สถานการณ์น้ำ ภาพรวมของประเทศ วันที่ 14 มิถุนายน 2564

ศูนย์อำนวยการน้ำแห่งชาติ สรุป สถานการณ์น้ำ ภาพรวมของประเทศ วันที่ 14 มิถุนายน 2564

ศูนย์อำนวยการน้ำแห่งชาติ สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 14 มิถุนายน 2564

เนื่องจากพายุดีเปรสชัน “โคะงุมะ” ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ห่างจากทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดเชียงราย ประเทศไทย ประมาณ 140 กิโลเมตร คาดว่าจะอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำในระยะต่อไป ส่งผลให้ร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณตอนบนของภาคเหนือและประเทศลาวตอนบน ทำให้บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง

-แม่น้ำสายหลัก น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มลดลง

-ปริมาณน้ำใช้การ ทั้งประเทศ 37,030 ล้าน ลบ.ม. (45%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 32,411 ล้าน ลบ.ม. (45%) เฝ้าระวังน้ำน้อยในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 7 แห่ง

ขณะที่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้หน่วยงานบูรณาการเตรียมความพร้อมใน 10 มาตรการ เพื่อรองรับสถานการณ์ในช่วงฤดูฝนนี้ โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้

-กรมชลประทาน ตรวจสอบอาคารชลประทานให้มีสภาพพร้อมใช้งานบริหารจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำ ให้อยู่ในเกณฑ์ Dynamic Operating Curve ปรับการระบายน้ำให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ กำจัด สิ่งกีดขวางทางน้ำ รวมถึงเตรียมเครื่องจักรเครื่องมือประจำพื้นที่เสี่ยงให้สามารถช่วยเหลือพื้นที่ประสบภัยได้ทันที

-กรมทรัพยากรน้ำ เตรียมแผนเฝ้าระวังอุทกภัยในพื้นที่เสี่ยงภัย โดยเตรียมศูนย์ผลิตน้ำสะอาด 7 แห่ง (12 ล้านลิตร) จุดแจกจ่ายน้ำช่วยเหลือน้ำท่วม 12 แห่ง จุดสูบน้ำช่วยน้ำท่วม 124 แห่ง เครื่องสูบน้ำ 315 เครื่อง รถบรรทุก 75 คัน รถบรรทุกน้ำ 25 คัน รวมทั้งเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังสถานการณ์และปฏิบัติงานในพื้นที่

-กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จัดเจ้าหน้าที่ติดตามสภาพอากาศ ปริมาณฝน ระดับน้ำ และแนวโน้มสถานการณ์ภัย พร้อมจัดชุดเคลื่อนที่เร็ว เครื่องมืออุปกรณ์ประจำพื้นที่เสี่ยงให้พร้อมปฏิบัติการเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัย