ศูนย์ต้านข่าวปลอม เปิด 5 พฤติกรรมเสี่ยงตกเป็นเหยื่อ มิจฉาชีพออนไลน์

ใครมี 5 พฤติกรรมนี้เลิกด่วน! ‘ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม’ แนะจุดอ่อนคนส่วนใหญ่มี แล้วเสี่ยงตกเป็นเหยื่อ มิจฉาชีพออนไลน์ หลอกดูดเงินเกลี้ยงบัญชี

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม (Anti Fake News Center) โดย ‘กองบังคับการปราบปราม’ เผยว่า 5 พฤติกรรม ที่ทำให้คุณตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพออนไลน์

หลายๆ ท่านอาจสงสัยว่า เมื่อไรการฉ้อโกงออนไลน์จะหมดไปจากประเทศไทย ซึ่งคำถามนี้เป็นคำถามที่ตอบได้ง่าย และสามารถแก้ง่ายด้วยเช่นกัน โดยเริ่มจากการกำจัดพฤติกรรมที่มิจฉาชีพส่วนใหญ่เห็นเป็นจุดอ่อน และนำไปเป็นช่องทางที่มิจฉาชีพนำมาใช้ โดยเติมแต่งกลวิธีให้แนบเนียนขึ้น เพื่อที่จะหลอกลวงเอาทรัพย์สินจากท่าน ซึ่งหากเราเข้าใจ รู้ทัน และไม่ประมาทเกินไป ก็จะไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพออนไลน์

1.คิดว่าไม่เป็นอะไร: “ลองดูหน่อยก็ไม่น่าเสียหายอะไร” แต่รู้หรือไม่ว่าคนที่คิดเช่นนี้ ส่วนมากจะเป็นผู้เสียหายกลุ่มแรกๆ ที่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ อาจจะชอบคลิกลิงก์แปลกๆ ที่ถูกส่งมาทาง SMS หรือ E-mail

2.ชอบคุยกับเพื่อนใหม่: ปกติเราจะชื่นชอบการเข้าสังคม ไม่ว่าจะเป็นในชีวิตจริงหรือโลกออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนในชาติเดียวกัน หรือเป็นเพื่อนต่างชาติ ผู้เสียหายเหล่านี้มีโอกาสที่จะตกเป็นเหยื่อของแก๊งโรแมนซ์สแกมได้ง่าย

3.ชอบสินค้าราคาถูก: การค้าขายออนไลน์ ในปัจจุบันเป็นที่นิยมมาก และก็มีผู้เสียหายเป็นจำนวนมากเช่นกัน โดยคนร้ายมักจะประกาศขายสินค้าที่ดูดี มีคุณภาพ ราคาถูก จูงใจให้ผู้เสียหายหลงเชื่อ โอนเงินไปให้ บางรายได้รับสินค้าที่ไม่ตรงตามที่ประกาศขายบ้าง ซ้ำร้ายไปกว่านั้นก็ไม่ได้รับสินค้าเลย

4.ชอบเสี่ยงโชค: เมื่อได้เห็นผลตอบแทนที่ล่อตาล่อใจ ไม่ว่าจะด้วยอุบายใดๆ ที่คนร้ายปั้นแต่งขึ้นมาหลอกล่อ เช่น การชวนเล่นแชร์ ชวนลงทุนในธุรกิจ โดยเน้นว่าจะได้รับผลตอบแทนที่สูง สันนิษฐานได้เลยว่าท่านอาจจะตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพเข้าแล้ว

5.ชอบช่วยเหลือ: บ่อยครั้งที่เราเห็นคนที่ยากลำบากกว่าเรา เราก็อยากจะช่วยเหลือในฐานะเพื่อนมนุษย์ แต่ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่มิจฉาชีพ อาจจะแฝงตัวเข้ามาด้วยการปลอมข้อมูล หรือใส่เลขบัญชีรับบริจาคของตนเองแฝงไปกับผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนจริงๆ

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทลั เพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เป็นประธานการ ประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม อาชญากรรมทางเทคโนโลยี ครั้งที่ 2/2566 เพื่อติดตามความก้าวหน้าในการดําเนินการที่เกี่ยวข้องกับตาม พ.ร.ก.มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ.2566

