กทม. โควิดระลอกใหม่ แพร่ไว แต่ไม่รุนแรง พร้อมรับมือ!

สำนักการแพทย์ และสำนักอนามัย กทม. ยัน โควิดระลอกใหม่ แพร่ไว แต่ไม่รุนแรง พร้อมรับมือ!

วันนี้ (13 ม.ค. 65) กทม.จัดแถลงข่าว สรุปการเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์โควิด-19 ระลอกใหม่ ในเขตกทม.

โดยมี ร.ต.อ. พงศกร ขวัญเมือง โฆษกของกรุงเทพฯ นพ.สุขสันต์ กิตติศุภกร ผอ.สนง.การแพทย์ และ พญ.ป่านฤดี มโนมัยพิบูลย์ ผอ.สำนักอามัย ร่วมให้บรรยายความพร้อม ในรับมือสถานการณ์โควิด-19 ระลอกใหม่ ที่ระบาดในกรุงเทพ

ร.ต.อ. พงศกร กล่าวว่า ขณะนี้ทางกรุงเทพ เน้นการตรวจเชิงรุก ตามชุมชนและร้านอาหาร/ผับบาร์ เนื่องจากเป็นสถานที่แออัด กว่า 4,000 รายต่อวัน พบผู้ติดเชื้อไม่เกิน 2% และในส่วนของแคมป์คนงานก่อสร้าง ที่ก่อนหน้านี้ พบการระบาดโควิด 3 คลัสเตอร์ใหม่ ทางกทม.ก็ได้ลงไปตรวจสอบและเพิ่มมาตรการควบคุมและป้องกันโรคอย่างเคร่งครัดตลอด 14 วัน ซึ่งยังไม่พบผู้ติดเชื้อเพิ่มจาก 3 คลัสเตอร์นี้

ซึ่งจากการตรวจเชิงรุกในครั้งนี้ ทำให้ทางกทม. เพิ่มมาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาดและควบคุมโรคโควิดมากขึ้น โดยเฉพาะใน ร้านอาหารและผับ-บาร์ ดังนี้

ร้านอาหารยังสามารถเปิดให้บริการได้ปกติ ภายใต้มาตรการ คัดกรองเบื้องต้นก่อนเข้าร้าน ล้างมือเว้นระยะห่าง และพนักงานที่คอยให้บริการภายในร้าน ต้องได้รับการฉีดวัคซีน 100% พร้อมทั้งตรวจหาเชื้อโควิดอย่างสม่ำเสมอ

ที่สำคัญ ต้องเป็นสถานประกอบการที่ไดรับการรับรองมาตรฐานจาก SHA Plus หรือ Thai Stop Covid 2 Plus

ส่วนผับ-บาร์ หากต้องการเปิดให้บริการ กรุณาติดต่อ SHA Plus หรือ Thai Stop Covid 2 Plus เพื่อให้หน่วยงานเข้าตรวจสอบและรับรองการให้บริการ ภายในวันที่ 15 ม.ค. 65 นี้เท่านั้น และต้องปรับจากการเปิดบริการในลักษณะของผับ-บาร์ ให้เป็นร้านอาหารกึ่งผับ-บาร์แทน ภายใต้มาตรการเดียวกัน และห้ามจัดพื้นที่ไว้สำหรับให้ผู้ใช้บริการเต้น เพื่อลดความแออัด

ในส่วนของการติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นรายวันในเขตกทม.นั้น พญ.ป่านฤดี มโนมัยพิบูลย์ ผอ.สำนักอามัย กล่าวว่า เนื่องจากการแพร่ระบาดโควิดที่ผ่านมา ถือเป็นบทเรียนสำคัญ ทำให้เกิดการปรับปรุง และมีความพร้อมในการรับมือ แม้การระบาดระลอกใหม่นี้ ไวรัสโควิดสายพันธุ์โอมิครอนจะแพร่ได้ไวกว่าสายพันธุ์อื่น แต่อัตราการเสียชีวิตนั้นน้อยมาก จึงอยากขอให้ประชาชนเข้าใจ ถึงแพร่ไวแต่ไม่รุนแรง ที่สำคัญ ขณะนี้อัตราการฉีดวัคซีนนั้นครอบคลุมมากขึ้น และมีการจัดเตียงพร้อมรับผู้ป่วยที่มีอาการหนักแล้ว 10,000 เตียง หากเกิดปัญหาเตียงไม่พอ ทางกทม.สามารถจัดหาเตียงเพิ่มได้อีก 20,000-30,000 เตียง ภายใน 48 ชั่วโอง

