สภาพอากาศ แบบสุดขั้ว ที่มีผลมาจาก ภาวะโลกร้อน

เมื่อความเดือดร้อนจาก สภาพอากาศ แบบสุดขั้ว ที่มีผลมาจาก ภาวะโลกร้อน คงเป็นเรื่องที่ไม่ไกลตัวอีกต่อไป ทำความเข้าใจและรู้ทันโลกที่เปลี่ยนไป

ร้อนๆหนาวๆกันไหม? เชื่อว่าบางคนอาจยังไม่เริ่มตระหนัก หลายคนอาจมองเป็นเรื่องไกลตัว แต่ถ้าสังเกตให้ดีๆ ในช่วงมรสุมจนเกิดความแปรปรวนหลายแห่งในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลกโดยกำลังเผชิญกับปัญหาอุทกภัยอย่างหนักในรอบหลายปีแบบไม่ทันตั้งตัว ซึ่งข่าวใหญ่เมื่อช่วงส่งท้ายเดือน กรกฎาคม ที่ผ่านมารัฐเคนทักกีของสหรัฐอเมริกา เผชิญกับอุทกภัยครั้งเลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 35 ราย และยังมีอีกหลายคนที่ยังสูญหาย และส่งผลให้ถนนหนทางบ้านเรือนหลายร้อยหลังคาเรือนจมอยู่ใต้น้ำ

อีกทั้งล่าสุดคืนวันที่ 8 ส.ค. 65 เกิดฝนถล่มกรุงโซลประเทศเกาหลีใต้ หนักสุดในรอบ 80 ปี ต้องประสบกับภัยน้ำท่วม จนทำให้รถยนต์หลายคันต้องจมน้ำ และมีการแจ้งอพยพประชาชน เหตุการณ์น้ำท่วมสร้างความเสียหายให้กับบ้าน อาคาร และทรัพย์สิน เมื่อเวลา 21.00 น.ของเมื่อคืนวันที่ 8 ส.ค. 65 ที่ผ่านมา ร้านค้าบางแห่งที่สถานีขนส่งในย่านกังนัม ต้องจมอยู่ใต้น้ำ และยังมีน้ำที่ท่วมเข้าไปที่สถานที่หลายแห่ง ที่ศูนย์ประชุมและนิทรรศการทางใต้ของกรุงโซล รถไฟฟ้าใต้ดินต้องหยุดให้บริการ

ทั้งนี้เป็นผลพวงจากสภาพอากาศสภาพแวดล้อมของโลกเปลี่ยนแปลงอย่างกระทันหัน ไม่มีใครรู้ว่าโลกร้อนมากเพียงใด แต่ที่เรารู้ก็คือ ภาวะโลกร้อนกำลังก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้คนและระบบนิเวศ ความจริงที่เราเห็นได้ก็คือ ธารน้ำแข็งที่กำลังละลาย น้ำแข็งขั้วโลกสลาย ชั้นดินเยือกแข็ง (Permafrost) ที่อุ่นขึ้น ปะการังที่กำลังตาย ระดับน้ำทะเลที่กำลังเพิ่มสูงขึ้น ระบบนิเวศที่กำลังเปลี่ยนแปลง และคลื่นความร้อนที่ทำให้ถึงแก่ความตายได้

ตามที่กล่าวมาเป็นเพียงการเริ่มต้นเท่านั้น แต่เรากำลังประสบกับภาวะโลกร้อนที่อันตราย และเราจะลงมือทำอะไรได้เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะโลกร้อนอันเป็นหายนะ ในขณะที่ผลกระทบเริ่มมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นหากเรายังปล่อยให้สภาพในปัจจุบันดำเนินต่อไป มาทำความเข้าใจกับโลกร้อนกัน

ภาวะโลกร้อน ?

ลองนึกภาพเรือนกระจกที่ทำจากแก้วที่ใช้ปลูกพืช เช่น ดอกไม้และผัก เรือนกระจกช่วยให้พืชภายในอบอุ่นได้แม้ภายนอกจะอากาศเย็นเพราะจะดักจับความร้อนจากแสงแดด ชั้นบรรยากาศของโลกทำหน้าที่เหมือนเรือนกระจก: เมื่อแสงจากดวงอาทิตย์ผ่านชั้นบรรยากาศ บางส่วนจะถูกดูดซับโดยพื้นผิวโลกเพื่อให้ความร้อนแก่มัน แต่ความร้อนบางส่วนก็ติดอยู่ในบรรยากาศของเราด้วยก๊าซบางชนิด ก๊าซดักจับความร้อนเหล่านี้เรียกว่าก๊าซเรือนกระจก และทำหน้าที่เหมือนผ้าห่มทำให้โลกอบอุ่น ภาวะเรือนกระจกนี้เป็นกระบวนการทางธรรมชาติที่ทำให้โลกอยู่สบาย

