สถานการณ์น้ำ ภาพรวมของประเทศ วันที่ 1 มิถุนายน 2564

ศูนย์อำนวยการน้ำแห่งชาติ สรุป สถานการณ์น้ำ ภาพรวมของประเทศ วันที่ 1 มิถุนายน 2564

ศูนย์อำนวยการน้ำแห่งชาติ สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 1 มิถุนายน 2564

มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้มีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นบางพื้นที่

แม่น้ำสายหลัก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง มีน้ำน้อยถึงปกติ แนวโน้มเพิ่มขึ้น ภาคเหนือ มีน้ำน้อยถึงปกติ แนวโน้มลดลง สำหรับแม่น้ำโขง น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มลดลง

ปริมาณน้ำใช้การ แหล่งน้ำทุกขนาด 37,677 ล้าน ลบ.ม. (46%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 32,951 ล้าน ลบ.ม. (46%)

ปริมาณน้ำไหลเข้าแหล่งน้ำ 57.14 ล้าน ลบ.ม. น้ำระบาย 74.34 ล้าน ลบ.ม. เฝ้าระวังน้ำน้อย จำนวน 7 แห่ง เฝ้าระวังน้ำมาก จำนวน 1 แห่ง (อ่างฯ หนองปลาไหล)

ทั้งนี้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ห่วงใยเกษตรกรที่อาจได้รับผลกระทบจากฝนตกน้อยในช่วงต้นฤดูฝนนี้ ซึ่งมีบางพื้นที่ขาดแคลนน้ำเพื่อการเพาะปลูก จึงได้กำชับให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดูแลเกษตรกรที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ดังนี้

-สำนักงานเกษตรแต่ละจังหวัด ติดตามพยากรณ์อากาศ ของกรมอุตุนิยมวิทยา และรายงานสถานการณ์น้ำของ สทนช. และกรมชลประทานเพื่อประเมินสถานการณ์น้ำ รวมทั้งประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรรับทราบอย่างทั่วถึง พร้อมแนวทางการดูแลการเพาะปลูกอย่างเหมาะสม ซึ่งต้องคำนึงฤดูน้ำหลากที่จะมาถึงด้วย

-ปรับปรุงการประชาสัมพันธ์ ให้เข้าถึงเกษตรกรได้อย่างรวดเร็วและมากที่สุด ควรพิจารณานำรูปแบบการสื่อสารระบบออนไลน์มาปรับใช้เสริมกับช่องทางการสื่อสารหลัก ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เข้าถึงประชาชนได้ง่ายและทั่วถึง

-กรมชลประทาน เร่งให้การช่วยเหลือเกษตรกรอย่างเร่งด่วน รวมทั้งบริหารจัดการน้ำตามมาตรการที่กำหนดไว้ พร้อมการจัดสรรน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและรักษาระบบนิเวศให้เพียงพอตลอดทั้งปี

-ปรับปฏิทินการเพาะปลูกพืชในแต่ละพื้นที่ให้สอดคล้องกับสภาพภูมิอากาศ

-วางแผนป้องกันและบรรเทาอุทกภัย การวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงอุทกภัย พร้อมเตรียมระบบการแจ้งเตือนแก่ประชาชนที่มีประสิทธิภาพ ป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับพื้นที่การเกษตรให้ได้มากที่สุด