ทนาย “ทักษิณ” ฟันธง! หลังพักโทษ ได้กลับบ้าน

“พิชิต ชื่นบาน” ยกกฎหมายแจงยิบ เหตุผลที่ “ทักษิณ” หลังพักโทษ ได้กลับบ้าน

หลัง “ทักษิณ ชินวัตร” ได้พักโทษ ซึ่งคาดว่าจะได้รับการปล่อยตัวจากราชทัณฑ์ระหว่างวันที่ 18-22 ก.พ.67 โดยตำรวจจะมารับตัวทักษิณเพื่อส่งต่อให้ อัยการสูงสุด ดำเนินคดี ม.112 ต่อทันที

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

ประเด็นนี้ประชาชนให้ความสนใจอย่างมาก และจับตาว่าเมื่อได้รับการพักโทษ “ทักษิณ” จะได้กลับบ้าน หรือต้องเข้าเรือนจำอีกครั้ง

ความคืบหน้าในเรื่องนี้ วันนี้ (7 ก.พ.67) นายพิชิต ชื่นบาน ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี และทนายความของ “ทักษิณ ชินวัตร” ให้สัมภาษณ์ในรายการเจาะลึกทั่วไทย ทางช่อง 9MCOT เกี่ยวกับประเด็นนี้ว่า หลังพักโทษคุณทักษิณจะได้กลับบ้านล้านเปอร์เซ็นต์ พร้อมระบุว่า กระบวนการยุติธรรมจะสิ้นสุดต่อเมื่อศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด และศาลได้ออกใบแดงแจ้งโทษเอากับจำเลยในคดีนั้นมีความผิด ซึ่งรัฐธรรมนูญมาตรา 29 ระบุว่า ในคดีอาญาระบุว่า ให้จำเลยในคดีนั้นเป้นผู้ที่ยังไม่มีความผิด จนกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด โดยคดีนี้ คุณทักษิณ ต้องคดีอาญาการเมืองหลายคดี ซึ่งคดีนี้ถึงที่สุดแล้ว ตอนนี้คุณทักษิณอยู่ในขั้นกระบวนการบังคับโทษและกระบวนการบริหารโทษตามอำนาจหน้าที่ของกรมราชทัณฑ์

ทนายพิชิต กล่าวว่า ที่มีความมั่นใจ เพราะหลักเกณฑ์ขั้นตอนในการพักโทษ ไม่มีอะไรต้องสงสัย ก่อนคุณทักษิณจะเดินทางกลับไทยได้ตรวจสอบแล้วว่าคดีไหนต้องรับโทษ คดีไหนเสร็จแล้ว ส่วนคดี ม.112 เกิดนอกราชอาณาจักร ที่ประเทศเกาหลี ในมุมมองของตน ในขณะนั้นมีการร้องทุกข์ดำเนินคดี แต่ยังไม่มีโอกาสแจ้งข้อกล่าวหากับคุณทักษิณ และมีการเสนอความเห็นดำเนินคดีไปที่อัยการสูงสุด สำนวนนี้เรียกว่า “สำนวน ส2” จึงใช้คำว่าเห็นควรสั่งฟ้อง

ทั้งนี้ ส2 คือ สำนวนที่ยังไม่ได้ตัวผู้ถูกกล่าวหาในคดีอาญา สิทธิในกระบวนการยุติธรรมยังไม่ได้แจ้งข้อกล่าวหา ผู้ต้องหายังถือเป็นผู้บริสุทธิ์ ยังไม่ได้ชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา และนำพยานหลักฐานเข้าพิสูจน์ในเรื่องที่ถูกกล่าวหา ประกอบกับพิธีในการพิจารณาความอาญา กำหนดให้เป็นหน้าที่เจ้าพนักงานสอบสวน สอบสวนทั้งในทางที่เป็นคุณกับผู้ถูกกล่าวหา และในทางที่เป็นโทษ