การที่อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นจากภาวะเรือนกระจก หรือที่มีชื่อเรียกว่า ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Green house effect) ซึ่งมีต้นเหตุจากกิจกรรมของมนุษย์ พืช ดิน และมหาสมุทรสามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ แต่พวกมันไม่สามารถไล่ตามก๊าซเรือนกระจกที่เราปล่อยออกไปได้ทั้งหมด และก๊าซเรือนกระจกบางชนิดก็อยู่ในบรรยากาศเป็นเวลานาน ตั้งแต่หลายร้อยถึงหลายพันปี ก๊าซเหล่านี้กำลังทำให้สิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติร้อนขึ้น เราจึงต้องหยุดการผลิตเพื่อหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไม่ว่าจะการเผาไหม้เชื้อเพลิงต่างๆ การขนส่ง และการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรม นอกจากนั้น มนุษย์เรายังได้เพิ่มก๊าซกลุ่มไนตรัสออกไซด์ และคลอโรฟลูโรคาร์บอน (CFC) เข้าไปอีกด้วย พร้อมๆกับการที่เราตัดและทำลาย ป่าไม้จำนวนมหาศาลเพื่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่มนุษย์ ทำให้กลไกในการดึงเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกไปจากระบบบรรยากาศถูกลดทอนประสิทธิภาพลง และในที่สุดสิ่งต่างๆที่เราได้กระทำต่อโลกได้หวนกลับมาสู่เราในลักษณะของภาวะโลกร้อน

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดสภาวะโลกร้อน ซึ่งปรากฏการณ์ทั้งหลายได้เกิดมูลเหตุมาจากการปล่อยก๊าซพิษต่างๆ จากโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้แสงอาทิตย์ส่องทะลุผ่านชั้นบรรยากาศมาสู่พื้นโลกได้มากขึ้น ซึ่งนั่นจึงเป็นตัวเร่งสภาวะเรือนกระจก ส่วนก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญ 6 ชนิด ที่จะต้องลดการปล่อย ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ก๊าซมีเทน (CH4) ก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N2O) ก๊าซไฮโดรฟลูโรคาร์บอน (HFCS) ก๊าซเปอร์ฟลูโรคาร์บอน (CFCS) และก๊าซซัลเฟอร์เฮกซ่าฟลูโอโรด์ (SF6)

ผลกระทบที่เกิดขึ้นช่วงเริ่มแรก

  • ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากธารน้ำแข็งที่กำลังละลาย และอุณหภูมิทั่วโลกที่กำลังสูงขึ้นจากการขยายตัวทางความร้อนของน้ำในมหาสมุทร

  • ก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยออกมามหาศาลจากชั้นดินเยือกแข็ง และป่าที่กำลังตาย

  • มีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะเกิดสภาพอากาศรุนแรง เช่น คลื่นความร้อน ความแห้งแล้ง และ น้ำท่วม ในปัจจุบันความแห้งแล้งทั่วโลกได้เพิ่มสูงขึ้นมากกว่าใน 30 ปีที่ผ่านมา 2 เท่า

  • ผลกระทบรุนแรงในระดับภูมิภาค ตัวอย่างเช่น ในยุโรป จะเกิดน้ำท่วมจากแม่น้ำเพิ่มขึ้นในพื้นที่ส่วนมากของทวีป และตามพื้นที่ชายฝั่งจะเสี่ยงต่อน้ำท่วม การกัดเซาะ และ การสูญเสียพื้นที่ในทะเลเพิ่มขึ้นอย่างมาก

  • ระบบทางธรรมชาติ ซึ่งได้แก่ ธารน้ำแข็ง ปะการัง ป่าชายเลน ระบบนิเวศของทวีปอาร์กติก ระบบนิเวศของเทือกเขาสูง ป่าสนแถบหนาว ป่าเขตร้อน เขตลุ่มน้ำในทุ่งหญ้า และ เขตทุ่งหญ้าในท้องถิ่น จะถูกคุกคามอย่างรุนแรง

  • สัตว์สายพันธุ์ต่างๆ เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มากขึ้น และเกิดความสูญเสียด้านความหลากหลายทางชีวภาพ

  • ผลกระทบที่รุนแรงกว่าจะตกอยู่กับประเทศยากจน ได้แก่ ประเทศที่กำลังพัฒนาของทวีปแอฟริกา เอเชีย และ มหาสมุทรแปซิฟิค ที่มีความสามารถน้อยที่สุดในการป้องกันตนเองจากระดับทะเลที่สูงขึ้น การแพร่กระจายของเชื้อโรค และ ผลผลิตภาคเกษตรที่ต่ำลง

