หมอยง เผยทางออกที่ดี คือ ฉีดวัคซีนสลับ

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ แถลงประเด็น การฉีดวัคซีนสลับชนิด น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด ของไทยตอนนี้ ไวรัสคงไม่รู้ว่า วัคซีนที่ฉีดไปยี่ห้ออะไร

(13 ก.ค.64) กระทรวงสาธารณสุข ได้แถลงประเด็นเรื่อง การให้วัคซีนโควิด 19 สลับชนิด โดย ศาสตราจารย์นายแพทย์ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยว่า

การฉีดสลับชนิด เข็มแรกซิโนแวค เข็มที่ 2 แอสตร้าเซเนก้า เหมาะสมมากที่สุดในสถานการณ์ประเทศไทยตอนนี้ ซึ่งเป็นการฉีดเนื้อตายเข้าไปก่อน หลังจากนั้น 4 สัปดาห์ ให้ทำการฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 เข้าไป จะทำให้มีการกระตุ้นภูมิต้านทานรวดเร็ว แต่การฉีดวัคซีน แอสตร้าเซเนก้า 2 เข็ม จะต้องใช้เวลานาน การฉีดสลับชนิดจะใช้เวลาในการรับวัคซีนเร็วขึ้น ภายใน 6 สัปดาห์ และป้องกันการกลายพันธุ์ได้ดี

“เรารอเวลาถึง 12 สัปดาห์ไม่ได้ การฉีดสลับเข็มใช้เวลา 6 สัปดาห์ น่าจะเป็นประโยชน์สูงสุด”

หลังจากนั้น นพ.ยง ได้ตอบคำถามสื่อมวล หลังมีคำถามว่า

มีข้อมูลทางวิชาการฉีดวัคซีนสลับกัน มีข้อน่ากังวลหรืออะไรบ้าง ?

นพ.ยง เผยว่า “ปกติทุกสิ่งทุกอย่างถ้าเป็นของใหม่ก็อยากจะให้ทำตามคำแนะนำ ผมยกตัวอย่างวัคซีนในเด็กเกือบทุกชนิดเลย ไม่ว่าจะเป็นไข้สมองอักเสบ หรือ ท้องเสีย เมื่อผลิตออกมาใหม่ๆบริษัทจะบอกว่า การใช้จะต้องไม่ข้ามกัน หมายถึงเข็มที่ 1,2 และ 3 จะต้องใช้ยี่ห้อเดียวกัน ต่อมาแม้กระทั่งวัคซีนท้องเสีย บาดทะยัก เคยถามไหมว่าลูกฉีดยี่ห้ออะไร ปีนี้ประมูลได้ยี่ห้ออะไร

ไวรัสหรือแบคทีเรียต่างๆ มันคงไม่รู้หรอกว่า วัคซีนที่ฉีดไปยี่ห้ออะไร

ในทำนองเดียวกัน โควิดวัคซีนเมื่อผลิตขึ้นมาใหม่ๆ และมีต่างแพลตฟอร์ม ทุกส่วนก็ต้องบอกว่าให้ใช้ตามการศึกษาที่ผ่านมา การใช้สลับกันต้องมีการศึกษานำมาก่อน เราจะเห็นได้ชัดอันหนึ่งก็คือว่า การใช้ MRNA วัคซีน สลับกับไวรัสเวกเตอร์ เริ่มในอังกฤษ โดยเฉาะช่วงที่มีวัคซีนขาดแคลน เลเวหลังจากนั้นจึงได้มีการศึกษากันขึ้นมา การศึกษานี้ก็ได้สิ้นสุดไปแล้ว

ในบ้านเราถึงแม้จะบอกว่า ไม่ควรสลับวัคซีนกันนะ แต่ก็ยังมีการสลับวัคซีนในชีวิตจริง อาจจะด้วยเหตุผลอันใดไม่ทราบ ส่วนในรายละเอียดของการศึกษาในทางคลินิก กำลังจะออกมาภายในสิ้นปีนี้ จะมีการบันทึกทุกวันว่ามีอาการข้างเคียงหรือไม่ภายในสิ้นเดือนนี้”