อบต.ราชาเทวะ โดนจับตา เสาไฟฟ้ากินรี เป็นเหตุ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน เร่งตรวจสอบ หวั่นซ้ำรอยเก่า

อบต.ราชาเทวะ โดนจับตา เสาไฟฟ้ากินรี เป็นเหตุ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน เร่งตรวจสอบ หวั่นซ้ำรอยเก่า ลามเช็ก ประติมากรรมเสาไฟฟ้า ทั่วประเทศ

สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน เผยความคืบหน้าการติดตามผลการตรวจสอบ กรณี การจัดซื้อเสาไฟฟ้าแสงสว่าง พร้อมรูปประติมากรรม ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทั่วประเทศ

โดย นายประจักษ์ บุญยัง ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เปิดเผยว่า

ว่า เกี่ยวกับภารกิจตรวจสอบการใช้จ่ายงบเงินประมาณภาครัฐในการจัดทำโครงการจัดซื้อเสาไฟฟ้แสงสว่าง พร้อมรูปประติมากรรม ของ อปท.หลายแห่งที่ปรากฏข่าวทางสื่อมวลชนอยู่ในขณะนี้นั้น

ในข้อเท็จจริง สตง. เริ่มตรวจสอบและพบข้อสังเกตรวมถึงปัญหาการดำเนินงานโครงการ ลักษณะนี้ มาตั้งแต่

ช่วงปี 2555

ในการดำเนินงานโครงการติดตั้งเสาไฟฟ้าสาธารณะประติมากรรมรูปสิงห์ พร้อมอุปกรณ์ระบบไฟฟ้า

ขององค์การบริหารส่วนตำบลแห่งหนึ่งในจังหวัดสิงห์บุรี ที่ใช้งบประมาณ กว่า 722,595 บาท ในการจัดทำเสาไฟฟ้า

รูปสิงห์ จำนวน 13 ต้น เฉลี่ยต้นละประมาณ 5.5 หมื่นบาทต่อตัน

ซึ่งสูงกว่าเสาไฟฟ้าทั่วไปประมาณต้นละ 1.5 หมื่นบาท

นอกจากนั้น ยังพบว่าใช้งานได้เพียงบางส่วนเท่านั้น จึงได้แจ้ง อบต.ให้มีการปรับปรุงแก้ไข

รวมถึงทำหนังสือแจ้งกระทรวงมหาดไทยว่า โครงการติดตั้งเสาไหฟ้ารูปประติมากรรม กำลังได้รับความสนใจจาก อปท.

หลายพื้นที่ทั่วประเทศ

เพราะขณะนั้นกระทรวงมหาดไทย ควรจะต้องกำชับท้องถิ่นให้กำกับดูแลเรื่อง การใช้จ่ายเงิน

ให้เกิดประโยชน์คุ้มค่าและสามารถสร้างความปลอดภัยให้กับประชาชนได้อย่างแท้จริง

นายประจักษ์ บุญยัง กล่าวต่อว่ หลังจากนั้น สตง. ได้กำหนดแผนงานในการเข้าไปติดตามตรวจสอบการ

ใช้จ่ายเงิน ในโครงการติดตั้งเสาไฟฟ้าสาธารณะประติมากรรมของ อปท.ทั่วประเทศ ว่ามีพื้นที่ใดบ้าง ที่มีการ

ดำเนินงานในลักษณะเดียวกันกับ อบต.ดังกล่าว

ทั้งในเรื่องของราคา และการติดตั้งเป็นไปตามมาตรฐานที่เกี่ยวข้องหรือไม่

โดยพิจารณาตามมาตรฐานไฟฟ้าสาธารณะ ปี 2548 ซึ่งออกโดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทยเป็นสำคัญ ซึ่งกำหนดมาตรฐานสำคัญไว้หลายส่วนด้วยกัน

เช่น มาตรฐานความส่องสว่าง ระยะห่างของจุดติดตั้งเสาไฟฟ้าสาธารณะ รูปแบบของการติดตั้ง กรณีติดตั้งสองฝั่งถนน ติดตั้งกลางถนน เป็นต้น

แต่มาตรฐานนี้ยังไม่มีเรื่องประติมากรรมบนเสาไฟฟ้าแต่อย่างใด

ต่อมาในปี 2560 สตง.ได้ตรวจสอบโครงการจัดซื้อเสาไฟฟ้าแสงสว่าง พร้อมประติมากรรมรูปกินรี ของ อบต.ราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

