ศบค.เผย! 4 ระยะ โควิด สู่ โรคประจำถิ่น มีอะไรบ้าง

ศบค.เผย! 4 ระยะ โควิด สู่ โรคประจำถิ่น 12 มี.ค.- 1 ก.ค. 65

จาก เมื่อวันที่ 9 มี.ค.65 ที่ประชุมเห็นชอบมาตรการรองรับการเปลี่ยนผ่านโควิด-19 สู่โรคประจำถิ่น และได้มีการหารือถึงการแบ่งระยะเวลาการดำเนินการที่จะเป็นโรคประจำถิ่น

คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เห็นชอบ โควิด 19 เป็น โรคประจำถิ่น

ล่าสุด 10 มี.ค.65 ศูนย์ข้อมูลโควิด-19 ได้ เปิดเผย Q&A คลายข้อข้องใจ การแบ่งระยะเวลาการดำเนินการที่จะเป็นโรคประจำถิ่นนั้นมีกี่ระยะ โดย คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เป็นผู้ตอบคำถาม

Q: โควิด แบ่งเป็นโรคประจำถิ่น กี่ระยะ

A: แบ่งเป็น 4 ระยะ คือ

– ระยะที่ 1 12 มี.ค.-ต้น เม.ย. เรียกว่า Combatting คือ ต้องออกแรงกดตัวเลขไม่ให้สูงกว่านี้ เป็นระยะต่อสู้ เพื่อลดการระบาด ลดความรุนแรงลง จะมีมาตรการต่างๆ ออกไป การดำเนินการให้กักตัวลดลง

– ระยะที่ 2 เม.ย.-พ.ค. เรียกว่า Plateau คือ การคงระดับผู้ติดเชื้อไม่ให้สูงขึ้น ให้เป็นระนาบจนลดลงเรื่อยๆ

– ระยะที่ 3 ปลาย พ.ค.-30 มิ.ย. เรียกว่า Declining คือ การลดจำนวนผู้ติดเชื้อลงให้เหลือ 1,000-2,000 คน

– ระยะที่ 4 ตั้งแต่ 1 ก.ค. 65 เป็นต้นไป เรียกว่า Post pandemic คือ ออกจากโรคระบาด เข้าสู่โรคประจำถิ่น