ยุบสภาแล้ว! ไทม์ไลน์จากนี้คืออะไร?

เปิดไทม์ไลน์หลังยุบสภา จากนี้จะเกิดอะไรขึ้น และรัฐมนตรีที่ยังรักษาการทำอะไรได้บ้าง

หลังวันนี้ 20 มี.ค.66 ราชกิจจานุเบกษาฯ ลงประกาศพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร

เปิดตัวเต็ม ราชกิจจาฯ ประกาศ ยุบสภา 2566 มีผลทันที

จากนี้เส้นทางสู่การเลือกตั้งมีไทม์ไลน์อย่างไร อ่านกันค่ะ

หลังมีพระราชกฤษฎีกายุบสภาแล้ว ขั้นตอนที่จะตามมา คือ

-วันที่ 21 มี.ค.66 กกต. จะประชุมโดยพิจารณาร่างประกาศที่เกี่ยวกับวันรับสมัคร ส.ส. การกำหนดวันเลือกตั้ง กำหนดเขตเลือกตั้ง ซึ่งต้องไม่เร็วกว่า 45 วัน และไม่ช้าเกิน 60 วัน 

-กำหนดวันรับสมัคร ภายใน 5 วัน นับแต่วันที่มีพระราชกฤษฎีกายุบสภา หรือไม่เกิน 25 มีนาคม 2566

-หลังจากนั้น จะมีการเปิดรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นเวลา 5 วัน

-ประกาศบัญชีรายชื่อผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ม.46) ภายใน 7 วัน นับแต่มีการปิดรับสมัคร

ส่วนวันเลือกตั้งที่ชัดเจนรอ กกต.ประชุมในวันที่ 21 มี.ค.66 เบื้องต้นมีการคาดการณ์ว่าจะเป็นวันที่ 7 พ.ค.66 หรือไม่ก็วันที่ 14 พ.ค.66

ส่วนคณะรัฐมนตรี (ครม.) ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 169 ระบุเนื้อหาเกี่ยวกับกรณี คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งตามมาตรา 167 (2) และต้องปฏิบัติหน้าที่ต่อไปตามมาตรา 168 ต้องปฏิบัติหน้าที่ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้

1.ไม่กระทำการอันมีผลเป็นการอนุมัติงานหรือโครงการ หรื

อมีผลเป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไป เว้นแต่ที่กำหนดไว้แล้วในงบประมาณรายจ่ายประจำปี

2.ไม่แต่งตั้งหรือโยกย้ายข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำหรือพนักงานของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือกิจการที่รัฐถือหุ้นใหญ่ หรือให้บุคคลดังกล่าวพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ หรือพ้นจากตำแหน่ง หรือให้ผู้อื่นมาปฏิบัติหน้าที่แทน เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งก่อน

3.ไม่กระทำการอันมีผลเป็นการอนุมัติให้ใช้จ่ายงบประมาณสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งก่อน 4. ไม่ใช้ทรัพยากรของรัฐหรือบุคลากรของรัฐเพื่อกระทำการใดอันอาจมีผลต่อการเลือกตั้ง และไม่กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามระเบียบที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด

คลิปแนะนำอีจัน
นาทีชีวิต พลังซูม 100 เท่า ช่วยชีวิตหนุ่มตกเจ็ทสกี