หมอธีระ เตือนโควิด ล้ำเกินยาต้าน ลุ้นติดซ้ำ Long COVID ก็เสี่ยง

หมอธีระ โพสต์เฟซบุ๊ก เปิดยอดติด-ตายโควิดท็อปโลก ทะลุยาต้านไวรัส ติดซ้ำได้ Long COVID ก็เสี่ยง

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ถือเป็นวิกฤตด้านสุขภาพครั้งใหญ่ ที่มีการระบาดในวงกว้าง และลุกลามไปทั่วทุกภูมิภาคของโลก 

แม้จะถูกประกาศให้เป็นโรคประจำถิ่นแล้วตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.65 และปรับให้เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง แต่ดูเหมือนสถานการณ์การระบาดกลับน่าเป็นห่วงมาขึ้น

โควิดทั่วโลกทะลุ 681 ล้านคน หายก็ไม่ชิล ยังมี ‘ลองโควิด’ ตามเป็นเงา

โดย รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ หรือ ‘หมอธีระ’ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า 

เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 72,460 คน ตายเพิ่ม 273 คน รวมแล้วติดไป 681,844,024 คน เสียชีวิตรวม 6,813,727 คน

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ รัสเซีย เกาหลีใต้ ไต้หวัน ญี่ปุ่น และฝรั่งเศส

เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 8 ใน 10 อันดับแรก และ 17 ใน 20 อันดับแรกของโลก

จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 84.85 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 85.34

  • อัพเดตความรู้โควิด-19

1.อัตราการเกิดไวรัสกลับซ้ำ (viral rebound) ราว 6-8%

ข้อมูลจากเอกสารประกอบการประชุมของ Antimicrobial Drugs Advisory Committee Meeting เมื่อ 16 มีนาคม 2023 (วันนี้) 

หลังจากติดเชื้อโควิด-19 มาแล้ว พบว่า มีการเกิดไวรัสกลับซ้ำ (viral rebound) ได้ทั้งในกลุ่มที่ได้ยาต้านไวรัส และที่ไม่ได้ยาต้านไวรัส

ทั้งนี้ เฉลี่ยแล้วจะเกิดได้ราว 6-8% การป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอ เป็นกิจวัตร จึงมีความจำเป็น

2.Long COVID

  • ติดเชื้อซ้ำยังคงมีความเสี่ยงต่อ Long COVID

ข้อมูลจาก UK ชี้ให้เห็นว่า การติดเชื้อมาก่อนนั้นลดเสี่ยงต่อ Long COVID ได้ราว 40% แต่ที่ทำให้ทราบชัดเจนคือ การติดเชื้อซ้ำนั้นยังคงมีความเสี่ยงต่อ Long COVID แน่นอน

  • Metformin และ Paxlovid ลดเสี่ยง Long COVID

งานวิจัยรูปแบบ RCT เมื่อไม่กี่สัปดาห์ก่อนพิสูจน์ให้เห็นว่ายา Metformin ลดเสี่ยงได้ราว 42% แต่จะลดได้ถึง 63% หากเริ่มภายใน 4 วันหลังมีอาการ

หากมีการใช้ยานี้ 100 คน จะลดคนป่วย Long COVID หลังจากติดเชื้อ 9 เดือน ได้ราว 4 คน

ส่วน Paxlovid ลดเสี่ยงได้ราว 26% ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มที่ได้รับ หรือไม่ได้รับวัคซีนมาก่อน หรือเคยมีประวัติติดเชื้อมาก่อน

  • ในกลุ่มผู้ป่วย Long COVID มีราว 25% ที่จะยังคงมีอาการคงค้างและกระทบต่อสมรรถนะการดำรงชีวิตประจำวัน ณ 7 เดือน

สำหรับไทยเรา ควรป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอ ใช้ชีวิตอย่างมีสติ ไม่ประมาท การระบายอากาศ และการใส่หน้ากาก เป็นหัวใจสำคัญยิ่ง

คลิปอีจันแนะนำ
27 ชั่วโมงคลั่ง! โคตรทรหดเจรจาสยบ สารวัตรคลั่ง