นักวิทย์ พบแกนโลกชั้นในหยุดหมุนและเปลี่ยนทิศทางการหมุน

นักวิทย์ เผยผลการวิจัยใหม่พบว่าแกนในของโลก เพิ่งหยุดหมุนและเปลี่ยนทิศทางการหมุนไปในทางตรงกันข้าม

ล่าสุดเกิดกระแสที่ชวนให้โลกต้องตื่นตัว กรณีการค้นพบของนักวิทยาศาสตร์ว่าแกนชั้นในของโลกหยุดหมุนเมื่อเร็วๆ นี้ และตอนนี้อาจกลับทิศทางการหมุนของมัน ซึงยังไม่ทราบผลกระทบที่แน่ชัด และคาดว่าเป็นวัฏจักรที่ปกติ จากการค้นพบที่น่าประหลาดใจนี้อาจช่วยไขปริศนาอันยาวนานซึ่งการที่โลกสามารถเคลื่อนที่อาจช่วยให้เข้าใจถึงระบบภูมิอากาศและภูมิศาสตร์ที่ทำงานบนกรอบเวลาและส่งผลกระทบต่อชีวิตบนพื้นผิวของโลก 

ถ้าพูดถึงลักษณะของโลกจะแบ่งออกได้เป็น เปลือกโลก เนื้อโลก และแกนชั้นในและชั้นนอก มันถูกแยกออกจากเนื้อโลกด้วยแกนนอกที่เป็นของเหลวซึ่งช่วยให้แกนในหมุนได้ ซึ่งแกนโลกอยู่ห่างจากพื้นผิวที่เราอาศัยอยู่ประมาณ 5,000 กิโลเมตร ซึ่งการวิจัยระบุว่าแกนในที่เป็นของแข็งของโลก ซึ่งเป็นลูกเหล็กร้อน ได้หมุนช้ากว่าพื้นผิวโลกและตอนนี้อาจหมุนช้ากว่านั้น

กระทั่งล่าสุดนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยปักกิ่งอี้ หยาง ( Yi Yang) และ ซ่ง เสี่ยวตง (Xiaodong Song) พบสัญญาณว่า แก่นชั้นในของโลกเหมือนจะ “หยุดการเคลื่อนไหวชั่วคราว” และ “เปลี่ยนทิศในการหมุน” ได้ทำการศึกษาคลื่นไหวสะเทือน (Seismic Wave) จากแผ่นดินไหวที่ส่งผ่านไปถึงแก่นโลกชั้นใน เพื่อวิเคราะห์ความเร็วในการหมุนของแก่นโลกชั้นในว่าเร็วเพียงใด

ซึ่งในการไขปริศนาของแก่นแท้ภายในโลกโดยศึกษาคลื่นไหวสะเทือน ในงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Geoscience ซ่งเสริมว่า เขาเป็นส่วนหนึ่งของทีมที่รายงานหลักฐานการหมุนของแกนในเป็นครั้งแรกในปี 1996 โดยการวัดการเปลี่ยนแปลงพวกเขามองหาเหตุการณ์แผ่นดินไหวซ้ำเพื่อวิเคราะห์ความเร็วในการหมุนของแก่นโลกชั้นในว่าเร็วเพียงใด ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงทางโลกถึงจุดต่ำสุดในราวปี 2009 ซึ่งบ่งชี้ว่าแกนในได้หยุดการหมุนชั่วคราว ทีมงานประหลาดใจมากยิ่งขึ้นเมื่อพบจุดเปลี่ยนที่คล้ายกันในช่วงต้นทศวรรษ 1970 โดยบอกใบ้ว่าแกนกลางหยุดและอาจกำลังหมุนกลับ

ทั้งนี้ ทีมวิจัยกล่าวว่า การหยุดหมุนและเปลี่ยนทิศการหมุนนี้ไม่ใช่เรื่องแปลกหรือผิดปกติ แต่เป็นวัฏจักรที่เกิดขึ้นตามปกติ และคิดว่าการหมุนของแกนกลางโลกนั้นหมุนไปในทิศทางหนึ่ง จากนั้นจะหมุนกลับมาในอีกทิศทางหนึ่ง เหมือนกับการแกว่งไปมา ซึ่งการหมุนนี้น่าจะสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เรียกว่า “ความยาวของวัน” ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงของเวลาที่โลกหมุนรอบตัวเองเล็กน้อย

ทางด้าน เคอโวเย คาลชิช (Hrvoje Tkalcicc) นักธรณีฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลียกล่าวว่า “แบบจำลองทางคณิตศาสตร์เหล่านี้มักจะไม่ถูกต้องทั้งหมดเนื่องจากแบบจำลองเหล่านี้เป็นเพียงการอธิบายข้อมูลที่สังเกตได้เท่านั้น” 

คาลชิช กล่าวเสริมอีกว่า “เราใช้วิธีการอนุมานทางธรณีฟิสิกส์เพื่อสรุปคุณสมบัติภายในของโลก จึงต้องใช้ความระมัดระวังจนกว่าผลการวิจัยจากหลากหลายสาขาจะยืนยันสมมติฐานและกรอบแนวคิด”

ทั้งนี้ในส่วนนักวิทยาศาสตร์คนอื่น ๆ ก็ยังคงถกเถียงกันในเรื่องความเร็วของแกนในและความเป็นไปได้ที่โลกจะหยุดหรือหมุนกลับด้าน และมีความเห็นแตกต่างกัน 

อ้างอิง ndtv , vice , mirror

คลิปอีจันแนะนำ
เปิดนาทีไล่ล่า ยาบ้า ข้ามซีกประเทศ