ซึ่งที่ผ่านมาหลัง พ.ร.ก. มีผลบังคับใช้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดําเนินการ สรุปผลได้ดังนี้

เมื่อเทียบก่อนและหลังออก พ.ร.ก.สถิติการเกิดคดีออนไลน์ ลดลง และสามารถอายัดบัญชีคนร้ายได้มากขึ้น ดังนี้

นอกจากนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาประเด็นที่สําคัญในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมออนไลน์ 7 เรื่อง ได้แก่

1.เหตุอันควรสงสัยของสถาบันการเงินโดยได้กําหนดเหตุอันควรสงสัยของธุรกรรมทางการเงินที่อาจเป็น การดําเนินการของมิจฉาชีพ 18 ข้อ

2.เหตุอันควรสงสัยของผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ที่อาจเป็นการดําเนินการของมิจฉาชีพ 10 ข้อ

3.ระบบหรือกระบวนการเปิดเผยหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลฯ ระหว่าง สถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสมาคมธนาคารไทยอยู่ระหว่างพัฒนาระบบแลกเปลี่ยนข้อมูล ITMX ซึ่งที่ประชุมมอบหมายให้ ธนาคารแห่งประเทศ (ธปท.) และสมาคมธนาคารไทย เร่งรัดการจัดทําระบบแลกเปลี่ยน ข้อมูลให้แล้วเสร็จโดยเร็ว

4.ระบบหรือกระบวนการเปิดเผยหรือแลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่าง ผู้ให้บริการ เครือข่ายโทรศัพท์ ซึ่งที่ประชุมมอบหมายให้ สํานักงาน กสทช. เร่งพัฒนาระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ เพื่อใช้ในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมออนไลน์

5.วิธีการและช่องทางในการแจ้งเหตุอันควรสงสัย และรับส่งข้อมูล ของสถาบันการเงินฯ กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยตํารวจจะพัฒนาระบบแบงก์กิ้ง เชื่อมต่อกับระบบ ITMX ของสถาบันการเงินเพื่อเป็น ช่องทางรับแจ้งเหตุอันควรสงสัย และให้ ปปง. และ DSI พิจารณาช่องทางในการรับแจ้งเหตุอันควร สงสัยและการรับส่งข้อมูลกับสถาบันการเงินด้วย

6.วิธีการและช่องทางในการแจ้งเหตุอันควรสงสัย และรับส่งข้อมูล ของผู้ให้บริการโทรศัพท์ฯ กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยระบบแบงก์กิ้ง ของตํารวจจะเชื่อมต่อกับระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลของ กสทช. ด้วยเพื่อรับแจ้งเหตุอันควรสงสัย

7.วิธีการและช่องทาง ของสถาบันการเงินฯ ในการรับแจ้งจากผู้เสียหาย โดยหน่วยงานได้ร่วมกัน ดําเนินงานตาม พ.ร.ก อย่างจริง

8.มาตรการอื่นๆ ได้แก่ การควบคุมการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล เพื่อไม่ให้เป็นช่องทางในการแลกเปลี่ยน และฟอกเงิน การจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการรัฐร่วมเอกชน แนวทางการป้องกันและปราบปรามบัญชีม้า และซิมม้า แนวทางในการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างเสริมภูมิคุ้มกันป้องกันภัยอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนให้แก่ประชาชน มาตรการในการป้องกันปราบปรามคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีประเภทแอปพลิเคชันดูดเงิน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

ตำรวจไซเบอร์ เปิด 10 งานพาร์ทไทม์ ที่มิจฉาชีพ ใช้หลอกฉกเงิน มากที่สุดรัฐเปย์ ‘บัตรคนจน’ ไม่ต้องลงทะเบียน ศูนย์ต้านเฟคนิวส์ ยันข่าวปลอม’ดีอีเอส’ แนะวิธีรับมือ หากโดนสวมรอยใช้รูปบนโซเชียล จัดการอย่างไรดี
คลิปอีจันแนะนำ
รอดไป! ฮีโร่ชาวประมง ช่วยน้องแมวตกทะเล