ชวนระลึกพระคุณครู ในวันที่ 16 มกราคม ของทุกปี ตรงกับ “วันครู”

16 มกราคม ของทุกปี ถูกกำหนดให้เป็น วันครูแห่งชาติ เป็นวันสำคัญสำหรับระลึกถึงความความหมาย ความเป็นมา ของพระคุณครู เรือจ้างที่คอยส่งให้ถึงฝั่ง

อีกหนึ่งวันสำคัญมีใครเคยสงสัยกันไหมวันครู “ทำไมถึงตรงกับวันที่ 16 มกราคม ยกมือขึ้น” พิธีไหว้ครูนั้นไม่ใช่เพียงแต่เป็นประเพณีที่ประกอบกันก่อนการเริ่มต้นที่จะศึกษาเล่าเรียนเท่านั้น ยังนิยมกระทำเพื่อเป็นการรำลึกถึงพระคุณครูบาอาจารย์ และแสดงความกตัญญูกตเวทิตาคุณแด่ผู้ที่ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ และให้กิจการงานต่างๆ ทำให้นึกหวนรำลึกถึงเรือจ้างผู้เสียสละและให้ความรู้

ความหมายของคำว่า “ครู” 

(คำว่าครูนั้นมาจากศัพท์ภาษาสันสกฤต คำว่า “คุรุ” และภาษาบาลี คำว้า “ครุ” , “คุรุ”) ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ได้ให้ความหมายของคำว่า “ครู” ไว้ว่า [คฺรู] น. ผู้สั่งสอนศิษย์, ผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์ โดยคำว่า “ครู” นั้นมีรากศัพท์มาจากภาษาสันสกฤต ว่า “คุรุ” และภาษาบาลี “ครุ, คุรุ” ดังนั้นกล่าวคือ “ครู” ผู้ถ่ายทอดความรู้และให้คำแนะนำอบรมสั่งสอนผู้เรียนให้เกิดความรู้ สร้างสรรค์ภูมิปัญญา และช่วยพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศชาติ

“วันครู”เริ่มต้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2500 หลังจากในปี 2488 ประเทศไทยมีการประกาศพระราชบัญญัติครูขึ้นมาในราชกิจจานุเบกษา จึงมีการกำหนดให้มีวันครูครั้งแรก จุดเริ่มต้นของการมีวันครู มาจากการเรียกร้องของครูจำนวนมาก ซึ่งความเห็นของครูที่แสดงออกมาทั้งพยายามที่จะชี้ให้เห็นความสำคัญของครูและอาชีพครู ในฐานะที่เป็นผู้เสียสละประกอบคุณงามความดี เพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมาก จึงควรที่จะมีวันแห่งการรำลึกถึงความสำคัญของครู เปิดโอกาสให้ครูทั้งหลายได้พักผ่อนบำเพ็ญกุศลและตลอดจนดำรงกิจกรรมอื่น ๆ เพื่อประโยชน์ของครูและการศึกษาของชาติตามสมควร

โดยวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ. 2488 ระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า”คุรุสภา” ซึ่งมีสถานะเป็นนิติบุคคลและให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความ เห็นในเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ จัดสวสัดิการให้แก่ครูและครอบครัว ได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู

ด้วยเหตุนี้ในทุกๆปี คุรุสภาจึงจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา พร้อมทั้งซักถามปัญหาข้อข้องใจต่างๆเกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภา โดยมี คณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบข้อสงสัย สถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุม”สามัคคยาจารย์”หอประชุมของจุฬาลงกร ณมหาวิทยาลัย ในระยะหลังจึงมาใช้หอประชุมของคุรุสภา

ในปี พ.ศ. 2499 ที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวปราศัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า “ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่า”วันครู”ควรมีสักวันหนึ่งสำหรับให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายได้ แสดงความเคารพสักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับคนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง”

จากแนวความคิดนี้ ประกอบกับความเห็นของครูที่ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึกถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดีเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมาก ในปีเดียวกันที่ให้มีวันครูเพี่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมความสามัคคีธรรมระหว่างครูและเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างครูกับประชาชน

จึงทำให้คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2499 ให้วันที่ 16 มกราคมของทุกปีเป็น วันครู โดยถือเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2488 เป็น วันครู และให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าว

จรรยาบรรณของวิชาชีพครู 

 แบ่งเป็น 5 ด้าน 9 ข้อ ตามวินัยพัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ 

