ร้านอาหาร โอด งบอาหาร Home Isolation ถูกลด

ร้านอาหาร โอด งบอาหาร Home Isolation ถูกลด เสนอแนวทางกับ สมาคมภัตตาคารร้านอาหาร เปลี่ยนระบบ การส่งอาหารให้ผู้ป่วยโควิด Home Isolation

ร้านอาหารโอด งบอาหารผู้ป่วย Home Isolation

ไม่ตรงตามที่ตกลงกันไว้ ไม่รู้ว่าส่วนต่างนั้นหายไปไหน แต่หายไปเกือบล้าน!

ล่าสุด เรื่องถึงนายกสมาคม ภัตตาคารไทยแล้ว!

วันนี้ (18 ม.ค. 65) ทีมข่าวอีจัน ได้รับรายงานว่า มีโอกาสได้คุยกับร้านอาหารดังกล่าวนี้ ซึ่งเป็นเรื่องของร้านอาหารแห่งหนึ่งที่มีโอกาส ได้รับทำอาหารจากโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ซึ่งอยู่ในพื้นที่เดียวกัน ทางร้านอาหาร เล่าให้ทีมข่าวอีจันในพื้นที่ฟังว่า เมื่อช่วงล็อกดาวน์ที่ผ่านมา เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 มีผู้ป่วยโควิดบางราย ที่ต้องรักษาตัวแบบ Home Isolation ทางร้านได้รับการติดต่อจากโรงพยาบาลดังกล่าว ให้จัดทำอาหารส่งผู้ป่วยเหล่านี้ 3 มื้อต่อวัน โดยมีการพูดคุย เพื่อตกลงราคาอาหารที่ผู้ป่วยจะต้องได้รับในแต่ละวัน

ซึ่งราคาที่ตกลงกันไว้อยู่ที่ มื้อละ 50 บาท วันละ 3 มื้อ รวมเป็น 150 บาท ต่อผู้ป่วย 1 คน แต่เมื่อเวลาทำจริง จำนวนเงินลดลง 5 บาท เหลือ 145 บาท รวม 3 มื้อต่อวันต่อคน แปลว่า จากเดิมอาหาร 1 มื้อที่ผู้ป่วยจะได้รับคือ 50 บาท เหลือ 45 บาท เท่ากับว่า ปริมาณของอาหารจะลดลงไปด้วย เพราะทางร้านก็มีต้นทันในการทำอาหาร และก็มีการแจ้งว่า ส่วนต่าง 5 นั้นหายไปไหน

ทางร้านอาหาร เล่าต่อว่า ก่อนที่ร้านของตนจะรับทำนั้น ทางโรงพยาบาลดังกล่าว เคยไปเสนอให้ร้านอาหารอื่นๆ ทำแล้ว แต่ไม่มีร้านไหนรับทำ เนื่องจาก

1. จำนวนผู้ป่วย Home Isolation ไม่เยอะ

2. ไม่ได้รับเงินสดที่ต้องใช้เป็นต้นทุน ในการซื้อวัตถุดิบ ต้องรออย่างน้อย 1 เดือน ถึงจะได้รับเงิน

ซึ่งร้านอาหารขนาดเล็ก ไม่สามารถทำได้ เพราะต้องมีเงินหมุนเวียน ส่วนร้านอาหารใหญ่ๆ ก็ไม่รับทำ เพราะจำนวนผู้ป่วยน้อย มองว่าไม่คุ้มกับเม็ดเงินที่จะได้

จนมาถึงร้านอาหารดังกล่าวที่รับทำ เพราะช่วงล็อกดาวน์ ที่ร้านทำเดลิเวอรี่เอง และไม่ซีเรียสเรื่องระยะเวลาการจ่ายเงิน และค่าอาหารที่ได้ (กำไร) เพราะไม่คิดเอากำไรจากผู้ป่วยอยู่แล้ว แค่ทำแล้วยังมีเงินจ่ายค่าแรงให้พนักงานในร้าน และร้านไม่ขาดทุนก็พอแล้ว อีกอย่างทางร้านพอมีรายได้จากการขายแบบเดลิเวอรี่อยู่บ้าง ทางร้านจึงยินดีรับงาน อย่างน้อยได้มีโอกาสเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลผู้ป่วย มีโอกาสในการแบ่งเบาภาระคุณหมอ และพยาบาล