และพบว่า มีประเด็นข้อสังเกตหลายประการ เช่น

ราคาเสาไฟฟ้ที่จัดซื้อมีราคาสูง

การกำหนดราคากลางไม่ถูกต้อง

การติดตั้งไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และ มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

ปัญหาเรื่องการชำรุด ขาดการดูแลบำรุงรักษา

ประกอบกับผลการตรวจสอบในพื้นที่อื่น ๆ มีลักษณะเช่นเดียวกัน

สตง. จึงวิเคราะห์ในภาพรวม และได้มีหนังสือแจ้งผลการตรวจสอบพร้อมข้อเสนอแนะไปยัง อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และสำเนาหนังสือส่งปลัดกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2560

จากนั้นเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2561 กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้มีหนังสือแจ้งผู้ว่า

ราชการจังหวัดทุกจังหวัด ให้แจ้งกำชับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการตามข้อเสนอแนะของ สตง.

หากจะดำเนินโครงการติดตั้งเสาไฟฟ้าประติมากรรม เป็นแนวทางปฏิบัติในการดำเนินงานโครงการฯ

กรณีการตรวจสอบในส่วนของ อบต.ราชเทวะ ในปี 2560

สตง. ได้ออกหนังสือแจ้งให้ อบต.ราชาเทวะ ดำเนินการให้มีการชดใช้ค่าเสียหายแก่รัฐ จำนวน 67.29 ล้านบาท

ดำเนินการทางวินัยกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง

นอกจากนั้นผลการตรวจสอบพบว่า

“มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าการใช้จ่ายเงิน มีพฤติการณ์อันเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ / จงใจปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมาย”

จึงได้มีการแจ้งผลการตรวจสอบและส่งเรื่อง พร้อมเอกสาร หลักฐานประกอบ ให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และ สำนักงนข้องกันและปราบปรามการฟอกงิน (ปปง.) พิจารณาดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจต่อไป ตั้งแต่ปี 2561 ซึ่งเป็นไปตามบทบัญญัติ มาตรา 7 แห่งพระราขบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจ

เงินแผ่นดิน พ.ศ. 2561

สำหรับการตรวจสอบโครงการจัดซื้อเสาไฟฟ้าแสงสว่าง ตั้งแต่ปี 2562 – 2564 ของ อบต.ราชาเทวะ

สตง.มีแผนงานในการเข้าตรวจสอบและติดตามผลการดำเนินการอยู่แล้ว

ซึ่งในปัจจุบันก็ได้มีการบูรณาการและประสานงานความร่วมมือกัน กับหน่วยงานตรวจสอบแห่งอื่นอีกด้วย ผลการตรวจสอบเป็นอย่างไร จะแจ้งให้ทราบต่อไป

สตง. ยังบอกอีกว่า จากการเป็นประเด็นที่สังคมสนใจเรื่องเสาไฟฟ้า ทำให้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) ตระหนักถึง

ความสำคัญในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก จึงมีนโยบายในการศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพื่อไม่ให้เป็นลักษณะไฟไหม้ฟาง

และเกิดปัญหาเช่นนี้อีกในอนาคต

และให้มีมาตรการเชิงระบบในการป้องกันกำกับดูแล เรื่องการใช้จ่ายเงินในโครงการฯ ลักษณะนี้ให้เกิดความคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพมากที่สุด

โดยให้ สตง. ดำเนินการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเร่งด่วน เพื่อเสนอแนะแนวทางหรือมาตรการในการใช้จ่ายเงินแผ่นดิน รวมไปถึงการเชิญตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และตัวแทนองค์กรปกครองส่วน

ท้องถิ่น และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เข้ามาช่วยกันพิจารณากำหนดแนวทางหรือมาตรการในการดำเนินการที่ชัดเจนต่อไป

เรื่องเสาไฟฟ้าประติมากรรม ถ้ามองเผินๆ เราก็คงจะได้ความรู้สึกถึงความสวยงาม สีสัน ให้พื

แต่หากเรามองให้ลึกลงไป ก็คงเกิดคำถามมากมาย ตามที่ สตง.ออกมาชี้แจง และกำลังพิจารณาเพิ่มเติมอยู่

ก็รอติดตามต่อไปค่ะว่า เรื่องนี้ ผลสรุปของการพิจารณา จะเป็นอย่างไร