วางใจไม่ได้! แพทย์ เตือน “ปวดหลังร้าวลงขา” สามารถเป็นได้ทุกคน 

แพทย์ เตือน! อย่ามองข้าม “อาการปวดหลังร้าวลงขา” โดยเฉพาะกลุ่มวัยทำงาน-ผู้สูงอายุ อาจส่งผลให้เกิดการกดทับของเส้นประสาท แนะ ถ้าเริ่มรักษาเร็ว มักจะดีขึ้นได้โดยไม่ต้องผ่าตัด

อย่าปล่อยไว้เด็ดขาดนะคะ! เป็นหนักขึ้นมารักษายาว  

เมื่อวันที่ 16 ก.ค. 68 ที่ผ่านมา เพจเฟซบุ๊ก หมอเก่งกระดูกและข้อ ได้ออกมาโพสต์เตือนเกี่ยวกับสุขภาพที่ไม่ควรมองข้าม ยิ่งสำหรับวัยทำงานหรือผู้สูงอายุ ยิ่งต้องดูแลเมื่อเกิดอาการปวดหลังร้าวลงขา โดยหมอเก่ง ระบุว่า… 

1. โรคที่อาจเป็นไปได้ 

 – หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท (Herniated Disc) 

 – โรคกระดูกสันหลังเสื่อม (Spinal degeneration) 

2. สาเหตุของโรค 

 – หมอนรองกระดูกที่อยู่ระหว่างกระดูกสันหลัง เสื่อมหรือปลิ้นออกมากดทับเส้นประสาท เหมือนแผ่นเจลที่บีบแล้วไหลออกมา 

 – ข้อต่อกระดูกสันหลังเสื่อมเหมือนโช้ครถที่ใช้นาน ทำให้ปลายกระดูกงอกมากดเส้นประสาท 

3. อาการที่ผู้ป่วยจะรู้สึกได้ 

 – ปวดหลังส่วนล่าง และ ร้าวลงสะโพกหรือต้นขา 

 – อาจรู้สึก ชาหรือแสบเหมือนไฟฟ้าช็อต ตามแนวขา 

 – อาการมักเป็นข้างเดียว และเป็นมากเมื่อเดิน นั่งนาน หรือลุกนั่งผิดท่า 

4. อาการที่หมอจะตรวจพบ 

 – เอียงตัวหลบความปวด 

 – เคาะหลังแล้วปวดร้าวลงขา 

 – กล้ามเนื้อขาอ่อนแรง หรือ เสียการรับรู้สัมผัสบางส่วน 

5. แนวทางการวินิจฉัย 

 – ซักประวัติและฟังอาการให้ชัดเจน 

 – ตรวจร่างกาย ทดสอบแรงกล้ามเนื้อและเส้นประสาท 

 – เอกซเรย์เพื่อดูแนวกระดูกผิดปกติ 

 – MRI เห็นหมอนรองกระดูกที่ปลิ้น และดูว่าไปกดเส้นประสาทจุดไหน 

6. แนวทางการรักษา 

 – ปรับท่าทางการนั่ง/ยืน/ยกของ 

 – ใช้ยาแก้อักเสบเฉพาะช่วงที่ปวดมาก 

 – กายภาพบำบัด เช่น ดึงหลัง ยืดกล้ามเนื้อ เสริมแกนกลางลำตัว 

 – ฉีดยาลดอักเสบเฉพาะจุดเข้าโพรงประสาทด้วย Ultrasound เป็นตัวระบุตำแหน่ง ถ้าอาการไม่ดีขึ้น 

 – ผ่าตัด กรณีเป็นมาก ไม่ตอบสนองการรักษาแบบไม่ผ่าตัด 

7. ภาวะแทรกซ้อนถ้าปล่อยไว้ 

 – ชาขา กล้ามเนื้ออ่อนแรง 

 – เดินลำบาก เสี่ยงหกล้ม 

 – ในรายรุนแรงมาก อาจควบคุมปัสสาวะไม่ได้ (แต่พบได้น้อย) 

8. การพยากรณ์โรค 

 – ถ้ารักษาตั้งแต่เนิ่นๆ  ฟื้นตัวได้ดี ไม่ต้องผ่าตัด 

 – ถ้าปล่อยไว้นาน เส้นประสาทอาจถูกกดนานจนฟื้นตัวยาก 

9. ข้อแนะนำจากหมอเก่ง 

อาการแบบนี้ หมอช่วยได้ครับ ถ้าเริ่มรักษาเร็ว มักจะดีขึ้นได้โดยไม่ต้องผ่าตัด 

แนะนำให้พบแพทย์เฉพาะทางถ้าอาการเรื้อรังหรือรุนแรงมากขึ้น 

หากใครที่มีอาการข้างต้นนี้ ก็อย่าลืมดูแลสุขภาพตัวเองด้วย โดยเฉพาะกลุ่มทำงานและผู้สูงอายุ ยิ่งมีความเสี่ยงที่จะเป็นมากกว่าคนทั่วไป  “อีจัน” เป็นห่วงทุกคนค่ะ 

ที่มา: เพจเฟซบุ๊ก หมอเก่งกระดูกและข้อ 

https://www.facebook.com/share/p/19QyABddte