PM2.5 ฝุ่นจิ๋ว สารกระตุ้นการเจ็บป่วย จันพาส่องฝุ่นส่องโรค เลิกสูดฝุ่น เลี่ยงทรมานร่างกาย

ส่องภัยร้าย PM2.5 สารกระตุ้นการเจ็บป่วย เมื่อฝุ่นตัวร้ายย่ำกรายเข้ามาในชีวิต! จนร่างกายต้องซวย จันพาส่องฝุ่นส่องโรค เลิกสูดฝุ่น เลี่ยงทำลายร่างกาย

“ความวัวไม่หันหาย ความควายเข้ามาแทรก!”
ทำไมจันถึงพูดประโยคนี้ เพราะจันกำลังเปรียบเทียบประโยคคุ้นหูนี้กลับภาพเหตุการณ์ที่คุ้นชินในชีวิตเราในขณะนี้ “เพราะโควิด-19 ไม่ทันหาย ฝุ่นพิษเข้ามาแทรกจริง!”

ฝุ่นพิษ หรือ PM2.5 ที่คนกรุงฯและหลายจังหวัดในประเทศไทย กำลังเผชิญ เรารู้จักเจ้าฝุ่นตัวร้ายนี้ตั้งแต่ปีที่แล้ว ปี 2562 เพราะเรารู้ว่า PM2.5 นี้ ไม่ได้ดีต่อสุขภาพสักเท่าไหร่ และที่สำคัญถ้าร่างกายได้รับมากไป ก็จะเกิดอันตรายแน่นอน วันนี้จันจะพาไปส่องฝุ่นพิษ พร้อมเลี่ยงอันตรายจากมันกัน

ภาพจากอีจัน
จันต่อสายตรงหา พญ.มัณฑนา สันดุษฎี อายุรแพทย์ด้านโรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ และเวชบำบัดวิกฤต โรงพยาบาลพระราม 9 และได้สอบถามข้อมูลความร้ายกาจของฝุ่น PM2.5 เลยได้รู้ว่า เจ้าฝุ่นจิ๋วตัวร้ายนี้ มันเล็กมากๆ เล็กขนาด 2.5 ไมคอน ต้องใช้ตัวฝุ่นรวมกัน 20 ตัว ถึงจะมีขนาดเท่าเส้นผม 1 เส้น นั้นหมายความว่าเราจะไม่สามารถเห็นมันด้วยตาเปล่าได้ ปกติมีสิ่งแปลกปลอมมาติดตามร่างกายหรือแม้กระทั่งเข้ามาในปากหรือจมูกเรา สัญชาตญาณมันจะบอกให้เราเอามันออกไปทันที แต่มันใช้กับเจ้าฝุ่นจิ๋วนี้ไม่ได้เพราะมันเล็กมาก
ภาพจากอีจัน
ฝุ่น PM2.5 มันเล็กแค่ไหนกันเชียว เล็กขนาดที่ขนจมูก เหยื่อเมือกในจมูกในหลอดลม กรองไม่ได้ เล็กขนาดที่ แมสก์ที่เราใส่บางชนิดกรองไม่ได้ มันจะไม่น่าตกใจ ถ้าด่านแรกของร่างกายกรองมันได้ แต่กลับกันเมื่อร่างกายรับเข้าไปแล้ว ร่างกายเราแพ้และต่อต้านมันทันทีหรือไม่อาจสะสมจนแผลงฤทธิ์ทีหลัง แน่นอนค่ะ จันกำลังจะพูดถึงอันตรายของฝุ่นจิ๋วนี้ ฝุ่น PM2.5 สารกระตุ้นการอักเสบที่ค่อนข้างรุนแรง มันจะส่งผลทันทีกับร่างกายของคนที่เป็นโรคภูมิแพ้,หอบหืด,ถุงลมโปร่งพอง เมื่อได้รับฝุ่นเข้าไปมากๆ จะหายใจหอบเหนื่อยขึ้นมาทันที เพราะฝุ่นไปกระตุ้นให้หลอดลมตีบอย่างรวดเร็ว บางคนก็จะมีอาการแสบจมูกแสบตา เพราะฝุ่นจะทำให้ร่างกายเกิดการระคายเคืองได้ง่าย
ภาพจากอีจัน
แต่ที่น่าตกใจไปกว่านั้น คนที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หากร่างกายได้รับฝุ่นจิ๋วนี้ไป จะทำให้ถุงลมและหลอดเลือดเกิดการอักเสบจากการเข้าไปกระตุ้นของฝุ่น ทำให้เกิดหัวใจขาดเลือดได้เหมือนกัน รวมถึงบางคนจะเกิดอาการคันหรือเป็นจ้ำๆ ตามร่างกาย เพราะการต่อต้าน หรือผิดปกติของหลอดเลือด พญ.มัณฑนา ยังบอกอีกว่าหลายคนเข้าใจว่าถ้าร่างกายได้รับฝุ่นเข้าไป ก้ต้องแค่เช็ดหรือชำระฝุ่นเหล่านั้นออก แต่อันที่จริงฝุ่นไม่ใช่สารพิษที่โดนแล้วต้องล้างออก เพราะการเอามันออกทันทีมันยาก การป้องกันถือเป็นการแก้ปัญหาที่ถูกต้องที่สุด
ภาพจากอีจัน
แล้วเราจะป้องกันมันได้ยังไงละ วันนี้จันถามคุณหมอมาให้แล้วค่ะ การป้องกันที่ดีที่สุดคือการไม่สูดดมฝุ่นชนิดนั้นเลย หรือหากเลี่ยงไม่ได้จริงๆ ก้ต้องใส่แมสก์ที่สามารถป้องกันฝุ่นนั้นได้ อย่างหน้ากากอนามัย N95 หรือหากหาไม่ได้จริงๆ สิ่งที่สามารถใช้แมสก์ที่มีอยู่ซ้อนด้วยกระดาษทิชชู่อีก 1 ชั้น และหลายคนหลังจากกลับมาจากทำกิจกรรมการแจ้งก็จะล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ ซึ่งพญ.มัณฑนา บอกว่าก็ช่วยได้ในระดับหนึ่ง จะล้างฝุ่นที่เกาะอยู่ตามผนังเยื่อจมูกให้หลุดออก ส่วนตามผิวหนังที่หลายคนเข้าใจว่า หากร่างกายได้รับมากๆ จะทำให้ผิวหนังแก่ก่อนวัย หรือมองคล้ำดูไม่สดใส ซึ่งอันนี้ยังไม่มีข้อมูลหรืองานวิจัยที่ชัดเจน แต่หากใครสบายใจที่จะเช็ดทุกครั้งก่อนออกไปที่โล่งแจ้งก็สามารถทำได้ แต่อย่าเช็ดแล้วยังอยู่กลางแจ้งนะคะ เพราะน้ำหรือโลชั่นที่เราเช็ดคือตัวดัดฝุ่นที่เรามองไม่เห็นได้เป็นอย่างดี สรุปแล้วก็คือ เลี่ยงฝุ่นได้หรือเลี่ยง ถ้าเลี่ยงไม่ได้ต้องป้องกันที่ตัวเอง เพราะฝุ่นจิ๋วที่เรามองไม่เห็น อาจทำร้ายร่างกายเราได้อย่างมหันต์