ทางร้านอาหาร เล่าอีก ในช่วงประมาณ 2 เดือน ที่ทางร้านรับทำอาหาร ส่งให้ผู้ป่วยที่รักษาตัวแบบ Home Isolation ประมาณ 60-70 คน ซึ่งทางโรงพยาบาลจัดหาโรงแรมไว้ 2 แห่งให้ผู้ป่วย ที่เคยตกลงว่า รอประมาณ 1 เดือน ถึงจะได้รับเงินจากทางโรงพยาบาล แต่กลับไม่ได้ กว่าจะได้รับเงิน ก็ปาไป 2 เดือนกว่าแล้ว

ทั้งส่วนต่างที่หายไปเป็นจำนวนเงิน 5 บาท (ผู้ป่วย 70 คน = 350/วัน) ที่บางวันทางร้านยอมขาดทุน เพราะพยายามทำอาหารที่ดี วัตถุดิบสดใหม่ ให้ผู้ป่วยทุกมื้อ ใส่ภาชนะที่มีคุณภาพถูกสุขลักษณะ ค่าน้ำมันวิ่งส่งอาหาร ไป-กลับ 3 รอบ/วัน ซึ่งกว่าจะได้เงิน ทางร้านต้องสำรองจ่ายไปก่อน มองว่ามันหนักเกินไป ถ้าต้องสำรองจ่ายเองถึง 2 เดือน

นี่คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในช่วงล็อกดาวน์ปี 2564 ที่ผ่านมา

จนกระทั่ง ครั้งนี้ ที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 มีผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น ถือเป็นการระบาดระลอกที่ 5 แล้ว ร้านอาหารดังกล่าว ก็ได้รับการติดต่อจากทางโรงพยาบาลแห่งนี้ อีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้ทำอาหารส่งผู้ป่วย ที่รักษาตัวแบบ Home Isolation

เบื้องต้นทางร้านได้บอกไปแล้วว่า ทำไม่ไหว เพราะจำนวนผู้ป่วยที่เยอะขึ้น บวกกับทางร้านไม่ได้มีไรเดอร์เยอะมากพอที่จะส่งอาหารให้ผู้ป่วยได้ครบทุกบ้านตามเวลา

แต่ทางโรงพยาบาลกลับแจ้งว่า

ให้บริหารจัดการเอาเอง ผู้ป่วยเยอะ ก็กระจายตามจุด ให้ญาติผู้ป่วยมารับ

เมื่อได้รับการตอบกลับเช่นนี้ ทางร้านจึงลองเสนอแนวทางที่ สมาคมภัตตาคารร้านอาหาร ให้กระจายอาหารของผู้ป่วยที่รักษาตัวแบบ Home Isolation ออกไปให้ร้านอื่นๆ บ้าง เพื่อไม่ให้ทางร้านใดร้านหนึ่ง ต้องสำรองเงินจ่ายก่อน ซึ่งจำนวนเงินมันเยอะมาก และร้านอาหารอื่นๆ จะได้มีรายได้เพิ่มด้วย เพราะการที่ร้านหนึ่งร้านจะรับทำอาหารจำนวนมากขนาดนั้น ต้องใช้ทีมงานและเวลาเยอะมาก สุดท้ายทางร้านที่ต้องการรับทำ ก็จำเป็นต้องปฏิเสธไม่รับทำ

ด้วยเหตุผลหลัก ๆ ดังนี้

1. เกินกำลังของทางร้าน แม้ทางเจ้าหน้าที่แจ้งว่าสามารถหาทีมงาน ร้านอื่น ๆ มาร่วมกันทำได้ ก็เกินกำลังของร้านที่จะติดต่อบริหารจัดการ ควรเป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่ใหญ่กว่านั้น

