อาชีพเสี่ยงพลาดอาจถึงชีวิต ล้วงรังต่อหัวเสือ

ล้วงรังต่อหัวเสือ อาชีพเสี่ยงตายแต่ทำเงิน

จันลั่นทุ่งวันนี้พาทุกคนมาดูอาชีพแปลกและเสี่ยงซึ่งเป็นอาชีพที่ไม่ใช่ทุกคนจะทำได้ เพราะอาชีพนี้ถือเป็นอาชีพที่เสี่ยงมาก เพราะมันคืออาชีพ “ล้วงรังต่อ” เป็นอาชีพที่เสี่ยงตายมากแต่เป็นอาชีพที่สามารถสร้างเงินได้ถึงปีละ 50,000 บาท

สุดทึ่งโชว์ล้วงรังต่อหัวเสือ ตามไปดูอาชีพเสี่ยงตายภูมิปัญญาชาวบ้าน ล่าต่อหัวเสือ นำมาเลี้ยงส่งขายทำเมนูเด็ดอีสาน หากินยาก พัฒนาต่อยอดคิดค้นชุดล้วงรังต่อป้องกันสูญพันธุ์ เพิ่มมูลค่า บางรายสร้างรายได้ปีละครึ่งแสน สุดยอดเมนูเด็ด ก้อย คั่ว หมก แกง ลูกต่อหัวเสือ ขายได้แม้กระทั่งรังต่อ เชื่อเป็นเครื่องรางของขลัง ค้าขายร่ำรวยต่อเงินต่อทอง เตือนไม่ชนาญอย่าเลี้ยงอันตรายถึงตาย

เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ จ.นครพนม ในช่วงนี้ถือว่า เป็นช่วงโอกาสทองของชาวบ้าน ในพื้นที่ อ.ปลาปาก อ.นาแก และ อ.วังยาง ที่มีอาชีพเสี่ยงตายเลี้ยงต่อหัวเสือ สร้างรายได้ ถือเป็นอาชีพภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่มีการสืบทอดมาจากอดีตถึงปัจจุบัน และยังเป็นอาชีพเสี่ยงตายที่สามารถสร้างรายได้ ปีละหลายแสนบาท เพราะเป็นเมนูหายาก และเป็นที่ต้องการของตลาด นำเป็นเมนูเด็ดอีสาน อาทิ ก้อยลูกต่อ แกงตัวต่อ หมกตัวต่อ ยำลูกต่อหัวเสือ สารพัดเมนู ยิ่งช่วงไหนหายาก แห้งแล้ง จะส่งผลให้รังต่อหายาก ส่งผลให้ราคาแพง ปีนี้ตกราคากิโลกรัมละ ประมาณ 2,000 บาท โดยชาวบ้าน

จะเริ่มเลี้ยงต่อในช่วงต้นฤดูฝน ประมาณเดือน มิถุนายน ของทุกปี ใช้เวลาเลี้ยงตามธรรมชาติ ประมาณ 3 -4 เดือน จะสามารถเก็บผลิตผลิตส่งขาย นำมาเป็นเมนูเด็ดได้ มากสุดในช่วง ออกพรรษา เดือน ตุลาคม จะเป็นช่วงสุดท้ายในการเก็บผลผลิต บางรายสามารถสร้างรายได้ปีละนับแสนบาท ทั้งนี้ชาวบ้านอาชีพเสี่ยงต่อเลี้ยงต่อหัวเสือ ให้มีการพัฒนาต่อยอด จากภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่เก็บผลผลิต ด้วยการใช้วิธีการเผารังต่อ แต่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ จึงได้พัฒนาคิดค้นประดิษฐ์ชุดล่วงต่อ ที่มีความปลอดภัย สูง ในการล้วงรังต่อ ลดการสูญพันธุ์แทน การเผาด้วยไฟ ลมควัน สามารถเก็บผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้อีกรังละ 2 -3 รอบ นอกจากนี้ผลผลิตตัวต่อนอกจากจะขาย แม่ตัวต่อ และลูกต่อหัวเสือ ยังสามารถขายต่อยกรัง เพราะมีบางคนมีความเชื่อ นำไปเป็นเครื่องรางของขลัง นำไปประดับแขวนไว้หน้าบ้าน ร้านค้า ร้านอาหาร เชื่อว่า เป็นการต่อเงิน ต่อทอง ต่อยอดลูกค้า สามารถ ขายได้ถึงรัง ละ 3,000 – 5,000 บาท แล้วแต่รูปแบบความสวยงามของรังต่อ

ด้าน นายบัญชา ศรีชาหลวง นายก อบต.พิมาน อ.นาแก จ.นครพนม เปิดเผยว่า พื้นที่ ต.พิมาน อ.นาแก ถือเป็น อีกหมู่บ้าน ที่ตนและชาวบ้าน ได้นำอาชีพภูมิปัญญาชาวบ้าน มาพัฒนาต่อยอด ส่งเสริมการเลี้ยงต่อหัวเสือสร้างรายได้เสริม ในช่วงฤดูฝน และนำผลผลิตลูกต่อส่งขายในช่วง ใกล้งานประเพณีออกพรรษา เดือนกันยายน – ตุลาคม เป็นฤดูกาลที่ต่อให้ผผลลิตมากสุด ถือเป็นอาชีพภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่สร้างรายได้ดีเป็นอย่างมาก ปัจจุบันมีราคาตกกิโลกรัมละ 2,000 บาท

ยิ่งปีไหนหายากยิ่งแพง ซึ่งชาวบ้านจะใช้ความชำนาญ ในการล่าตัวหัวเสือตามป่า ทุ่งไร่ทุ่งนาที่ทำรังตามธรรมชาติ ด้วยการนำเหยื่อประเภท เนื้อสัตว์ แมลง ไปล่อ แล้วตามไปหารังต่อ ก่อนเคลื่อนย้ายมารักษา ไว้ตามหัวไร่ปลาย นาในที่ปลอดภัย ใช้เวลาเลี้ยงแบบธรรมชาติ ประมาณ 4-5 เดือน ก่อนเก็บผผลลิตขาย เดิมใช้วิธีลมควัน แต่พัฒนาคิดค้นชุดล้วงรังต่อ เพื่อป้องกันต่อสูญพันธุ์ และเก็บผลผลิตได้หลายครั้ง บางรังสามารถเก็บผลผลิตได้ 2 -3 ครั้ง หากลมควัน จะได้เพียงครั้งเดียว บางรายสามารถหารังต่อได้ เยอะ สร้างรายได้ปีละ 50,000 ถึง แสนบาท ต่อปี ส่วนเมนูเด็ดชาวบ้าน จะนำไปปรุงเมนู ก้อยลูกต่อ คั่วต่อหัวเสือ หมกต่อ แกงต่อ ยำลูกต่อ สารพัดเมนู ถือเป็นเมนูเด็ดที่หากินยาก 1 ปีมีครั้งเดียว ทำให้มีราคาแพง นอกจากนี้ บางรายมีการสั่งซื้อยกรัง เพื่อนำรังที่แม่ต่อทิ้งรังร้าง ไปทำเป็นเครื่องรางของคลัง

ตามความเชื่อ ขายได้ราคาสูง ตกรังละ 3,000 – 5,000 บาท ส่วนการดูแลจะต้องมีความชำนาญ และต้องเลี้ยงในที่ปลอดภัย เพราะต่อหัวเสือถือเป็นแมลงที่มีพิษร้ายแรง อันตรายถึงชีวิตหากถูกรุมต่อยจำนวนมาก จึงต้องมีความชำนาญในการเลี้ยงดูแล