แมลงค่อมทองภัยร้าย ตัวทำลายสวนผลไม้

เตรียมรับมือแมลงค่อมทอง

แมลงค่อมทอง ตัวเต็มวัยกัดกินใบ ยอดอ่อน และดอก ในพืชเช่น ส้มโอ เงาะ ใบที่ถูกทำลายจะเว้าๆ แหว่งๆ ถ้าระบาดรุนแรงจะเหลือแต่ก้านใบ และมีมูลที่ถ่ายออกมาปรากฏให้เห็นตามบริเวณยอด ตัวเต็มวัยเป็นระยะที่สำคัญที่สุด เพราะกัดกินส่วนต่างๆ ของพืช สีของตัวเต็มวัยจะเปลี่ยนไป ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม จึงพบมีหลายสี เช่น สีเหลือง สีเทา สีดำ และสีเขียวปนเหลืองตัวเต็มวัยที่พบบนต้นพืชมักพบเป็นคู่ๆ หรือรวมกันเป็นกลุ่มบนใบ เมื่อต้นพืชถูกกระทบกระเทือน แมลงค่อมทองจะทิ้งตัวลงสู่พื้นดิน

แนวทางป้องกัน/แก้ไข

1. ตัวเต็มวัยของแมลงค่อมทองมีอุปนิสัยชอบทิ้งตัวเมื่อกระทบกระเทือน ใช้ผ้าพลาสติกรองใต้ต้นแล้วเขย่าต้น ตัวเต็มวัยจะหล่นแล้วรวบรวมนำไปทำลาย

2. บริเวณที่พบระบาดควรพ่นด้วยสาร ฆ่าแมลง คาร์บาริล 85% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คาร์โบซัลแฟน 20% อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นให้ทั่วในระยะที่เงาะแตกใบอ่อน 2-3 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 10-14วัน