2. แนวทาง แนวคิด การปฏิบัติที่ไม่ตรงกัน เช่น ให้ทำอาหารผู้ป่วยสามมื้อ รวบส่งในสองมื้อหรือมื้อเดียว ซึ่งทางร้านเห็นว่าไม่ถูกตามสุขลักษณะ ยิ่งจำนวนเยอะ ต้องใข้เวลาในการเตรียมการปรุงนาน อาหารก็ยิ่งเสียคุณภาพตามไปด้วย

3. การจัดส่งที่ทำได้ยาก เมื่อเป็น Home Isulation เพราะไม่ได้ส่งอาหารไปที่เดียวเหมือนศูนย์พักคอย แต่ต้องกระจายไปให้ผู้ป่วยตามบ้าน จำนวนเกือบพันคนในเวลาที่กำหนด โดยไม่มีแนวทางการขนส่งที่ปฏิบัติได้จริงมารองรับ ได้แต่บอกให้คิดหาวิธีบริหารจัดการเอง อาจส่งเป็นจุดให้ญาติผู้ป่วยมารับไป ซึ่งมองว่าทำได้ยาก และใช้เวลานานพอสมควร และอาจไม่ปลอดภัยกับไรเดอร์ด้วย

4. ระบบการรับเงิน-จ่ายเงิน เป็นการเบิกจ่ายทุกสิ้นเดือน โดยร้านต้องสำรองจ่ายไปก่อน คำนวณคร่าว ๆ เฉพาะต้นทุนอาหารไม่รวมค่าแรงทีมงาน และไรเดอร์ต้องมีเงินจ่ายสำรองไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท และต้องมานั่งลุ้นอีกว่า ถ้ามีอะไรผิดพลาดจะได้เงินครบหรือไม่ และจะได้เมื่อไหร่

ซึ่งข้อนี้ เป็นอีกเหตุผลที่ไม่กล้ารับงานตรงนี้มาบริหารส่งให้ร้านค้าอื่น ๆ เพราะหากเกิดอะไรผิดพลาดขึ้น คงรับผิดชอบไม่ไหว

5. ยังติดใจในเรื่องส่วนต่างของเงินที่หายไป จำนวน 5 บาท จากเหตุการณ์ข้างต้น ว่าอาจมีการหักหัวคิด กินค่าอาหารที่ผู้ป่วยควรได้รับ หากเป็นจริง ทางร้านไม่อยากเป็นส่วนหนึ่งในคอรัปชั่นนี้ โดยเจตนาหรือไม่เจตนาก็ตาม

5 ข้อนี้ ทางร้านอยากให้สมาคมภัตตาคารร้านอาหาร ได้อ่านและพิจารณา

และขอเป็นเสียงสะท้อนให้ร้านอาหารอื่นๆ เผื่อจะช่วยให้ระบบเปลี่ยนแปลงได้บ้างนะคะ อยากให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาที่ดี ร้านค้าอื่นๆ มีรายได้จุนเจือ และให้งบประมาณแผ่นดินถูกใช้อย่างถูกต้อง และมีประโยชน์ที่สุด

ล่าสุด วันนี้ (18 ม.ค. 65) อีจัน ได้ข้อมูลว่า ปัญหา นี้ ถึง นายกสมาคมภัตตาคารไทย แล้ว

ซึ่งได้หาแนวทางแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น และได้แจ้งไปยัง สปสช.

โดยวันที่ 19 ม.ค.65 นี้ สปสช. ร่วมกับ สมาคมภัตตาคารไทย ได้เชิญหน่วยบริการสาธารณสุขทั่วประเทศ ทั้งภาครัฐและเอกชน ร่วมรับฟัง แนวทาง ในการจัดส่งอาหารให้ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่เข้าระบบการรักษาที่บ้าน Home Isolation และรพ.จะส่งอาหารให้ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่รักษาตัวที่บ้านต้องทำอย่างไร ?

โดย สปสช. และสมาคมภัตตาคารไทย มีวิธีการบริหารการส่งอาหารให้ผู้ป่วยมานำเสนอ

ผ่าน Facebook Live สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

https://www.facebook.com/NHSO.Thailand