สธ.แจงชัด ติดโควิด ทำไมบางคนได้รักษาในโรงพยาบาล บางคนอยู่โรงพยาบาลสนาม

รักษาโควิดมีเกณฑ์คัดเลือกผู้ป่วย จันคลายสงสัย สธ.แจงชัด ติดโควิด ทำไมบางคนได้รักษาในโรงพยาบาล บางคนอยู่โรงพยาบาลสนาม?

หลังจากสถานการณ์โควิดระลอกใหม่ที่ทวีความรุนแรงขึ้นทุกวัน ตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นสูงต่อเนื่อง ทำให้บางโรงพยาบาล ไม่มีเตียงเพียงพอ และมีผู้ป่วยบางรายได้อยู่โรงพยาบาลสนาม ทำให้เกิดข้อสงสัยนี้ขึ้นว่าทำไมผู้ป่วยบางราย ถึงได้รักษาในโรงพยาบาล และบางรายได้อยู่โรงพยาบาลสนาม

วันนี้ 14 เม.ย.2564 อีจันต่อสายตรงหา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เพื่อสอบถามถึงประเด็นดังกล่าว ทราบว่า โรงพยาบาล จะมีไว้สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการหนัก ต้องรักษาเร่งด่วน ส่วนโรงพยาบาลสนาม เป็นทางเลือกสำหรับผู้ติดเชื้อ

ที่อาการไม่รุนแรง หรือ ไม่มีอาการหากติดเชื้อแล้วไม่มีเตียง โรงพยาบาลจะส่งไปพักรักษาที่โรงพยาบาลในเครือโรงพยาบาลสนาม หรือ Hospital ที่มีระบบดูแล (โรงแรมที่มีการปรับเป็นกึ่งโรงพยาบาล) ทางการแพทย์และสาธารณสุขพร้อมระบบการส่งต่อหากมีอาการรุนแรง

ขณะเดียวกัน กรมควบคุมโรค ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเกณฑ์การรักษาผู้ป่วยโควิด โดยจะมีการรักษาดังนี้

1. ห้องแยกเดี่ยว (Isolation room) ห้องพักผู้ป่วย มีห้องน้ำในตัว และ มีเครื่องปรับอากาศแยก

2. หอผู้ป่วย (Cohort Ward) หอผู้ป่วยในโรงพยาบาลสำหรับผู้ป่วย COVID-19

3. ตึกผู้ป่วย (Cohort Building) ตึกผู้ป่วยที่ดูแลรักษาเฉพาะผู้ป่วย COVID-19

4. ห้องความดันลบ (AIR) สำหรับดูแลผู้ป่วย COVID-19 ที่ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด

ทั้งนี้ ข้อ 1-4 เป็น สถานที่ดูแลผู้ป่วย ในโรงพยาบาล

ส่วน ข้อ 5-6 เป็น สถานที่ดูแลผู้ป่วย นอกโรงพยาบาลได้ และเป็นสถานที่ที่ได้รับการรับรองจาก

หน่วยงานที่รับผิดชอบว่ามีมาตรการควบคุมการแพร่กระจายเชื้อสู่ภายนอกตามมาตรฐาน

5. หอผู้ป่วยเฉพาะกิจ (Hospitel) (รายละเอียดตามคำแนะนำของกรมการแพทย์)

– สถานที่ อาจเป็นโรงแรม หรือ หอพัก ที่มีความสะดวกในด้านต่าง ๆ สำหรับผู้ป่วยที่ไม่มี

อาการ หรือ มีอาการเล็กน้อย อยู่ภายใต้การดูแสรักษาของโรงพยาบาลแม่ข่ายที่รับรักษา

อาจเป็นผู้ป่วยใหม่ หรือ ผู้ป่วยที่อาการดีขึ้นแล้วย้ายมา (Step down)

– หอผู้ป่วยเฉพาะกิจ ที่รับผู้ป่วยสังเกตอาการควรลงทะเบียน และ เอกซเรย์ปอดก่อน

และควรมีผลตรวจทางห้องปฏิบัติการพื้นฐาน (CBC) based line ในการ monitor

– ติดตามผลสัญญาณชีพ และ Oxygen sat เป็นระยะ อย่างน้อย วันละ 2-3 ครั้ง

– หากมีอาการผิดปกติ แพทย์จารณาย้ายโรงพยาบาสในเครีอข่าย เพื่อการรักษาที่เหมาะสม

6. โรงพยาบาลสนาม (Field hospital)

(รายละเอียดตามคำแนะนำกรมการแพทย์ และ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ)

– อาจเป็นโรงเรียน วัด หรือ อาคารที่มีความพร้อมในด้านที่พัก ห้องน้ำ สิ่งแวดล้อม และ

การระบายอากาศที่เหมาะสม เพื่อดูแลรักษาผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ หรือ อาการเล็กน้อย

จำนวนมาก

– ไม่เหมาะสำหรับ ผู้ป่วยเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร

– การดูแลรักษา ใช้หลักการ Telemedicine & care และ ถ้ามีอาการมากขึ้นให้นำส่ง

โรงพยาบาลเครือข่ายผู้ป่วยที่มีอาการ

สถานการณ์น่าเป็นห่วงขึ้นทุกวัน การ์ดอย่าตกนะคะ จันเป็นห่วง