ไชน่าทาวน์ใหม่ แหล่งธุรกิจทำเลทองของนายทุนชาวจีนที่กำลังถูกจับตา

“ New Chinatown ” ไชน่าทาวน์แห่งใหม่ แหล่งเศรษฐกิจที่กำลังมาแรง บนทำเลทองยุคใหม่ ศูนย์กลางชาวจีนที่รุกเข้ามาสร้างธุรกิจให้เติบโตจนเป็นที่น่าจับตา

หลังจากสถานการ์โควิด-19 เริ่มสงบลงประเทศไทยเริ่มเปิดประเทศ ฝากฝั่งจีนก็เริ่มเปิดประเทศ ทำให้คนจีนรุ่นใหม่หลายคน เริ่มกระจายออกมาทำธุรกิจที่ต่างประเทศมุ่งพัฒนาด้านเศรษฐกิจขึ้นมาอย่างก้าวกระโดด สร้างรูปแบบทุนนิยมเป็นวงกว้าง แทรกตัวเข้ายึดพื้นที่ทำมาหากินในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทยแต่เดิมก็จะรู้กันดีว่าย่านขึ้นเชื่อที่เหลาคนจีนและครอบครัวคนไทยเชื้อสายจีนรวมตัวกันนั้นคือย่านเยาวราช แต่ทุกวันนี้ไม่ได้เป็นเช่นนั้นอีกต่อไปแล้ว ยังมีย่านทำเลทองที่ชาวจีนหมายตาอยู่อีกแห่ง

ซึ่งย่านเศรษฐกิจใหม่ที่มีการเติบโตอย่างเห็นได้ชัดและต่อเนื่องนั้นคือพื้นที่ห้วยขวาง หากได้เดินไปในย่านห้วยขวาง โดยเฉพาะเส้นประชาราษฎร์บำเพ็ญ เราจะพบเห็นชาวจีนจำนวนมาก ตั้งตัวอยู่กันเป็นชุมชน เปิดร้านค้าขายของใหญ่น้อยทั้งร้านอาหาร ร้านขายยา และข้าวของเครื่องใช้ แต่คนเหล่านี้ไม่เหมือนกับชาวจีนเยาวราชดั้งเดิม จีนใหม่เหล่านี้เข้ามาสร้างไชน่าทาวน์ใหม่ ทำธุรกิจในรูปแบบของตัวเอง น้อยคนที่จะพูดภาษาไทย แต่กลายเป็นว่าสื่อสารกันด้วยภาษาจีนกลางและอังกฤษ

เป็นเรื่องที่น่าสนใจว่า จีนใหม่เหล่านี้ เข้ามาในไทยด้วยวิธีการใด ผิดหรือถูกกฎหมายแค่ไหน เข้ามาทำธุรกิจอะไร และไทยจะได้รับผลประโยชน์หรือผลกระทบรูปแบบใดบ้าง งานวิจัยเรื่อง ‘การตั้งถิ่นฐานของชาวจีนรุ่นใหม่ : กรณีศึกษาชุมชนจีนแห่งใหม่’ (2558) ซึ่งมี ดร.ชาดา เตรียมวิทยา เป็นหัวหน้าทีมวิจัย ระบุว่าในช่วงนั้น มีจีนใหม่ในกรุงเทพฯ ประมาณ 70,000 คน

ชาวจีนที่เข้ามาอาศัยในย่านนั้นส่วนมากเป็นชาวจีนรุ่นใหม่ที่เกิดหลังปี 1980 กว่า 70% ของชาวจีนที่เข้ามานั้นมีการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่า  ซึ่งชาวจีนประเภทนี้มักมีหัวในด้านการทำธุรกิจจึงทำให้การเข้ามาของชาวจีน ส่งผลให้เศรษฐกิจในย่านนี้ถูกพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว มีเม็ดเงินเข้ามาหมุนเวียนมากขึ้น จำนวนประชากรในเส้น ถ.ประชาราษฎร์บำเพ็ญ นั้นมีชาวไทยอาศัยอยู่ประมาณ 24,000 คน และมีชาวจีนประมาณ 7,000 คน เทียบเป็นสัดส่วนจะสรุปคร่าวๆได้ว่าในหากเราเดินใน ถ.ประชาราษฎ์บำเพ็ญนี้ถ้าเจอชาวไทย 3 คนจะเจอชาวจีน 1 คนนั่นเอง

