สปสช. แนะพ่อแม่เด็กสาว 16 ฉีดวัคซีนดับ ยื่นคำร้องรับเงินเยียวยา

สปสช.เขต 1 เชียงใหม่ เดินทางเข้าเยี่ยมพ่อแม่เด็กสาววัย 16 ปี ที่ดับหลังฉีดวัคซีน พร้อมแนะแนวทางยื่นคำร้องรับเงินเยียวยา

จากเหตุการณ์ เด็กสาววัย 16 ปี ดับหลังฉีดไฟเซอร์ หมอแจงสาเหตุมาจากมีลิ่มเลือดอุดตัน แต่พ่อแม่ เชื่อ ลูกตายเพราะผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน

ลูกสาววัย 16 เสียชีวิต พ่อแม่ เชื่อผลข้างเคียงวัคซีนไฟเซอร์เข็ม 2

จากเรื่องราวที่เกิดขึ้น ยังคงสร้างความเจ็บปวดให้ผู้ที่เป็นพ่ออย่างมาก ที่ต้องสูญเสียลูกสาวอันเป็นที่รักไป และยังคลางแคลงใจกับสาเหตุการตายที่หมอระบุผลชันสูตรศพว่า

“ลิ่มเลือดอุดตันปอดทั้งสองข้าง ร่วมกับติดเชื้อในกระแสเลือด”

ทั้งที่หมอเคยบอกกับตนว่า อาการของลูกที่อาเจียนบ่อย ท้องเสีย หายใจไม่ออก จนต้องนอนรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล เป็นไปได้ว่าเกิดจากผลข้างเคียงของการฉีดวัคซีน

ล่าสุด เมื่อวานนี้ (5 พ.ย. 64) คุณจินตนา สันถวเมตต์ รองผู้อำนวยการ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เขต 1 เชียงใหม่ และคุณชุติมา พงพัง ผู้แทนศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน จ.ลำปาง ได้ลงพื้นที่เพื่อแสดงความเสียใจและให้กำลังใจกับครอบครัวผู้เสียชีวิต รวมทั้งให้คำแนะนำในการยื่นคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นแล้ว

ทั้งนี้ การจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น กรณีผู้รับบริการได้รับความเสียหายจากการรับวัคซีนโควิด 19 หลักเกณฑ์การพิจารณาแบ่งเป็น 3 ระดับ

ระดับ 1 มีอาการป่วยต้องรักษาต่อเนื่อง จ่ายไม่เกิน 1 แสนบาท

ระดับ 2 เกิดความเสียหายถึงขั้นสูญเสียอวัยวะหรือพิการจนมีผลต่อการดำรงชีวิต จ่ายไม่เกิน 2.4 แสนบาท

ระดับ 3 กรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวร จ่ายไม่เกิน 4 แสนบาท ซึ่งหลักการจ่ายเงินเยียวยาเบื้องต้นแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากการฉีดวัคซีนโควิด-19

ซึ่งหลักการจ่ายเงินเยียวยาเบื้องต้นแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของ สปสช.นั้น ไม่ไช่การพิสูจน์ถูกผิดหรือชี้ชัดว่าเป็นผลที่เกิดจากการฉีดวัคซีนแต่อย่างใด แต่เป็นเงินเยียวยาเพื่อลดผลกระทบที่เกิดแก่ประชาชนเมื่อมีอาการไม่พึงประสงค์เกิดขึ้น

ทั้งนี้ ผู้ได้รับผลกระทบจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 สามารถยื่นคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นได้ใน 3 จุด ได้แก่

1. หน่วยบริการที่ไปรับการฉีด

2. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด

3. สปสช.เขตพื้นที่

ซึ่งหลังจากได้รับคำร้องแล้วจะมีคณะอนุกรรมการในระดับเขตเป็นผู้พิจารณา ว่าจะจ่ายเงินเยียวยาหรือไม่และจ่ายเป็นจำนวนเท่าใด ตามหลักฐานทางการแพทย์และระดับความหนักเบาของอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้น เมื่อมีผู้มายื่นคำร้องแล้ว คณะอนุกรรมการฯ ระดับเขตพื้นที่จะเร่งพิจารณาให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ซึ่งในกรณีที่ผู้ยื่นคำร้องไม่เห็นด้วยกับผลการวินิจฉัย ก็มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ต่อเลขาธิการ สปสช. ได้ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ทราบผลการวินิจฉัย

อีจันขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวของผู้เสียชีวิตอีกครั้งนะคะ

ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

คลิปแนะนำอีจัน
“เงินติดตัว แม่มี ไม่ถึงร้อย ยอมอด เข้ากรุงมาฝึกอาชีพ”