ง ว่าในการเลือกตั้ง ส.ส.ทั่วไป พ.ศ. 2566 ใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ คือ แบบบัญชีรายชื่อ และแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง แม้จะเป็นพรรคเดียวกันแต่เป็นคนละหมายเลข(เบอร์ ) เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กกต.เป็นเพียงผู้กำหนดรูปแบบบัตรให้เป็นไปตามกฎหมายเท่านั้น

ทั้งนี้ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 มาตรา 84 กำหนดรูปแบบบัตรเลือกตั้งแต่ละประเภทไว้อย่างไร

1. ต้องเป็นแบบละ 1 ใบ

2. ต้องมีลักษณะ “แตกต่างกันที่สามารถจำแนกออกจากกันได้อย่างชัดเจน” เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเกิดความสับสน ดังนั้น การกำหนดให้บัตรเลือกตั้งแบบแบ่งเขต มีชื่อพรรคการเมืองและเครื่องหมายพรรคการเมือง จึงเป็นบัตรที่มีลักษณะเดียวกันกับบัตรเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ จึงอาจต้องห้ามตามมาตรา 84 วรรคหนึ่ง

3.บัตรเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง(มาตรา 84 วรรคสอง) “ต้องมี”

1)ช่องทำเครื่องหมาย และ

2)หมายเลขไม่น้อยกว่าจำนวนผู้สมัครในเขตเลือกตั้งนั้น

4. บัตรเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ(มาตรา 84 วรรคสาม) “ต้องมี”

1)ช่องทำเครื่องหมาย และ

2)หมายเลขของบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง และ

3)ชื่อพรรคการเมืองพร้อมเครื่องหมายพรรคการเมือง

การกำหนดรูปแบบบัตรเลือกตั้งของ กกต. จึงเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายทุกประการ

var d=document,w=”https://tally.so/widgets/embed.js”,v=function(){“undefined”!=typeof Tally?Tally.loadEmbeds():d.querySelectorAll(“iframe[data-tally-src]:not([src])”).forEach((function(e){e.src=e.dataset.tallySrc}))};if(“undefined”!=typeof Tally)v();else if(d.querySelector(‘script[src=”‘+w+'”]’)==null){var s=d.createElement(“script”);s.src=w,s.onload=v,s.onerror=v,d.body.appendChild(s);}