กักตัวยังไงไม่ให้เวลาผ่านไปไร้จุดหมาย

กรมสุขภาพจิต เตือน คนไทยอย่ากังวลมากเกินไป ควรตระหนักแต่ไม่ตระหนก พร้อมแนะวิธีกักตัว 14 วันอย่างมีความหมาย

(21 มี.ค.63) นายแพทย์ยงยุทธิ์ วงศ์ภิรมย์ศานติ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต และนายแพทย์วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ โฆษกกรมสุภาพจิต เผยว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทย ทำให้หลายๆคนเกิดความกังวลเป็นอย่างมาก กรมสุขภาพจิต จึงออกมาให้ความรู้เกี่ยวกับการกักตัว 14 วัน ต้องทำอย่างไรบ้างถึงจะไม่ปล่อยเวลา 14 วันผ่านไปอย่างไร้ความหมาย

นายแพทย์ยงยุทธิ์ เผยว่า ตอนนี้กรมสุขภาพจิตแบ่งคนไทยออกเป็น 3 ประเภท คือ
1.กังวลน้อยไป
2.กังวลมากไป
กลัวว่าคนอื่นจะเอาโรคมาติดเรา แต่ทั้งๆที่ไปตรวจแล้วก็ไม่เจออาการ ส่งผลทำให้ รพ.ทำหน้าที่ตรวจคัดกรองมากขึ้น
3.กังวลมากเกินไป
การที่เรากังวลมากทำให้สุขภาพจิตเราเสีย นอนไม่หลับ การรับรู้ข้อมูลมากไป ยาวนานเกินไป แล้วพอมันสะสมเข้าหลายๆวัน แล้วก่อให้เกิดความเครียด ทางกรมสุขภาพจิต วิเคราะห์แล้วว่า มันส่งผลเสียต่อสุขภาพกายด้วย เพราะเวลาที่เครียดจะทำให้ภูมิคุ้มกันตก จึงอยากให้ทุกคนควรมาอยู่ในระดับความกังวลที่พอดี “ตระหนักแต่ไม่ตระหนก”

ภาพจากอีจัน

ตระหนักคืออะไร ?
ตระหนักที่จะป้องกันตัวเอง การล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ ไม่ไปสถานที่แออัด ใส่หน้ากากอนามัย บุคคลนี้คือคนที่ตระหนัก รู้ว่าตัวเองควรทำอย่างไร

ตระหนกคืออะไร ?

การตระหนกคือ เราไปกลัวคนอื่น กลัวสิ่งอื่น การระวังตัวเองอาจจะมีความสำคัญน้อยลง ไปเน้นความสำคัญเรื่องอื่น อาจจะทำให้เกิดปัญหากับสังคมได้

ส่วนเรื่องของการกักตัว 14 วันฉันสู้ไหว

14 วันที่กักตัว เราจะต้องทำสิ่งดีๆ นอกจากดูแลตัวเองแล้ว ยังเป็นการช่วยสังคมอีกด้วย การปฏิบัติที่ดีก็คือ จะต้องใช้เวลาที่ผ่านไปให้มีความหมาย อย่าให้ความรู้สึกกลัว ความรู้สึกเหงา มาครอบงำจิตใจ จนกระทั่งทำให้เราสูญเสียพลัง เราสามารถที่จะจัดตารางเวลาประจำวัน เช้า-ค่ำ ได้ เราจะทำอะไร เพื่อที่จะไม่ให้เวลาผ่านไปวันๆไร้จุดมุ่งหมาย

หลายคนพอมีความเครียด ก็จะอยู่หน้าโทรศัพท์ หน้าทีวี แทบจะไม่ได้ขยับร่างกายเลย ถ้าจัดวางตารางเวลาก็จะช่วยให้ดีขึ้น แบ่งเป็นการออกกำลังกาย – กำลังใจ

ภาพจากอีจัน

14 วันขอให้เป็นเวลาที่ดี โดยใช้ 3 สร้าง 2 ใช้
สร้างความปลอดภัย
สร้างความสงบ
สร้างความหวัง
ใช้พลังให้เต็มที่
ใช้ความสัมพันธ์

เท่านี้ก็จะเป็น 14 วันที่มีความหมายแล้ว^^