วิโรจน์ ตั้งข้อสังเกต สาธารณสุข ปมจัดซื้อ วัคซีนโควิด สงสัย ทำไมต้องซื้อกับเจ้าเดียว

วิโรจน์ ก้าวไกล กังขา ทำไม สาธารณสุข ต้องซื้อ วัคซีนโควิด กับ บริษัทขายยา เพียงเจ้าเดียว ไม่ยอมกระจายความเสี่ยงในการจัดหา

เมื่อวันที่ 17 ก.พ. ที่ผ่านมา นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล เเถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ภายหลังการรับฟังการชี้แจงของกระทรวงสาธารณสุข ในประเด็นที่นายวิโรจน์ ได้มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในประเด็นเรื่องวัคซีนโควิด และมีการพาดพิงถึงกระทรวงสาธารณสุข ว่า ตนตั้งข้อสังเกต จากการเเถลงของกระทรวงสาธารณสุข คือการที่ระบุว่า ขีดความสามารถของแต่ละโรงพยาบาล สามารถฉีดได้ 500 โดสต่อวัน รวมแล้วจะสามารถฉีดได้ 10 ล้านโดสต่อเดือน หากมีวัคซีนเพียงพอ ซึ่งเรื่องนี้เราต้องมาติดตามดูกันอีกทีว่าวัคซีนจะมาตามแผนหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ต้องขอถามอีกครั้งไปยัง นายอนุทินว่า มีความมั่นใจได้อย่างไร ในการผลิตวัคซีน astra zenexa ในประเทศไทย

ที่ดำเนินการโดยบริษัทเอกชนที่ถ่ายทอดเทคโนโลยีเพียงไม่นานจะไม่มีปัญหาเกิดขึ้น เพราะกรณีนี้แม้แต่โรงงานที่ประเทศเบลเยี่ยมที่มีประสบการณ์มา 20 ปี ก็ยังพบปัญหาระหว่างการผลิต เปรียบเสมือนกับการผลิตชิ้นส่วนๆใด ในโรงงาน ล้วนมีปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งสิ้น ดังนั้น เมื่อฝากความหวังไว้กับวัคซีนเดียว รัฐบาลจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบที่ไม่กระจายความเสี่ยงในการจัดหาวัคซีน และเมื่อเทียบกับการจัดหาวัคซีนในนานาอารยะประเทศในอาเซียน พบว่า ประเทศไทยมีความเเตกต่างกับนานาอารยะประเทศอย่างสูง ในการกระจายความเสี่ยง โดยตนยังไม่รับคำตอบกรณีนี้ เเละขอถามอีกว่าจะทำอย่างไรหากพบผลข้างเคียงรุนเเรงจากวัคซีนแอสตราเซียนิกาเกิดขึ้น จะมีเเผนรับรองเพื่อแก้ไขปัญหาในการกระจายความเสี่ยงนี้หรือไม่

“สิ่งที่พบในห้องเเถลงข่าวคือ หนังสือเกี่ยวกับการจัดหาวัคซีนแอสตราเซเนกา จำนวน 63 ล้านโดส ที่ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ เพียงเเค่ 1 วัน ก่อนอภิปรายไม่ไว้วางใจ ทั้งที่ควรจะมีมาก่อนล่วงหน้า ซึ่งหากเป็นอย่างที่ตั้งข้อสังเกตุ กระทรวงสาธารณสุขควรจะมีการชี้เเจง เปิดเผยไทม์ไลน์อย่างเป็นทางการ เนื่องจากมีเนื้อหาที่กล่าวถึงกระบวนการเเละขั้นตอนในการจัดซื้อ และมีข้อสังเกตว่าเหตุที่บริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ได้รับเลือกให้ผลิต เพราะเราซื้อ 63 ล้านโดสใช่หรือไม่. “ วิโรจน์ กล่าว

ทั้งนี้ วิโรจน์ กล่าวต่อไปว่า เหตุใดประเทศไทยถึงไม่เข้าร่วมโครงการโคเเวกซ์ ขององค์การอนามัยโลก ทั้งที่ 172 ประเทศทั่วโลก เข้าร่วมโครงการดังกล่าว เเละจะได้รับวัคซีนเดือนกุมภาพันธ์ และจากการเเถลงข่าวของ สธ.ในวันนี้ก็พบว่า ยังไม่มีท่าทีที่จะเข้าร่วมในโครงการ ซึ่งตนตั้งข้อสังเกตเพื่อถามอีกครั้งว่า เหตุใดจึงไม่กระจายความเสี่ยงในการจัดหาวัคซีน เพราะความสำคัญ หากมีการกระจายความเสี่ยง ก็จะเป็นข้อยืนยันว่าเราจะได้รับวัคซีนเเน่นอน