“บิ๊กต่อ” ยกเคส มือปืนวัย 14 ปี ต้องถอดบทเรียนเพื่อเฝ้าระวัง

“บิ๊กต่อ” ผบ.ตร. ยกเคส เด็ก 14 ยิงในพารากอน เป็นผู้ก่อเหตุที่ยังมีชีวิตต้องถอดบทเรียน ย้ำ พ่อแม่ต้องคอยสังเกตลูกหลาน

จากเหตุการณ์ ด.ช.14 ปี กราดยิงในห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน เมื่อช่วงเย็นวันที่ 3 ต.ค.66 ทำให้สังคมเกิดข้อสงสัยว่าเกิดจากแรงจูงใจอะไร โดยเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้เบื้องต้นมีผู้ถูกยิง 7 คน เสียชีวิต 2 คน เป็นชาวจีน และชาวเมียนมา ซึ่งมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 5 คน

Live อัปเดต : พารากอน เกิดเหตุชุลมุน หลังมีเสียงดังคล้ายปืน หลายนัด

จากเหตุการณ์นี้โซเชียลได้ตั้งข้อสังเกตไว้ 3 ปม ได้แก่ 1.เลียนแบบ 2.ป่วยจิตเวช 3.ทาสเกม เนื่องจากโซเชียลได้เทียบภาพการแต่งตัวของ ด.ช.14 ปี ในวันก่อเหตุกับเหตุการณ์กราดยิงที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา

เทียบชัดๆ ผู้ก่อเหตุ ยิงในพารากอน แต่งกาย คล้าย กราดยิงโรงเรียนอเมริกา

ปมป่วยจิตเวชหรือไม่? ยังเป็นคำถาม เนื่องจากตอนตำรวจคุมตัว ด.ช.14 ปีมีอาการไม่ปกติ เจ้าหน้าที่ต้องปลอบให้สงบ เพราะ ด.ช.14 ปี พูดซ้ำ ๆ คล้ายหลอน

และปมติดเกมถูกเกมสะกดจิต จากข้อมูล ด.ช.14 ปี ติดเกมที่ต้องไล่ล่าฆ่าคนอื่น

จากทั้ง 3 ปมข้อสงสัยนี้ วันนี้ (4 ต.ค.66) พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ให้สัมภาษณ์ในรายการเจาะลึกทั่วไทย ทางช่อง 9MCOT วิเคราะห์ว่า กรณีเด็กชาย 14 ปี กราดยิงในสยามพารากอน ถือเป็นกรณีศึกษา (Case study)สำคัญ เพราะได้ผู้ก่อเหตุที่ยังมีชีวิต เบื้องต้นที่ได้คุยกับน้อง พบว่าน้องเขาหูแว่ว เขาบอกว่ามีอีกคนในตัวเขาสั่งให้ยิง ซึ่งในการสอบสวนเนื่องด้วยผู้ต้องหาเป็นเยาวชนต้องมีแพทย์สหวิชาชีพ ต้องรอสอบสวนก่อน และเมื่อวานน้องยังมีอาการเบลอจึงต้องชะลอการสอบสวนไปก่อน

ผบ.ตร. กล่าวต่อว่า เรื่องเล่นเกมต้องฝากครอบครัว ผู้ปกครอง คอยสังเกตเด็กด้วย ว่าเด็กถูกกดดันจากสังคมจากครอบครัวหรือเปล่า การเล่นคอมพิวเตอร์การโพสต์ต้องคอยสังเกตด้วย ซึ่งกรณีนี้โชคดีที่สยามพารากอนมีการฝึกอบรมเกี่ยวกับ Active Shooter ประสงค์ชีวิตต่อใครก็ได้ และการบริหารภาวะวิกฤต ซึ่งตำรวจได้ไปอบรมจึงทำให้มีมาตรการปิดร้านทันทีเมื่อเกิดเหตุ

นอกจากนี้ ผบ.ตร. กล่าวอีกว่า เรื่องการโพสต์ข้อความหรือภาพก่อนก่อเหตุ ทาง FBI เคยทำข้อมูลไว้ แต่ยังขาดเรื่องข้อมูลของผู้ต้องหาที่มีชีวิต เพื่อเฝ้าศึกษาคนที่ต้องระวังไว้ โดยผู้ก่อเหตุเหตุการณ์นี้ยังมีชีวิต เราจึงน่าจะได้ศึกษาร่วมกัน กรณีลักษณะแบบนี้มองว่าสติแตก Active Shooter ประสงค์ชีวิตต่อใครก็ได้

ผบ.ตร. กล่าวต่อว่า จากเหตุการณ์นี้ ผู้ปกครองต้องช่วยสังเกตเด็ก ว่าถ้าเด็กมีลักษณะแบบนี้จะเป็นแผนประทุษกรรมให้คนอื่นได้ศึกษา ต้องสังเกตว่าเด็กเล่นเกมไม่สุงสิงกับใคร เก็บตัวเงียบแต่ก้าวร้าว เมื่ออารมณ์ร้อนก็ก้าวร้าว ตาเหม่อลอย

ส่วนปืนที่ก่อเหตุเป็น “ปืนแบลงค์กัน” ที่ใช้ยิงปล่อยตัวนักกีฬา ปืนที่ใช้ถ่ายหนัง จากสถิติพบว่าปืนที่ใช้ก่อเหตุ ทั้งจากที่นักศึกษาใช้ก่อเหตุยิงกันส่วนใหญ่จะเป็นปืนพวกนี้ทั้งนั้น ซึ่งได้ประสานกับมหาดไทยแล้ว โดยปืนพวกนี้ต้องถือว่าเป็นอาวุธ ผู้ซื้อไม่ผิดกฎหมาย การนำเข้ามาต้องแจ้ง แต่เราเจอคดีแบบนี้เมื่อเข้าไปค้นไปพบ กฎหมายไม่ถือว่าเป็นอาวุธ ดังนั้นกฎหมายต้องถือว่าเป็นอาวุธ โดยตอนนี้ทำร่วมกับมหาดไทยและกรมศุลกากรที่จะควบคุมให้ “ปืนแบลงค์กัน” เป็นอาวุธ

“กระสุนของ “ปืนแบลงค์กัน” ถ้าเอามาจ่อหัวนี้ถึงตายได้เลย ซึ่งตามยูทูบเอามาดัดแปลงทำให้ใช้กระสุนจริงได้ จึงได้ประสานการปฏิบัติว่าให้เป้นสิ่งต้องห้าม ห้ามนำเข้าเลย” ผบ.ตร. กล่าว

จากเหตุการณ์ ด.ช.14 ปี กราดยิงที่พารากอน หากนำมาเป็นบทเรียนเพื่อหาทางป้องกันการเกิดขึ้นซ้ำในอนาคตได้ จะเป็นสิ่งที่ดีมากนะคะ

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก : รายการเจาะลึกทั่วไทย ทางช่อง 9MCOT

คลิปอีจันแนะนำ
นาทีรวบตัว มือปืนวัย 14 ยิงในพารากอน