สูญเสียอีก 1 ชีวิตหาญกล้า อาลัยหมอเเอ้ม โควิดพรากชีวิต

เธอต่อสู้กับโควิด เพื่อคนอื่น จนเธอสู้ไม่ไหว สูญเสียอีก 1 ชีวิตหาญกล้า อาลัยหมอเเอ้ม โควิดพรากชีวิต ทั้งที่ได้ฉีดซิโนเเวคเเล้ว 2 เข็ม

ไม่มีใครอยากให้เรื่องนี้เกิด ไม่มีใครอยากสูญเสีย ไม่ว่าโรคร้ายนี้จะเกิดขึ้นกับใคร เราภาวนาในใจ ให้เขาปลอดภัยเสมอ

เเต่เหมือนฟ้าจะไม่เห็นใจ ล่าสุดเราต้องสูญเสีย ด่านหน้าไปอีก 1 คน

หลังจากเฟซบุ๊ก Anutra Chittinandana โพสต์ภาพอาลัยหมอเเอ้ม

พร้อมข้อความ ระบุว่า

วันนี้ทราบข่าวการจากไปของหมอแอ้ม นาวาอากาศเอกหญิง แพทย์หญิงสรัญยา ฬาพานิช แล้วรู้สึกใจหายมาก ๆ ได้ทำงานกับน้อง เรื่องการพัฒนาคุณภาพ รพ.กองบิน 4 ตอนสมัยที่แอ้มเป็น ผอ.รพ.กองบิน แอ้มเป็นหญิงแกร่ง อารมณ์ดี ตัดสินใจเด็ดขาด เป็นผู้นำที่ลูกน้องรัก สามารถนำทีมจน รพ.กองบิน 4 ตาคลี เป็น รพ.กองบินแห่งแรกที่ได้รับการรับรอง HA แอ้มอยู่ รพ.กองบินนานมาก เพิ่งกลับมา รพ.ภูมิพลอดุลยเดชไม่นานนี้เอง

แอ้มน่าจะเป็นบุคลากรทางการแพทย์ของ รพ.ภูมิพลอดุลยเดชคนแรกที่เสียชีวิตจากโควิด 19 แอ้มเป็นหมอรังสีรักษาแต่ก็มีความเสี่ยงกับการเป็นโควิด-19 เหมือนบุคลากรทางการแพทย์ที่ทำงานอยู่ทุกคน ขอให้น้องไปสู่สุคติในสัมปรายภพ และขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวของน้องด้วยครับ รู้สึกเลยว่าตอนนี้อันตรายของโควิด-19 ใกล้ตัวเข้ามาทุกขณะครับ

ขณะเดียวกัน หลังจากเสียชีวิตของหมอเเอ้ม น้องชายของคุณหมอ ก็ออกมาโพสต์เช่นเดียวกันว่า

เคสพี่สาวผม (นอ หญิง ดร พญ สรัญยา ฬาพานิช) เป็นเเพทย์ที่เเม้จะฉีดวัคซีนไปแล้วก็ยังติดเชื้อโควิดและเสียชีวิต

ครอบครัวเราเสียชีวิตจากโควิด ตอนนี้ สามชีวิตครับ คือคุณแม่ เมื่อ 25/7 คุณพ่อ 31/7 แล้วก็พี่สาว เมื่อวานนี้

ผมคิดว่าผมมีสิทธิที่จะพูดความรู้สึก และความต้องการที่เห็นสถานการณ์โควิด ในประเทศปัจจุบันนี้

ผมเองไม่อยากจะโทษวัคซีนใดๆว่าดีหรือไม่ดี เพราะ หลายยี่ห้อฉีดครบก็มีเสียชีวิตครับ

แต่โดยหลักทางวิชาการที่ยอมรับในหลายๆประเทศทั่วโลกนั่น ชนิด mrna หรือ subunit protien น่าจะเป็นคำตอบที่ดีในเบื้องต้นนี้ครับ

และเเม้ว่าวัคซีนที่น่าจะครอบคลุมทุกเชื้อน่าจะเป็นล็อตของปีหน้า แต่เรารอเเบบนั้นไม่ได้นะครับ เราต้องมีวัคซีนที่มาตรฐานจำนวนมากกว่าที่มีตอนนี้ครับ

ปัญหาของเราคือ “กฎที่ออกว่า ใครจะซื้อต้องผ่านหน่วยงานรัฐ”

ผมเองไม่มั่นใจในเรื่องกฎหมายเท่าไรนัก

แต่ผมคิดว่า ถ้าเราสามารถออกกฎแบบที่ ราชกิจจาฯ ที่ให้ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์นำเข้าได้ ก็น่าจะออกให้บรรดา โรงพยาบาลเอกชน หรือ องค์กรเอกชน สามารถนำเข้าได้

ถ้าไม่เชื่อใจโรงพยาบาลเอกชนที่ใด ก็ผ่านตัวสมาคมโรงพยาบาลเอกชน ก็น่าจะเป็นสมาคมใหญ่ในระดับที่น่าเชื่อถือได้นะครับ

การนำเข้าวัคซีนที่ยอมรับ ในต่างประเทศมามากที่สุด เท่าที่ทำได้ ในทุกๆทาง โดยไม่ต้องอาศัยกฎเกณฑ์ ผ่านหน่วยงานรัฐ

น่าจะอนุโลมให้ใช้ในสถานการณ์ ที่คนไทยได้ฉีดวัคซีนเพียง 25% (นี่คือรวมเชื้อตายและ mrna) ของประชากร

เพราะวัคซีนยิ่งเยอะ (โดยเฉพาะพวก mrna และ Subunit Protein) มันก็จะยิ่งดีไม่ใช่หรือครับ

มันน่าจะถึงเวลาที่เราควรแก้บางกฎ เพื่อให้คนไทยได้วัคซีน “ที่มาตรฐาน” ที่จะพอป้องกันตัวเองได้ อย่างน้อย เราก็พอมองเห็นทางสว่างข้างหน้าครับ

ผมเชื่อว่า ถ้าออกกฎที่แก้ได้ จะมีบริษัท หรือ โรงพยาบาลมากมาย หรือแม้แต่หน่วยงานใดๆ ที่จะยินดีติดต่อเอง และเราจะผ่านวิกฤตนี้ไปได้ อย่างรวดเร็ว

เพราะเราเสียเวลามามากเกินไปแล้วครับ กับคำว่ารอ วัคซีนที่มาตรฐาน ครับ

เปิดโอกาสให้องค์กรต่างๆ นำเข้าวัคซีนเองเถอะครับ มีมากดีกว่ามีไม่พอนะครับ

นายแพทย์สิทธิพงศ์ ฬาพานิช (หมอเตี๋ยว)

ข้อความนี้สะท้อนเเละบาดลึกในหัวใจ ไม่อยากให้ใครต้องสูญเสียอีก อีจันขอเเสดงความเสียใจกับครอบครัวหมอเเอ้มด้วยนะคะ