“หมอยง” ระบุ ต้อง พัฒนา ชุดตรวจ โอไมครอน ให้ได้อย่าง รวดเร็ว

“หมอยง” โพสต์ข้อความ ระบุ ต้อง พัฒนา ชุดตรวจ โอไมครอน ให้ได้อย่าง รวดเร็ว แนะ เพิ่มงบประมาณ ในการ วิจัย

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ใจความว่า ปัจจัยสำคัญในการควบคุมโรค covid-19 สายพันธุ์โอไมครอน ในบ้านเรา จะต้องทำได้อย่างรวดเร็ว การตรวจวินิจฉัยจึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนา ให้ได้อย่างรวดเร็ว ในต่างประเทศ ชุดตรวจที่มีการตรวจยีน S หรือ ยีนหนามแหลมสไปท์ ร่วมกับการตรวจยืนอื่น และถ้าให้ผลบวกต่อยีนอื่น โดยให้ผลลบต่อยีนหนามแหลมสไปท์ ที่มีการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมค่อนข้างมาก จะเข้าข่ายสงสัยไว้ก่อนทันที

แต่สำหรับประเทศไทยชุดตรวจส่วนใหญ่ RT-PCR จะเป็นชุดตรวจหายีน N, ยีน E, และยีน orf1ab หรือ RdRp ดังนั้น จึงใช้วิธีที่กล่าวไม่ได้ ขณะนี้ทางศูนย์ได้พัฒนาตัวจับจำเพาะ (probe) ตัวจับจำเพาะ ต่อสายพันธุ์ โอไมครอน เพื่อการวินิจฉัยให้ได้รวดเร็วที่สุด ที่ผ่านมาก็มี probe ต่อสายพันธุ์แอลฟา สายพันธุ์เดลต้าอยู่แล้ว สามารถทำพร้อมกันได้เป็นจำนวนมาก และใช้เวลาเท่ากับการทำ RT-PCR ธรรมดา คือประมาณ 4 ชั่วโมง ก็สามารถที่จะบอกหรือคาดเดาว่า เป็นสายพันธุ์ โอไมครอน ได้ การตรวจยืนยันจำเป็นที่จะต้องใช้วิธีถอดรหัสพันธุกรรม โดยเฉพาะในรายที่สงสัยจากการตรวจคัดกรองดังกล่าว ให้ได้อย่างรวดเร็ว

ทั้งนี้ กลุ่มผู้ป่วยที่ต้องสงสัย และจำเป็นต้องตรวจหาสายพันธุ์ โอไมครอน คือกลุ่มผู้ป่วยที่เดินทางมาจากต่างประเทศทุกคน ผู้ฉีดวัคซีนครบแล้วติดเชื้อ ผู้ที่เคยป่วยแล้วติดเชื้อซ้ำ ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง หรือการระบาดในคลัสเตอร์ ควรสุ่มตัวอย่างในคลัสเตอร์มาตรวจทุก ๆ คลัสเตอร์ อย่างไรก็ตาม การถอดรหัสพันธุกรรมสำหรับประเทศไทย จะต้องทำเพิ่มขึ้น และมีการสุ่มหลากหลายในประชากร งบประมาณในส่วนนี้ จำเป็นจะต้องใช้เพิ่มขึ้น เพื่อการเฝ้าระวังและควบคุมการระบาดในประเทศไทย และมีความจำเป็นที่ต้องทำอย่างรวดเร็วด้วย

คลิปอีจันแนะนำ
นึกว่า “งู” ดูๆ เป็น “ปลาไหล”