กินดีเป็นยากับพืช 4 ชนิด ช่วยลดน้ำตาลในร่างกาย

ผู้ป่วยเรื่องน้ำตาลในเลือดและอาการเบาหวาน ไม่ควรเลื่อนผ่าน!!!

สมุนไพรไทยนั้นมีสรรพคุณมากมายแต่วันนี้จันลั่นทุ่งจะพาทุกคนมาทำความรู่จักพืชที่มีส่วนช่วยในการลดน้ำตาลและมีส่วนในการควบคุมน้ำตาลในเลือดและเป็นพืชที่เราสามารถหาได้ทั่วไป ในราคาที่ไม่แพง ผู้ป่วยเบาหวาน ไม่ควรเลื่อนผ่านกับพืช 4 ชนิดนี้ มีประโยชน์แน่นอน

ชะพลู

การวิจัยพบว่าชะพลูสามารถช่วยลดน้ำตาลในเลือด แต่ขอแนะนำแบบนี้จ้าว่าถ้ากินเป็นผักหรือเป็นอาหารก็มีความปลอดภัย แต่เราจะกินเป็นยาเพื่อหวังผลในการลดน้ำตาล เราจะต้องสังเกตอาการน้ำตาล เช่น มีอาการหน้ามืด ใจสั่น เหงื่อออกมือ มีอาการหวิวๆ เหมือนจะเป็นลมหรือไม่ เพราะแสดงว่าน้ำตาลในเลือดของคุณกำลังต่ำเกินไป จึงไม่ควรทานช้าพลูนั่นเอง

วิธีการรับประทาน

นำชะพลูดึงหรือถอนมาทั้งต้นทำการล้างน้ำให้สะอาด พัลให้เป็นก้อนเท่าฝ่ามือ แล้วนำไปมัดให้เป็นก้อนพอที่จะใส่ลงไปในภาชนะที่เราจะใช้ได้ ใส่น้ำพอแค่ท่วมใบ ต้นให้จนปริมาณน้ำลดลงเหลือแค่ 1 ส่วน 3 ของน้ำในหม้อ ดื่มครั้งละครึ่งแก้ว 3 ครั้ง ก่อนอาหาร

ผักเชียงดา

มีผลช่วยป้องกันการดูดซึมของน้ำตาล ฟื้นฟูเซลล์ตับอ่อนที่สร้างอินซูลิน และลดน้ำตาลในเลือดได้

วิธีการรับประทาน ให้ใช้ใบแห้งชงดื่มเป็นน้ำชา ครั้งละ 4 กรัม วันละ 2-3 ครั้ง หรือรับประทานเป็นผักในมื้ออาหาร

มะระขี้นก

มะระขี้นก มีผลกระตุ้นการหลั่งอินซูลินมีส่วนช่วยในการยับยั้งการสร้างกลูโคส ทำให้มีผลลดน้ำตาลในเลือดได้

วิธีการรับประทาน คั้นน้ำจากผลสดมื้อละ 2-3 ผล โดยเอาเมล็ดในออก ใส่น้ำลงไปเล็กน้อย ปั่นคั้นเอาแต่น้ำดื่ม 3 เวลา ก่อนอาหาร หรือนำเนื้อมะระผลเล็ก (มีตัวยามาก) ผ่านำเมล็ดออก หั่นเนื้อมะระเป็นชิ้นเล็กๆ ตากแดดให้แห้ง แล้วนำมาชงกับน้ำเดือด (มะระ 1-2 ชิ้น ต่อน้ำ 1 ถ้วย) ดื่มเป็นน้ำชา ครั้งละ 1-2 ถ้วย วันละ 3 เวลา ก่อนอาหาร หรือรับประทานในรูปแบบแคปซูลครั้งละ 500-1,000 มิลลิกรัม วันละ 1-2 ครั้ง ถ้าเรากลัวขมให้ แนะนำวิธีการลดความขมดังนี้ โดยการนำมะระลงไปต้มในน้ำที่เดือดจัดและปล่อยทิ้งไว้สักครู่เติมเกลือลงไปหนึ่งหยิบมือ เพียงเท่านี้ความขมของมะระก็จะลดลง

ตำลึง

ตำลึงแสดงผลการลดน้ำตาลทั้งในสัตว์ทดลองและในคน ตำลึงให้ผลลดน้ำตาลทั้งส่วนที่เป็นใบ ราก ผล

วิธีการรับประทาน โดยใช้เถาต้นแก่ๆ ประมาณ 1 กำมือ ทานได้ทั้งวิธีต้มและวิธีคั้นจากผลดิบ ดื่มวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น