ดังนั้น จึงมั่นใจว่าสามารถรับมือได้อย่างแน่นอน แต่อยากขอความร่วมมือจากประชาชน หากพบว่าตนนั้นได้รับเชื้อ แต่ไม่ได้มีอาการรุนแรง ขอให้เข้ารับการรักษาแบบ Home Isolation หรือรักษาตัวที่บ้านแทน ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลรับเข้าเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาลและติดตามอาการอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาเตียงไม่เพียงพอต่อการรับผู้ป่วยที่อาการรุนแรงเหมือนที่ผ่านมา

พญ.ป่านฤดี และ นพ.สุขสันต์ ยังกล่าวเสริมอีกว่า ขณะนี้อัตราการได้รับวัคซีนเข็มที่1-2 ของประชาชนนั้น อยู่ในเกณฑ์ดี และหลายเริ่มบูสต์เข็ม 3 ได้แล้ว โดยทางกทม. ได้จัดจุดบริการฉีดวัคซีนบูสต์เข็ม 3 ไว้ 101 จุด สามารถเช็กผ่านแอพพลิเคชั่น QueQ และจะเพิ่มจุดฉีดให้มากขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนมากขึ้น

แต่! หากประชาชนที่ยังไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีน สามารถ Wlak In รับบริการได้ที่ สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง

ในส่วนของการฉีดวัคซีนในเด็กอายุ 5-11 ปีนั้น พญ.ป่านฤดี กล่าวว่า ขณะนี้ วัคซีนไฟเซอร์ (สูตรสำหรับเด็ก) อยู่ระหว่างการจัดสรรวัคซีน เพื่อให้เพียงพอต่อการฉีด

และจะนำซิโนแวค (สูตรสำหรับเด็ก) วัคซีนที่เป็นเชื้อตาย มาเป็นวัคซีนทางเลือกอีกด้วย เนื่องจากมีผู้ปกครองบางส่วน ไม่กล้าให้เด็กเล็กฉีดไฟเซอร์ เพราะกลัวว่าจะมีผลข้างเคียง จึงขอเชื้อตายมาฉีด ซึ่งวัคซีนทางเลือกนี้ยังอยู่ในขั้นประชุม

สุดท้าย พญ.ป่านฤดี กล่าวย้ำว่า ในกรณีที่ตรวจ ATK แล้วผลเป็นลบ แต่มีอาการต้องสงสัยว่าอาจได้รับเชื้อ สามารถเข้ารับการตรวจแบบ RT-PCR ที่โรงพยาบาลได้เลย ทั้งนี้ หากผลตรวจเป็นบวก (มีเชื้อโควิด) ทางโรงพยาบาลจะพิจารณาว่า จะรับเป็นผู้ป่วยรักษาในโรงพยาบาล หรือรับเข้าเป็นผู้ป่วยของโรงพยาบาลแบบ Home Isolation

หรือหากตรวจ ATK ด้วยตัวเองที่บ้าน แล้วพบผลบวก สามารถติดต่อขอเข้ารับการรักษาได้ ที่เบอร์ 1669 ต่อ 2 ซึ่งเป็นเบอร์สำนักงานกรุงเทพฯโดยตรง, โทร 1330 หรือเบอร์สำนักงานเขตที่เราอาศัยอยู่ หรือไลน์@NHO

อย่างไรก็ตาม ขอให้ทุกคนปฏิบัติตนตามมาตรการควบคุมและป้องกันโรคโควิด-19 อย่างเคร่ดครัดนะคะ เพื่อความปลอดภัยของของคนที่คุณรักและตัวคุณเอง

คลิปอีจันแนะนำ
สาวรีวิวโควิด แค่เจ็บคอ ตรวจเจอติดโอมิครอน