ดังนั้น สำนวน ส2 คือ เป็นสำนวนที่ไม่มีตัวผู้ถูกกล่าวหา แต่มีการดำเนินคดี เหตุนี้เกิดขึ้นนอกราชอาณาจักร ตนตั้งข้อสังเกตว่า ควรใช้ พรบ.ความร่วมมือคดีอาญาระหว่างประเทศในการสอบสวน ไม่ใช่วิธีพิจารณาคดีอาญาปกติ เพราะเหตุที่เกิดขึ้นเป็นการเกิดจากการสัมภาษณ์ และเมื่อคุณทักษิณกลับมาไทย กระบวนการก๋เกิดขึ้นในวันที่ 17 ม.ค.67 ตามที่ตำรวจแจ้งว่าได้นำหมายจับมาแจ้งต่องคุณทักษิณแล้ว และมีการแจ้งข้อกล่าวหา ทำบันทึกแจ้งข้อกล่าวหา และคุณทักษิณได้ถือโอกาสใช้สิทธิในกระบวนการยุติธรมม “ปฏิเสธข้อกล่าวหา” ดังนั้น คุณทักษิณ มีสิทธิที่จะอ้างพยานหลักฐาน ซึ่งเป็นการร้องขอความเป็นธรรมต่อัยการสูงสุดในการต่อสู้

ทนายพิชิต กล่าวต่อว่า เมื่อมีการแจ้งข้อกล่าวหาแล้ว เรียกว่า สำนวน ส1 คือมีการแจ้งข้อกล่าวหากับเจ้าตัวแล้ว

ต่อคำถามที่ว่า อัยการสูงสุดมีคำสั่งฟ้องเป็นที่สุด ในสำนวน ส2 และจะมาเปลี่ยนคำสั่งในสำนวน ส1 ได้อย่างไร

ทนายพิชิต อธิบายว่า เป็นไปใน 3 ทาง ตามที่อัยการให้คำแนะนำ คือ สั่งสอบเพิ่ม หากมีประเด็นต้องสอบสวนให้กระจ่าง สิ้นความสงสัย, หากสำนวนพร้อมสมบูรณ์ ก็จะยืนตามความเห็นเดิม คือ สั่งฟ้อง, หากหลักฐานพบว่าผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้กระทำผิด ก็จะสั่งไม่ฟ้อง

ซึ่งอัยการสูงสุดอาจเห็นควรสั่งสอบเพิ่มเติม เพื่อให้คุณทักษิณนำหลักฐานมาชี้แจง และถ้าอัยการได้เห็นแล้ว ก็อาจมีคำสั่งไม่สั่งฟ้องก็ได้  โดยสำนวน ส2 จะมีคำสั่งอย่างไรก็ยังไม่ถือเป็นที่ยุติ ดังนั้นสำนวน ส1 อาจแตกต่างจาก สำนวน ส2 ได้ เนื่องจาก สำนวน ส1 ผู้ถูกกล่าวหาได้รับแจ้งข้อกล่าวหาแล้ว

ส่วนการพักโทษคุณทักษิณก็ยังอยู่ในความดูแลของกรมราชทัณฑ์ เพราะโทษยังไม่หมด ดังนั้นแม่อยู่ในการพักโทษ ถ้าอัยการเห็นควรฟ้องก็ฟ้องได้เลย โดยรอต่อระหว่างพักโทษเพื่อไปหาอัยการ ทนายพิชิต บอก ขณะนี้อัยการอยู่ระหว่างการพิจารณาหนังสือให้ความเป็นธรรมอยู่และไม่รู้จะเสร็จเมื่อไหร่ และจะครบโทษ ส.ค.67

อย่างไรก็ตาม ทนายพิชิต ยืนยันว่า ทันทีที่คุณทักษิณได้รับการพักโทษ ถ้าอัยการสูงสุดยังพิจารณาหนังสือขอความเป็นธรรมไม่เสร็จ คุณทักษิณก็กับบ้านได้เลยภายใต้การดูแลของกรมราชทัณฑ์  

ต้องติดตามต่อว่าในวันที่คุณทักษิณได้พักโทษ จะได้กลับบ้าน หรือเข้าเรือนจำต่อ

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก รายการเจาะลึกทั่วไทย ทางช่อง 9MCOT


คลิปอีจันแนะนำ

22 ปี เส้นทางชีวิต “ทักษิณ ชินวัตร” สู่นักโทษคดีอาญา