โรงพยาบาลรามาธิบดี ถอดรหัสพันธุกรรม พบ โอมิครอน สูญพันธุ์ในไทย!

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ เผย โรงพยาบาลรามาธิบดี ถอดรหัสพันธุกรรม พบโอมิครอน สายพันธุ์ย่อย สูญพันธุ์แล้วในไทย!

โรงพยาบาลรามาธิบดี เผยทำการทดลองสุ่มถอดรหัสพันธุกรรม พบว่า โควิด สายพันธุ์ โอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.1 สูญพันธุ์ไปแล้วในไทย!

เมื่อวานนี้ (4 พ.ค. 65) เพจเฟซบุ๊ก ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ (Center for Medical Genomics) ได้ออกมาเผยถึงรายงาน ผลการทดลอง โควิดสายพันธุ์โอมิครอน ในห้องปฏิบัติการสายพันธุ์ย่อย (new sub-variant) สามารถติดต่อระหว่างคนสู่คนได้อย่างรวดเร็ว มักจะมีอาการรุนแรงน้อยกว่าโอมิครอนสายพันธุ์ดั้งเดิม

ศาสตราจารย์จูลี่ สวอนน์ (Julie Swann) มหาวิทยาลัยรัฐนอร์ทแคโรไลนา ที่ปรึกษาของ U.S. CDC เกี่ยวกับโรคระบาด ระบุว่า ระดับความเสี่ยงของบุคคลที่จะติดเชื้อซ้ำอาจขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น อายุ ภาวะสุขภาพพื้นฐาน และช่วงเวลาการฉีดวัคซีนครั้งล่าสุด หรือการติดเชื้อครั้งล่าสุด หากอยู่ในวัย 60 ปี ได้รับวัคซีนกระตุ้นเมื่อ 4-6 เดือนก่อน อาจมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อซ้ำได้ด้วยโอไมครอนสายพันธุ์ย่อยตัวใหม่ และอาจมีอาการรุนแรง (severe)ได้

แต่…ตรงข้ามกัน หากคนวัย 60 ที่เพิ่งติดเชื้อก่อนหน้า หรือได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นภายในเวลา 3-4 เดือน หากติดเชื้อโควิด โอมิครอนสายพันธุ์ย่อย ที่เพิ่งเกิดขึ้นมา (new sub-variant) จะมีอาการไม่รุนแรง (mild)

ส่วน ศาสตราจารย์อเล็กซ์ ซิกัล (Alex Sigal) นักไวรัสวิทยา ที่ สถาบันวิจัยสุขภาพแอฟริกา ในประเทศแอฟริกาใต้ ระบุว่า ผู้ที่เคยฉีดวัคซีน หรือ ติดเชื้อโควิด สายพันธุ์โอมิครอนดั้งเดิมมาก่อนอาจมีภูมิคุ้มกันที่มากกว่า (broader) ที่สามารถต่อสู้กับโอมิครอนสายพันธุ์ย่อยที่เพิ่งเกิดขึ้นมาได้

ส่วนในประเทศไทยนั้น ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ (Center for Medical Genomics) ได้ออกมาเผยว่า โรงพยาบาลรามาธิบดี ร่วมกับสถาบันการแพทย์ทั่วประเทศ ได้ทำการทดลองสุ่มถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมของโควิด พบว่า BA.1 สูญพันธุ์ไปแล้ว ในขณะที่จำนวนผู้ติดเชื้อ BA.2 รายใหม่ลดลงอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ ยังไม่พบโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.4, BA.5 และ BA.2.12.1 ระบาดในประเทศ

ขอบคุณข้อมูลจากเพจ FB: ศูนย์จีโนมทางการแพทย์

คลิปอีจันแนะนำ
คลิปหลักฐาน คดีแตงโม สู่บทสรุป แตงโมจมน้ำเสียชีวิต