สำหรับบรรยากาศ ถ.ประชาราษฎร์บำเพ็ญในย่ามค่ำคืน เต็มไปด้วยแสงสีจากป้ายไฟร้านค้าและร้านอาหารไทย-จีน อีกทั้งกระแสหม้อไฟหม่าล่าอาหารยอดนิยมของคนจีนเป็นที่นิยมในหมู่วัยรุ่นไทยยิ่งชวนดึงดูดชาวไทยจำนวนมากให้ไปเยือน ถึงแม้ว่าเป็นย่านคนจีนเช่นเดียวกับเยาวราช แต่ที่นี่จะไม่ได้วุ่นวายเท่าเยาวราช ภายในซอยย่อยจะเป็นบ้านพักอาศัยและอพาร์ทเม้นท์ ที่ค่อนข้างเงียบสงบต่างจากตัวถนนเส้นหลัก

การรวมตัวของชาวจีนบน ถ.ประชาราษฎร์บำเพ็ญ

ถนนประชาราษฎร์บำเพ็ญ ชื่อนี้พูดขึ้นมาหลายคนอาจนึกไม่ออกแต่ถ้าบอกย่านห้วยขว้าง คงมีอ้อกันบ้าง โดยถ.ประชาราษฎร์บำเพ็ญนั้นเป็นถนนเส้นที่เชื่อมต่อมาจากบริเวณสี่แยกลาดพร้าว ตัวถนนมีความยาวประมาณ 700 ม.ซึ่งปัจจุบันใครได้เพ้อหลงเข้าไปอาจหลงคิดได้ว่า “เราหลงมาเยาวราชรึเปล่า” เนื่องจากร้านค้า, ร้านอาหาร รวมไปถึงป้ายไฟตามอาคารต่างๆที่เต็มไปด้วยภาษาจีน กระทั่งผู้คนที่เดินอยู่ตามท้องถนนที่พูดคุยภาษาจีนกันไม่ขาดปาก ทำให้ ถ.ประชาราษฎร์บำเพ็ญ ถูกขนานนามว่าเป็น “The New China Town” ของกรุงเทพมหานคร การที่ ถ.ประชาราษฎร์บำเพ็ญ กลายมาเป็น China Town แห่งใหม่นั้นมีที่มาจาก ในช่วง 3-4 ปี ที่ผ่านมาย่านนี้ก็พบกับวิกฤตโควิดไม่แตกต่างจากที่อื่น ด้วยความซบเซาของเศรษฐกิจทำให้ห้างร้านธุรกิจต่างพากันปิดตัว ตึกอาคารพาณิชย์ต่างพากันประกาศขายและปล่อยเช่าเป็นจำนวนมาก

ทำไมย่านห้วยขวางจึง ตกเป็นเป้าหมายที่น่าสนใจ


พื้นที่ห้วยขวางเป็นย่านที่มีแนวโน้มจะเป็น  Central Business District ( CBD ) แห่งใหม่ของกรุงเทพฯ มีห้างสรรพสินค้า, อาคารสำนักงานต่างๆ, คอนโดมิเนียม, โรงแรม เกิดขึ้นมาให้อย่างต่อเนื่อง มีศักยภาพในการลงทุนอสังหาฯสูง Rental Yield 5-7 % จากการเจริญเติบโตทางพื้นที่และเศรษฐกิจดังข้างต้นที่กล่าวไป ทำให้ย่านห้วยขวางเป็นพื้นที่ที่มีคนต้องการเข้ามาอยู่อาศัย ทั้งด้วยปัจจัยด้านความสะดวก หรือปัจจัยด้านการงานต่างๆ นอกเหนือจากที่มีชาวไทยต้องการมาอยู่ในย่านนี้แล้ว ยังมีชาวจีนที่เข้ามาหาที่อยู่อาศัยในย่านนี้มากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นจึงส่งผลให้การลงทุนด้านอสังหาฯในย่านนี้มีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก

