กรมสุขภาพจิต ยัน ป่วยจิตเวช ทำผิด ก็ต้องรับโทษ

กรมสุขภาพจิต ยัน แม้ผู้กระทำผิดมีอาการป่วยจิตเวช ทำผิด ก็ต้องรับโทษ

มีประเด็นข่าวให้ติดตามอย่างต่อเนื่อง กับคดีแอมไซยาไนด์ หลังตำรวจสอบสวนกลาง ออกหมายจับ แอม เพื่อน ก้อย สาวเมืองกาญจน์ ที่ไปปล่อยปลาที่บ้านโป่งแล้วเป็นลมตายที่ท่าน้ำ ซึ่งเพื่อนชิ่งหนีไม่ยอมช่วย พร้อมฉกทรัพย์สินไปด้วย และจากแนวทางสืบสวนเจ้าหน้าที่เชื่อว่า แอม น่าจะเป็นผู้นำไซยาไนด์ (Cyanide) ซึ่งเป็นสารเคมีอันตราย ผสมใส่อาหารให้ผู้ตายรับประทาน เพื่อหวังลักทรัพย์สินมีค่าต่างๆ ของผู้ตาย ซึ่งขณะนี้เจ้าหน้าที่อยู่ระหว่างนำตัวมาสอบปากคำ

ตร. คุมตัว สาว อ. ราชบุรี พร้อมขวด ไซยาไนด์ หลังเหตุ สาววูบดับ

ซึ่งคดีนี้มีญาติของผู้เสียชีวิตอีกนับ 10 ราย ได้ออกมาให้ข้อมูลว่าการเสียชีวิตของญาติอาจเชื่อมโยงกับ แอม

คดีนี้ล่าสุด อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เผย แอม เครียด-ความดันสูง หลังถูกส่งเข้าเรือนจำ ตรวจสอบประวัติพบ เคยรักษาจิตเวช เมื่อ 5 ปีก่อน แต่ขาดยาไป 2 ปี

แอม เครียด-ความดันสูง ส่งตัวไป รพ. พบประวัติเคยรักษาอาการทางจิต

ส่วนกรณีผู้กระทำความผิดอ้างว่ามีอาการป่วยทางจิตเวช แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต เคยกล่าวถึงประเด็นผู้กระทำความผิดอ้างว่ามีอาการป่วยทางจิตเวช ไว้เมื่อวันที่ 22 ส.ค.65 ว่า ในทางปฏิบัติความเจ็บป่วยทางจิตที่จะมีผลต่อการรับโทษ เขียนไว้ชัดเจนในประมวลกฎหมายอาญา ตามมาตรา 65 ซึ่งผู้ใดกระทำความผิด ในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบ หรือไม่สามารถบังคับตนเองได้เพราะมีจิตบกพร่อง โรคจิตหรือจิตฟั่นเฟือน ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษสำหรับความผิดนั้น

แต่ถ้าผู้กระทำความผิดยังสามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้าง หรือยังสามารถบังคับตนเองได้บ้าง ผู้นั้นต้องรับโทษสำหรับความผิดนั้น เพียงแต่ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น นั่นหมายถึง ต่อให้มีใบรับรองว่าป่วยทางจิต หรืออยู่ในกระบวนการรักษา ก็ต้องมีการพิสูจน์ข้อเท็จจริงว่าความเจ็บป่วยนั้นส่งผลต่อความสามารถในการรู้ผิดชอบ หรือการควบคุมตนเองมากน้อยแค่ไหน

เช่น ผู้ป่วยโรคจิตเภทที่รักษาจนบรรเทาแล้วไปก่อคดีฆาตกรรมก็ไม่สามารถนำมาใช้เป็นเหตุยกเว้นการรับโทษหรือรับโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดได้ ซึ่งการตรวจประเมินทางนิติจิตเวชทางการแพทย์เป็นกระบวนการหนึ่ง ศาลจะนำข้อมูลไปประกอบการพิจารณา

อ้างอิงข้อมูล : http://prdmh.com

คลิปอีจันแนะนำ
ปริศนา วางยา ฆาตกรรมก้อย