มาดู หลง – หลิน ทุเรียน สุดยอดของดีเมืองลับแล ที่มีเงินก็กินไม่ได้ ถ้าไม่มีโชค !

มาทำความรู้จักสุดยอด ทุเรียน ที่ใคร ๆ ก็กล่าวขานอย่าง หลง – หลิน ลับแล ของดีที่ชาวอุตรดิตถ์ภาคภูมิใจ คุณค่าที่คนไทยควรได้ลิ้มลอง

วันนี้ทีม จันลั่นทุ่ง เอาเรื่อง ทุเรียน มาฝากกันอีกแล้วค่ะ เพราะอะไรน่ะเหรอ สั้น ๆ เลยค่ะคือเป็นคนคลั่งรักทุเรียน ซึ่งพวกเราเชื่อว่าหลายคนก็เป็นหนึ่งในกลุ่มนี้เช่นเดียวกัน ฮ่า ๆ ก็มันอร่อยเกินห้ามใจอ่ะ พวกเราเลยสรรหาทุเรียนจากทุกทิศทั่วไทยมานำเสนอให้ลูกเพจได้รู้จักเหมือนที่เราได้ไปเจอมาครั้งนี้ส่งตรงมาจาก เมืองลับแล หรือจังหวัด อุตรดิตถ์ นั่นก็คือทุเรียน หลงลับแล และ หลินลับแล ค่ะ

บอกก่อนเลยว่าทุเรียน หลงก็คือหลง หลินก็คือหลิน ไม่ใช่พันธุ์เดียวกันนะคะ เข้าใจตรงนี้ก่อนซึ่งทุเรียนทั้งสองพันธุ์นี้มีประวัติความเป็นมาคร่าว ๆ ดังนี้ค่ะ

ทุเรียนหลงลับแล ผู้ริเริ่มปลูกคือนายลม – นางหลง อุประ ชาวบ้านอำเภอลับแลเป็นทุเรียนที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยม จากการประกวดทุเรียนที่ปลูกจากเมล็ดซึ่งร่วมดำเนินการจัดประกวดระหว่างกรมวิชาการการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตรและจังหวัดอุตรดิตถ์เมื่อปี 2520 และได้รับการรับรองพันธุ์ในวันที่ 20 กันยายน 2521 ต่อมาในปี พ.ศ. 2528 สำนักงานเกษตรอำเภอลับแล

ได้สนับสนุนให้เกษตรกรนำยอดทุเรียนหลงลับแลจากต้นเดิมมาขยายพันธุ์ โดยวิธีการเสียบยอดจนได้รับความสำเร็จก่อนที่ต้นเดิมจะตายเพราะมีอายุมากกว่า 60 ปี ลักษณะลูกจะเป็นทรงกลมขนาดลูกจะไม่ใหญ่อยู่ที่ขนาด 1.5 กิโลกรัม – 2.5 กิโลกรัมนี่คือขนาดมาตรฐานกำลังดี ต้องมี 4 พูถึงจะเรียกว่าสวย

ทุเรียนหลินลับแล ต้นเดิมปลูกโดย นายหลิน ปัดลาด ชาวบ้านอำเภอลับ ในปี 2493 นายหลินได้นำเมล็ดทุเรียนมาปลูกแล้วเกิดการ กลายพันธุ์มีลักษณะที่แปลกกว่าทุเรียนพันธุ์อื่น ๆ จึงนำให้เพื่อนบ้านกินหลายคนบอกว่ารสชาติดี ต่อมาในปีพ.ศ. 2520 เจ้าของต้นเดิมได้ส่งทุเรียนพันธุ์นี้เข้าประกวดในการประกวดทุเรียนที่ปลูกจากเมล็ด ซึ่งร่วมดำเนินจัดประกวดระหว่างกรมวิชาการการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตรและจังหวัดอุตรดิตถ์ แม้ว่าในปี ดังกล่าวทุเรียนพันธุ์หลงลับแลจะได้รับรางวัลยอดเยี่ยมก็ตามหลินลับแลก็ยังได้รับความนิยมจากนักบริโภคทุเรียนไม่น้อยกว่าทุเรียนพันธุ์หลงลับแลเพื่อเป็นเกียรติแก่ นายหลิน ปัดลาด ผู้ปลูกทุเรียนต้นเดิมจึงตั้งชื่อทุเรียนพันธุ์นี้ว่า “หลินลับแล” ลักษณะลูกจะเป็นทรงคล้ายมะเฟือง ลูกเล็กเช่นเดียวกันกับหลงลับแลเลยค่ะ

