LAAB ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป ที่ต่างจากวัคซีนโควิด เสริมภูมิคุ้มกันโดยตรง

ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป LAAB คืออะไร? ช่วย เสริมภูมิคุ้มกัน โควิด ได้อย่างไร? จันจะพาไปทำความรู้จัก

จากสถานการณ์ โควิด19 ที่แพร่กระจ่ายไปอย่างทั่วถึงส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง ทางกระทรวงสาธารณสุข เองก็มีนโยบายในการฉีดวันซีนป้องกันโรคโควิด19 เพื่อลดความรุนแรงของการเจ็บป่วยและเสียชีวิต จากการติดเชื้อ แต่ยังมีประชากรบางกลุ่มที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำหรือได้รับวัคซีน แต่ไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้สูงเพียงพอต่อการป้องกันโรค ได้แก่ กลุ่มภูมิคุ้มกันบกพร่อง กลุ่มผู้ป่วยฟอกไต กลุ่มผู้ป่วยโรคมะเร็ง เป็นต้น จึงได้มีการพัฒนาแอนติบอดีออกฤทธิ์ยาว (Long Acting Antibodies; LAAB) เพื่อใช้สร้างภูมิคุ้มกัน ในประชากรดังกล่าว

ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงสาธารณสุขเอง ก็ได้มีการนำ LAAB ไปใช้กับผู้ป่วยแล้ว และได้ผลดีมาก

สธ. เผยผู้ป่วยอายุ 105 ปี หายโควิด หลังรับ ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป

แต่ก็ยังมีอีกหลายคนที่ยังไม่รู้จักว่า LAAB นั้นคืออะไร

LAAB (Long Acting Antibodies)

Laab คือแอนติบอดีออกฤทธิ์ยาว ที่ประกอบด้วยแอนติบอดีสองชนิด ได้แก่ Tixagevimab และ Cilgavimab พัฒนามาจากบีเซลล์ของผู้ที่เคยติดเชื้อไวรัสโควิด 19 และพัฒนาเพิ่มเติมเพื่อขยายระยะเวลาครึ่งชีวิต ให้ยาวนานกว่าแอนติบอดีทั่วไปอย่างน้อย 3 เท่า โดยมีหลักฐานยืนยันว่า สามารถออกฤทธิ์ลบล้างเชื้อโควิด 19 ได้ทั้งต่อสายพันธุ์ดั้งเดิม และสายพันธุ์กลายพันธุ์ต่างๆ

จากข้อมูลการศึกษาระยะที่สามในต่างประเทศพบว่า LAAB มีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด แบบมีอาการ ในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง หรือผู้ที่อาจมีการตอบสนองต่อวัคซีนได้ไม่เพียงพอ เนื่องจากภาวะหรือโรคร่วมต่างๆ เช่น ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือการได้รับยากดภูมิคุ้มกัน

โดยสามารถป้องกันการติดเชื้อโควิดแบบมีอาการได้ ร้อยละ 77 หลังจากได้ยาหนึ่งโดสไปแล้ว 3 เดือน และร้อยละ 83 หลังจากได้ยาแล้ว 6 เดือน โดยพบรายงานอาการไม่พึงประสงค์จากการศึกษาระยะที่สามเพียงเล็กน้อย อาการที่พบบ่อยที่สุดคือมีปฏิกิริยาบริเวณที่ฉีด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นระดับน้อยถึงปานกลาง

LAAB ได้รับการขึ้นทะเบียนตำรับยาในสหภาพยุโรป เพื่อใช้สำหรับป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 และได้รับการขึ้นทะเบียนให้นำมาใช้ในภาวะฉุกเฉินในประเทศสหรัฐอเมริกา และหลายประเทศทั่วโลก สำหรับประเทศไทย โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้อนุมัติขึ้นทะเบียนยาภายใต้การอนุญาตแบบมีเงื่อนไขในสถานการณ์ฉุกเฉิน เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2565 สำหรับใช้เพื่อการป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในกลุ่มผู้ใหญ่และวัยรุ่นที่มีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป และมีน้ำหนักตัวมากกว่า 40กิโลกรัม ทั้งผู้ที่เคยได้รับวัคซีนและไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน

ขนาดต่อโดส : 300 มก. (Tixagevimab 150 มก. และ Cilgavimab 150 มก.) ใน 1 กล่อง บรรจุขวดแก้ว 2 ขวด

ซึ่งประกอบด้วย

• ขวดฝาสีเทาเข้ม: บรรจุยา Tixagevimab ขนาด 150 มก. ในปริมาตร 1.5 มล. (100 มก./1 มล.)

• ขวดฝาสีขาว: บรรจุยา Cilgavimab ขนาด 150 มก. ในปริมาตร 1.5 มล. (100 มก./1 มล.)

อายุที่สามารถให้ได้ : ผู้ที่มีอายุมากกว่า 12 ปีขึ้นไป และมีน้ำหนักตัวมากกว่า 40 กิโลกรัม

โดยให้พิจารณาฉีดให้กับผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิด 19 ครบตามเกณฑ์ (3 เข็ม)

กำหนดการให้ Long Acting Antibody (LAAB)

กำหนดให้ LAAB จำนวน 1 ครั้ง ครั้งละ 2 เข็ม โดยใช้เข็มขนาด 23 – 25G ความยาว 1 – 1.5 นิ้ว

แนะนำให้แยกฉีด Tixagevimab และ Cilgavimab เข้ากล้ามเนื้อบริเวณสะโพก (Gluteal muscle) ชนิดละข้าง ข้างละ 1.5 มล.

ให้เฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์หลังการฉีดเป็นเวลาอย่างน้อย 30 นาที

ผลข้างเคียงยาผลข้างเคียงยา

1. ปฏิกิริยาภูมิไวเกิน รวมถึงอาการแพ้อย่างรุนแรง (Anaphylaxis) แต่พบไม่บ่อย

2. อาการผิดปกติบริเวณที่ฉีดยา บวม แดง ปวด

3. มีผื่น หรือ ลมพิษหลังฉีดยาซึ่งมาจากการที่มีภูมิไวเกิน

4. ไม่ควรใช้ในสตรีตั้งครรภ์ หรือ สตรีให้นมบุตร

ขอบคุณข้อมูลจาก www.chulabhornchannel.com

คลิปแนะนำอีจัน
ดร.พิมพ์ขวัญ นางงามมีผัวแล้ว 2022 Mrs.Thailand World