
วันนี้ 22 มีนาคม 2568 อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานได้มีโอกาส ต้อนรับ ดร.สรไกร เรืองรุ่ง ผู้อำนวยการสถาบันช่างเมืองเพชรและศิลปะร่วมสมัย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ที่นำประติมากรรมรูปจระเข้น้ำจืด มาติดตั้ง เพื่อเป็นจุดแลนด์มาร์คถ่ายภาพจุดใหม่ บริเวณสนามหญ้าหน้าศูนย์บริการนักท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน

โดนประติมากรรม จระเข้น้ำจืดตัวนี้ ดร.สรไกร กล่าวว่า มีที่มาจาก การทำเป็นงานวิจัย ที่เกี่ยวกับ เรื่องความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ ของอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน โดยต้องการที่จะสะท้อน ว่าจระเข้น้ำจืดใกล้จะสูญพันธุ์ จึงออกแบบให้เป็นจระเข้ ที่มีลักษณะเหมือนก้อนน้ำแข็งที่กำลังละลาย กำลังจะสลายหายไป และประติมากรรมชิ้นนี้ เป็นแลนด์มาร์คที่จะทำให้นักท่องเที่ยว เห็นและช่วยกันรณรงค์ อนุรักษ์รักษา ทรัพยากรธรรมชาติให้อุดมสมบูรณ์และคงอยู่ต่อไป
การดำเนินการสร้าง ประติมากรรมจระเข้ชิ้นนี้ สร้างจากน๊อตตัวเมีย อ็อกเชื่อมต่อกันทีละตัว เป็นตัวจระเข้โผล่พ้นพ้นใบบัว หมายถึงแหล่งน้ำจืด อ้าปากกว้าง มีริ้วที่บริเวณปากด้านล่างเป็นหยดน้ำเหมือนการละลายของก้อนน้ำแข็ง สื่อถึงสายพันธุ์ที่ใกล้สูญพันธุ์ไปจากโลก
หันหน้าประติมากรรมไปทางเกาะพลับพลา หรือเกาะในหลวง อันที่สถานที่อันควรเคารพในอ่างเก็บน้ำแห่งนี้
ต้นทุนในการก่อสร้าง ดร.สรไกร กล่าวว่า ได้รับทุนจาก ทุนอุดหนุนการวิจัย ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.) โดยมีสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(สกสว.) บริหารแหล่งทุนค่าวัสดุในการสร้างไม่น้อยกว่า 2 แสนบาท บวกกับการทุมเทของทีมงาน จนได้ประติมากรรมชิ้นนี้ออกมา เป็นงานศิลปะอันทรงคุณค่า มอบไว้ให้เป็นสมบัติชองชาติ ไว้ที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรีตลอดไป









สำหรับจระเข้วังข่า เป็นจระเข้สายพันธ์ไทย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Crocodylus siamensis ปัจจุบันพบได้น้อยมากในธรรมชาติ ที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานมีการตั้งกล้องดักถ่ายภาพพบที่ บริเวณวังข่า และชับชุมเห็ด ในแม่น้ำเพชรบุรีตอนบนเหนือหมู่บ้านโป่งลึกบางกลอยขึ้นไปประมาณ 10 กิโลเมตร และพบร่อยรอยจระเข้ที่เกาะสะแกวัลย์ในอ่างเก็บน้ำแก่งกระจาน ซึ่งทั้งอุทยานมีจำนวนไม่เกิน 10 ตัว
จึงอยากเชิญชวนให้นักท่องเที่ยวและคนทั่วไป ให้ช่วยกันเที่ยวอย่างใส่ใจ หวงแหนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสัตว์ป่า ให้คงอยู่เป็นมรดกตกทอดสืบไปนะคะ
เพราะธรรมชาติจะเยียวยาเรา….