ด้านการเดินทาง อยู่ในเส้นรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินที่เชื่อมกรุงเทพฯชั้นใน รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินนั้นในปัจจุบันเป็นเส้นที่สามารถเชื่อมต่อไปยังพื้นที่ชั้นในของกรุงเทพฯ นอกเหนือจากนี้ยังมีแผนพัฒนาส่วนต่อขยายเชื่อมให้ MRT สายสีน้ำเงินนี้สามารถเดินทางแบบเป็น Loop ในพื้นที่กรุงเทพฯชั้นใน

ซ้ำยังมีแหล่งรวมร้านอาหาร, สถานที่เที่ยวและไลฟ์สไตล์มากมาย อาหารจีนฉบับต้นตำหรับนั้นเป็นอีกจุดเด่นของย่านนี้ แต่นอกเหนือจากร้านอาหารจีนที่ ห้วยขวางยังมีที่เที่ยวอีกเยอะมาก อาทิ Central พระราม 9, Esplanade, The Street รัชดา หรือจะเป็น ตลาดนัดรถไฟ รัชดา เลยไม่แปลกใจเลยที่ ย่านที่เพียบพร้อมทั้งระบบสาธารณูปโภคและอุปโภคแบบนี้ถึงได้กลายมาเป็นทำเลทองให้นักธุรกิจต่างชาติแห่มารวมอยู่ในย่านนี้

โดยชาวจีนส่วนใหญ่มักนิยมเช่าคอนโดย่านห้วยขวางอยู่อาศัยแบบชั่วคราว มีบริษัทเอเจนซี่เป็นนายหน้าซื้อขายและปล่อยเช่า ราคาค่าเช่าเริ่มต้นตั้งแต่ 10,000-12,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป ส่วนการเติบโตด้านอสังหาริมทรัพย์ประเภทอาคารพาณิชย์ด้วยเช่นกัน เนื่องจากถูกใช้เปิดเป็นสถานประกอบธุรกิจการค้าที่สำคัญ แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นตึกอาคารพาณิชย์เก่าที่เจ้าของเป็นคนไทยแต่เดิมมาแล้วนำมาปล่อยเช่าให้เจ้าของธุรกิจชาวจีนเปิดกิจการ โดยเรียกเก็บค่าเช่ารายเดือน มีการเปลี่ยนมือซื้อขายและเซ้งเช่าอยู่เรื่อยๆ สำหรับการพัฒนาอาคารพาณิชย์โครงการใหม่นั้นยังมีข้อจำกัดด้านที่ดินที่เหลือน้อย ทำให้ไม่สามารถพัฒนาเพิ่มเติมในบริเวณศูนย์กลางการค้าที่มีอาคารพาณิชย์เดิมอยู่อย่างหนาแน่น

สุดท้ายอาจมีคำถามว่า ไทยได้อะไรจากเรื่องนี้ในแง่เชิงเศรษฐกิจนั้นก็คงทำให้ดูคึกคักมีชีวิตชีวาขึ้นมาในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำนี้ ทำให้ผู้คนเริ่มหลั่งไหลมาจับจ่ายใช้สอยและย่านนี้ก็เริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น แต่ถ้ามองลงไปลึกๆคำว่า”จับจ่าย” ไม่รู้ว่าเป็นแค่การจ่ายออกไปอย่างเดียวหรือไม่เพราะผู้ประกอบการส่วนใหญ่ก็เป็นชาวจีนทั้งนั้น เงินแต่ละบาทที่ไหลลงไปในย่านธุรกิจแห่งนี้จะไหลไปต่อทางไหน คงเป็นคำถามที่ต้องหาคำตอบต่อไป ?  


ขอบคุณข้อมูล realist , the101.world , รายงาน “การตั้งถิ่นฐานของชาวจีนรุ่นใหม่ : กรณีศึกษาชุมชนจีนแห่งใหม่”โดย ชาดา เตรียมวิทยาและคณะ กันยายน 2559 , DDproperty

***************

คลิปอีจันแนะนำ
ครูกินค้างคาว ขอโทษจากใจ ที่ขาดสติ