ราชกิจจาฯประกาศ พรก.ฉุกเฉิน สื่อห้ามเสนอข่าวให้หวาดกลัว

ราชกิจจาฯ ประกาศ สื่อห้ามเสนอข่าวบิดเบือน ทำให้ประชาชนหวาดกลัว ฝ่าฝืนสั่งระงับบัญชี อินเทอร์เน็ต

29 ก.ค.2564 ราชกิจจานุเบกษา ออกประกาศ ข้อกำหนด ฉบับที่ 29 ห้าม “เสนอข่าวที่อาจทำให้ ปชช.หวาดกลัว” หรือ “เจตนาบิดเบือน” พร้อม เช็ก IP สั่ง กสทช. ส่งเรื่องให้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เอาผิดต่อไป มีผล 30 ก.ค. 64

“ข้อ ๑ ห้ามผู้ใดเสนอข่าว จําหน่ายหรือทําให้แพร่หลายซึ่งหนังสือ สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใด ที่มีข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร ทําให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉินจนกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ หรือความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ในเขตพื้นที่ที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน

ข้อ ๒ ในกรณีมีการเผยแพร่ข้อความหรือข่าวสารตามข้อ ๑ ในอินเทอร์เน็ต ให้สํานักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สํานักงาน กสทช.) แจ้งผู้รับใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ตตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจกํารโทรคมนาคม ทุกรายทราบ และ ให้ผู้รับใบอนุญาตดังกล่าวทุกรายมีหน้ําที่ตรวจสอบว่าข้อความหรือข่าวสารดังกล่าวมีที่มาจากเลขที่อยู่ไอพี (IP address) ใด หากเป็นเลขที่อยู่ไอพี (IP address) ที่ตนเป็นผู้ให้บริการ ให้แจ้งรายละเอียดตามที่ สํานักงาน กสทช. กําหนด ให้สํานักงาน กสทช. ทราบ และให้ระงับการให้บริการอินเทอร์เน็ต แก่เลขท่ีอยู่ไอพี (IP address) น้ันทันที

ให้สํานักงาน กสทช. ส่งรํายละเอียดตามที่ได้รับแจ้งตํามวรรคหนึ่งให้แก่สํานักงานตํารวจแห่งชําติโดยเร็วเพื่อดําเนินคดีต่อไป

ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดไม่ปฏิบัติตามวรรคหน่ึง ให้ถือว่าไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขท่ีกําหนดไว้ในใบอนุญาตการให้บริการอินเทอร์เน็ต และให้สํานักงานกสทช. ดําเนินการตามกฎหมายต่อไป

ท้ังนี้ ตั้งแต่วันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ เป็นต้นไป”