1.จรรยาบรรณต่อตนเอง

ข้อที่ 1 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ

2. จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ

ข้อที่ 2 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพและเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ

3.จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ

ข้อที่ 3 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริมให้กําลังใจแก่ศิษย์ และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า

ข้อที่ 4 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะ และนิสัยที่ถูกต้องดีงามแก่ศิษย์ และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ

ข้อที่ 5 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งทางกายวาจา และจิตใจ

ข้อที่ 6 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องไม่กระทําตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกายสติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์ และผู้รับบริการ

ข้อที่ 7 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาค โดยไม่เรียกรับหรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตําแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ

4.จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ

ข้อที่ 8 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์ โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ

5.จรรยาบรรณต่อสังคม

ข้อที่ 9 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พึงประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นําในการอนุรักษ์และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

คาถาไหว้ครูบูรพาจารย์

“(ผู้นำสวด) ปาเจราจริยาโหนติ คุณุตตรานุสาสกา

สวดทานองสรภัญญะ

สวดพร้อมกัน ข้าขอประณตน้อมสักการ บูรพาคณาจารย์

ผู้กอรปประโยชน์ศึกษา

ทั้งท่านผู้ประสาทวิชา อบรมจริยา

แก่ข้าในกาลปัจจุบัน

ข้าขอเคารพอภิวันท์ ระลึกคุณอนันต์

ด้วยใจนิยมบูชา

ขอเดชกตเวทิตา อีกวิริยะพา

ปัญญาให้เกิดแตกฉาน

ศึกษาสาเร็จทุกประการ อายุยืนนาน

อยู่ในศีลธรรมอันดี

ให้ได้เป็นเกียรติเป็นศรี ประโยชน์ทวี

แก่ชาติและประเทศไทยเทอญฯ

(ผู้นำสวด) ปัญญาวุฒิกเร เต เต ทินโนวาเท นมามิหัง”

คำกล่าวไหว้ครูบทนี้คงไม่มีใครที่ไม่เคยได้กล่าวเพื่อน้อมสักการะ ไหว้สาครูบาอาจารย์ แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ถึงความหมายบทขึ้นต้น และลงท้ายของคำกล่าวไหว้ครูบทนี้ที่ได้รจนาไว้เป็นภาษาบาลี

 “ปาเจราจริยาโหนติ  คุณุตตรานุสาสกา” แปลว่า ครูบาอาจารย์เป็นผู้มีคุณยิ่ง เป็นผู้พร่ำสอนศิลปวิทยา

“ปัญญาวุฒิกเร เต เต ทินโนวาเท นมามิหัง” แปลว่า ข้าพเจ้าขอนอบน้อมครูบาอาจารย์ผู้ให้โอวาทเหล่านั้น

สัญลักษณ์วันครู

“ดอกกล้วยไม้” เป็นดอกไม้ประจำวันครู เพราะดอกกล้วยไม้ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อให้ได้ผลิดอกสวยงาม เหมือนกับการอบรมศิษย์ให้โตไปเป็นอนาคตที่ดีของชาติ นอกจากนี้สัญลักษณ์สำคัญของวันไหว้ครูที่หลายคนนึกถึงคงหนีไม่พ้น “พานไหว้ครู” ที่ประกอบไปด้วยดอกไม้ ธูป และเทียน โดยดอกไม้วันไหว้ครูได้แก่ ดอกมะเขือ หญ้าแพรก ข้าวตอก และดอกเข็ม

  • ดอกมะเขือ แสดงถึงความอ่อนน้อมถ่อมตนของศิษย์ต่อครูอาจารย์ พร้อมรับความรู้ต่าง ๆ จากผู้สอน เนื่องจากดอกมะเขือมีลักษณะโน้มต่ำลงมาเสมอ

  • หญ้าแพรก แสดงถึงความเจริญงอกงามของสติปัญญา เนื่องจากหญ้าแพรกแพร่กระจายไปได้อย่างรวดเร็ว

  • ข้าวตอก แทนสัญลักษณ์ของความมีระเบียบวินัย หากใครสามารถทำตามกฎระเบียบและมีความมุ่งมั่นก็จะเหมือนข้าวตอกสีขาวที่ถูกคั่วออกจากข้าวเปลือก

  • ดอกเข็ม เป็นสัญลักษณ์แทนสติปัญญาที่หลักแหลมดั่งลักษณะของดอกเข็ม

คลิปอีจันแนะนำ
ทรงอย่างแบด กระหึ่มลานโชว์โลมา! @ซาฟารีเวิลด์