เมื่อเราอยากรู้เรื่องทุเรียนหลง – หลิน ให้มากกว่าข้อมูลทางวิชาการอย่างข้างต้นแล้ว เราจึงหาสวนที่เขามุ่งมั่นทุ่มเทปลูกทุเรียนทั้งสองพันธุ์นี้ นั่นคือ สวนใจใหญ่ อยู่ที่อำเภอลับแล อุตรดิตถ์ค่ะ เป็นสวนของคุณแม่ประนอม ใจใหญ่ ที่มีดีกรีเป็นเกษตรกรดีเด่นอำเภอลับแล ปีล่าสุด ที่ปลูกทุเรียนหลิน – หลง ไว้เพราะต้องการอนุรักษ์ให้คนรุ่นหลังได้ลิ้มลองความอร่อยกัน โดยแม่นอมเล่าให้ฟังว่าทุเรียนหลงกับหลิน ล้วนเป็นทุเรียนพันธุ์เล็กทั้งคู่แต่ความอร่อยนั้นต่างกันเลย หลงลับแล จะหวานแหลม หลินลับแล จะหวานมัน แต่เนื้อและรสสัมผัสทั้งคู่จะเหนียวนุ่ม ต่อให้เป็นลูกสุกจนตกต้น ก็ไม่เละ เนื้อแห้งกัดแล้วเพลินปากเพลินใจ ที่สำคัญไม่มีกลิ่นเหม็นฉุน กลิ่นไม่แรงว่าอย่างนั้นเถอะ เปลือกไม่หนา เล็กเล็ก เป็นเจ้าทุเรียนน้อย ซึ่งเจ้าทุเรียนหลิน – หลงนี้เป็น สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ GI ของอุตรดิตถ์ เพราะฉะนั้นปลูกที่นี่โดยเฉพาะที่อำเภอลับแลนี่แหล่ะ อร่อยสุด

จึงเป็นเหตุให้ราคาของหลงลับแล และหลินลับแล มีราคาสูงกว่าทุเรียนพันธุ์อื่นในท้องตลาดเกือบกิโลกรัมละ 1,000 บาท เลยทีเดียวเชียว ซึ่งราคาทุเรียนขึ้นอยู่กับจำนวนทุเรียนของปีนั้น ๆ ว่ามีมากน้อยเพียงใด ถึงได้บอกไงคะว่ามีเงินอย่างเดียวไม่พอ ต้องมีโชคด้วย และเมื่อมาเทียบกันละหว่างราคาหลงกับหลินหลงจะเป็นที่ หลงจะเป็นที่นิยมมากกว่า หลินจะแพงกว่า เพราะมีน้อยกว่า ปลูกยากกว่า โตยากกว่าด้วย แต่อันนี้ก็ต้องแล้วแต่บุคคล แล้วแต่ความชอบ และกำลังทรัพย์จ้า

ซึ่งสวนใจใหญ่ของแม่นอม มีขายทั้ง 2 อย่างให้เลือกสรรเลย ทางทีมงานแอบถามราคามาให้ได้ความว่าไม่เกิน 700 บาทต่อกิโลกรัมแน่นอน ฟันธง ! หากใครอยากลิ้มลองสักครั้งอย่าแอดที่ได้กินไปแค่พูเดียวก็รู้สึกว่าฟินปากมากแม่ อยากกินอีกก็ไม่ได้เพราะทุเรียนเจ้ากรรมหมดไวมาก หากอยากซื้ออยากชิมหรืออยากเอาไปฝากคนที่เรารักติดต่อได้ที่เฟซบุ๊ก ร้านประนอม อต หรือโทร. 081-042-1410 จ้า