  • ภาวะโลกร้อนทุกระดับจะทำให้ประเทศที่กำลังพัฒนาทุกข์ทรมานมากที่สุด

ผลกระทบร้ายแรงในระยะยาว

  • พืดน้ำแข็งบนเกาะกรีนแลนด์และทวีปแอนตาร์กติกากำลังละลาย หากไม่ควบคุม ความร้อนที่เกิดจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอาจจุดชนวนให้เกิดการละลายของพืดน้ำแข็งทั้งหมดในเกาะกรีนแลนด์ในอีกไม่กี่ทศวรรษข้างหน้า ซึ่งจะทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นสูงสุดถึง 7 เมตรเป็นเวลาหลายทศวรรษ มีหลักฐานใหม่ที่แสดงว่าอัตราของการไหลลงต่ำของน้ำแข็งในทวีปแอนตาร์กติกาแสดงถึงภาวะเสี่ยงที่จะละลายทั้งหมด

  • กระแสน้ำอุ่นในมหาสมุทรแอตแลนติกที่ไหลช้าลง เปลี่ยนทิศทาง หรือ หยุดไหล ซึ่งส่งผลกระทบอย่างสูงในยุโรป และทำให้ระบบการไหลเวียนของมหาสมุทรผิดปกติ

  • หายนะจากการปล่อยก๊าซมีเทนอย่างมหาศาลจากมหาสมุทร ซึ่งทำให้ก๊าซมีเทนในบรรยากาศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และส่งผลให้โลกร้อนขึ้น

สภาพภูมิอากาศแบบสุดขั้ว (Extreme Weather Event)

คำนี้อาจจะเริ่มได้ยินกันมากขึ้น คำจำกัดความที่เกิดขึ้นใหม่เพื่อแสดงให้เห็นถึงภัยทางธรรมชาติอุณหภูมิโลกยิ่งสูง ยิ่งเสี่ยงต่อวิกฤตสภาพภูมิอากาศ (Climate Crisis)ที่ส่งผลรุนแรงและบ่อยขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เช่น คลื่นความร้อน ภัยแล้ง พายุฝน เหล่านี้มีแนวโน้มจะเกิดบ่อยขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มนุษย์เป็นผู้ก่อขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ภัยแล้งและพายุฝนที่ดูเป็นภัยที่เป็นคู่ตรงข้ามกัน แต่กลับมีความเชื่อมโยงกันอย่างไม่น่าเชื่อ เพราะเมื่ออุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกสูงขึ้นจากกิจกรรมการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของมนุษย์ ก็ทำให้น้ำมีแนวโน้มที่น้ำจะระเหยไปในอากาศมากขึ้น จึงเกิดฝนบ่อยขึ้นนั่นเอง

อีกทั้งอุณหภูมิที่สูงขึ้นยังทำให้ภัยแล้งรุนแรงเมื่อน้ำระเหยขึ้นไปในอากาศในปริมาณที่มากขึ้นก็เป็นสาเหตุที่น้ำในดินหายไปและทำให้เกิดความแห้งแล้ง นอกจากนี้ อุณหภูมิที่สูงขึ้นยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดไฟป่าถัดจากความแห้งแล้ง การละลายของน้ำแข็งเนื่องจากอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นก็ทำให้โลกของเราแปรปรวนไม่น้อย เพราะจากการสันนิษฐานของสถาบันวิจัยสภาพภูมิอากาศทั่วโลกคาดว่า ตั้งแต่ปี พ.ศ.2533 เป็นต้นมา เกิดการละลายของน้ำแข็งในทวีปกรีนแลนด์ครั้งใหญ่ถึง 7 ครั้ง คุกคามอีกหลายพันล้านชีวิตและมีส่วนเร่งเร้าวิกฤตสภาพภูมิอากาศ

ไม่ว่าปรากฏการณ์ทั่วโลกจะมีแน้วโน้มที่เปลี่ยนแปลงไปมากเท่าไรก็ตาม ถ้าเกิดเราเริ่มต้นปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ตัวเราและรอบข้างถึงจะดูไม่ยิ่งใหญ่ แต่มันก็เป็นพลังเล็กๆที่สามารถเปลี่ยนแปลงโลกของเราได้เช่นกัน ขอให้เราแค่ตระหนักถึงธรรมชาติและสภาพแวดล้อมกันสักนิด ไม่แน่เราก็อาจช่วยรักษาโลกนี้ได้

ขอบคุณข้อมูล physicsworld , newsweek , theguardian , c2es.org , gracz , greenpeace

คลิปแนะนำอีจัน
อรุณเบิกฟ้า แซ่บ! สาวนักกวาดถนน กทม.