ศาลปกครองสูงสุด ยกฟ้องสั่งปลด “ชัยวัฒน์”

ศาลปกครองสุงสุด เพิกถอนคำสั่งปลด “ชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร” ออกจากราชการ ปม “ยุทธการตระนาวศรี” ชี้ ป.ป.ท ไม่มีอำนาจชี้มูลความผิดวินัย ที่ไม่ได้เกิดจากการทุจริต

วันนี้ (16 ก.ค. 68) เวลา 10.00 น. ศาลปกครองเพชรบุรี นัดฟังคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด กรณีนายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิต อักษร ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองเพชรบุรี จากการที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม โดยปลัดกระทรวงฯ ได้มีคำสั่งปลดนายชัยวัฒน์ ฯ ออกจากราชการ  ตามคำสั่งกระทรวงฯ ที่ 132/2564 ลงวันที่ 2 เม.ย. 2564 ตามมติของคณะกรรมการ ป.ป.ท. จากการปฏิบัติการตามโครงการอพยพชุมชนกลุ่มน้อยตามแนวชายแดนไทย – พม่า อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี หรือ “ยุทธการตะนาวศรี” เมื่อปี 2554 นั้น

โดยกรณีดังกล่าว ศาลปกครองเพชรบุรีได้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนการพิพากษา เมื่อวันที่ 27 ก.ค. 2565 มีคำสั่งทุเลาการบังคับตามคำสั่งกระทรวงฯ ที่ลงโทษปลดออกจากราชการไว้เป็นการชั่วคราว จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น กระทรวงฯ จึงมีคำสั่งให้นายชัยวัฒน์ ฯ กลับเข้ารับราชการชั่วคราว และศาลปกครองเพชรบุรี ได้มีคำพิพากษา เมื่อวันที่ 29 ก.ย. 2565 เพิกถอนคําสั่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ 132/2564 ลงวันที่ 2 เมษายน 2564 ที่ลงโทษปลดผู้ฟ้องคดี (นายชัยวัฒน์ ฯ) ออกจากราชการ 

ภายหลังผู้ถูกฟ้องคดี ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่ 2 และคณะกรรมการ ป.ป.ท. ที่ 3 มีการยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาดังกล่าว 

กระทั่งในวันที่ 16 ก.ค. 2568 ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษา ในคดีหมายเลขดำที่ อ. 2117/2568 คดีหมายเลขแดงที่ อ.587/2568 พิพากษา “แก้คำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้น เป็นให้เพิกถอนคำสั่งของ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 (ปลัดกระทรวงฯ) ตามคสั่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลับ ที่ 132/2564 ลงวันที่ 2 เม.ย. 2564 ที่สั่งลงโทษปลดผู้ฟ้องคดี (นายชัยวัฒน์ ฯ) ออกจากราชการ โดยให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่ออกคำสั่งดังกล่าว ยกฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ส่วนคำขออื่นจากนี้ให้ยก”  

เนื่องจากศาลปกครองสูงสุดพิเคราะห์แล้วเห็นว่า การที่ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนจะพิจารณาโทษทางวินัยกับผู้ถูกกล่าวหาตามฐานความผิดที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. มีมติชี้มูล โดยไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยอีก โดยให้ถือสำนวนของคณะกรรมการ ป.ป.ท. เป็นสำนวนการสอบสวนทางวินัย จะกระทำได้ต่อเมื่อเป็นข้อกล่าวหาที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. มีอำนาจหน้าที่ที่จะไต่สวนข้อเท็จจริง และชี้มูลความผิด กล่าวคือ ต้องเป็นการทุจริตต่อหน้าที่หรือประพฤติไม่ชอบในภาครัฐ หากเป็นความผิดทางวินัยอื่นที่ไม่เกี่ยวกับการกระทำทุจริตในภาครัฐของเจ้าหน้าที่รัฐ ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนย่อมไม่อาจที่จะพิจารณาโทษทางวินัยได้ตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. ชี้มูล โดยไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย และไม่อาจเอารายงานเอกสารและความเห็นของคณะกรรมการ ป.ป.ท. เป็นสำนวนการสอบสวนทางวินัยของคณะคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยได้ 

ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า การที่นายชัยวัฒน์ฯ ไม่ได้ดำเนินการตามคู่มือปฏิบัติงานป้องกันและปราบปรามการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้หลักเกณฑ์ มาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 มิใช่การกระทำทุจริตต่อหน้าที่อันเป็นมูลความผิดทางวินัย ตามนัยความหมายของคำว่าทุจริตต่อหน้าที่ ตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามทุจริต พ.ศ. 2551 กล่าวคือ มิใช่การกระทำที่มีมูลเหตุชักจูงใจเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่ควรได้โดยชอบสำหรับตนเองหรือผู้อื่น อันเป็นองค์ประกอบความผิด ที่เกี่ยวกับการกระทำการทุจริตในภาครัฐของเจ้าหน้าที่รัฐ 

ดังนั้น มติของคณะกรรมการ ป.ป.ท. ที่ชี้มูลความผิดวินัยนายชัยวัฒน์ฯ ตามมาตรา 85 (1) พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ. 2551 จึงไม่ผูกพันให้ อ.ก.พ.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของนายชัยวัฒน์ฯ ให้ต้องลงโทษตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. ชี้มูล กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงไม่อาจถือเอารายงานการไต่สวนข้อเท็จจริงดังกล่าวมาเป็นสำนวนการสอบสวนทางวินัยตามมาตรา 40 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2551

ภายหลังศาลอ่านคำพิพากษาเสร็จสิ้น ด้าน นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร ได้เปิดใจหลังศาลยกฟ้องคดีทุจริต กล่าวว่า ศาลปกครองสูงสุด ได้วินิจฉัยชัดเจนว่าสิ่งที่ผมถูกกล่าวหา ไม่ใช่การทุจริต แต่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามขั้นตอนราชการ ซึ่งอาจมีบางจุดที่ไม่ได้ทำครบถ้วนตามระเบียบ แต่ก็มีเหตุผลความจำเป็นที่ชี้แจงได้ และที่สำคัญคือ ศาลมองว่ากระบวนการที่กระทรวงใช้ลงโทษผมนั้น ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ศาลตั้งประเด็นไว้ 3 ข้อ ได้แก่ 1. ปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ 2. บทบัญญัติกฎหมายข้างต้นจะเป็นผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจ ในการแต่งตั้งผู้บังคับบัญชา ของปลัดกระทรวง 3. ชี้มูลความผิดโดยไม่ต้องตั้งคณะกรรมการสอบสวนคำวินัยอีก ซึ่งศาลเห็นว่ากระทรวง โดยเฉพาะปลัดกระทรวง ไม่ได้นำสำนวนของ ปปท. มาชี้มูล ไม่ได้ดำเนินการตามมาตรา 85 ของ พ.ร.บ.ข้าราชการพลเรือน ปี 2551 ซึ่งกำหนดไว้ว่า จะต้องมีการตั้งกรรมการสอบสวนก่อนที่จะลงโทษใคร

ซึ่ง ป.ป.ท. ชี้ในคณะกรรมการไต่สวนครั้งนี้ ว่ากระทรวงไม่ต้องไต่ส่วนเพิ่มเติม สามารถใช้สำนวนแนะนำชี้มูลนายชัยวัฒน์ได้เลย แต่ศาลพิจารณาแล้วว่าในการชี้มูลความผิดแรกก็คือกระทรวง โดยเฉพาะปลัดกระทรวงจะต้องแต่งตั้งคณะกรรมการไต่สวนหรือแจ้งให้ผู้ที่ถูกชี้มูลความผิดทราบในข้อนี้ เพื่อจะชี้แจงหรือเอาจำนวนมาต่อสู้ในกระบวนการ ผมไม่เคยได้รับแจ้งข้อกล่าวหา ไม่เคยมีโอกาสชี้แจง แล้วก็ถูกปลดออกทันที หลังจากที่ ป.ป.ท. มีมติส่งมา ถือว่ากระบวนการนี้ละเมิดสิทธิของผมอย่างชัดเจน ด้วยสาเหตุว่าไม่ถูกต้องมิชอบ

ในเนื้อหาการชี้มูลความผิดที่ ป.ป.ท. ใช้ไม่ถูกต้อง นายชัยวัฒน์ กล่าวว่า ผมเห็นว่าการชี้มูลของ ป.ป.ท. ไม่เป็นธรรม เพราะไม่มีการสอบสวนไต่สวนข้อเท็จจริงก่อน ไม่ตั้งกรรมการ ไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหา มติที่ออกมาก็อ้างเพียงว่าปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ แต่ศาลเห็นว่ามันเป็นเรื่องของการปฏิบัติงานภายใต้สถานการณ์พิเศษ ไม่ใช่การทุจริต ที่สำคัญคือ มีการกล่าวหาว่าผมไป เผาบ้านปู่คออี้ ที่หน่วยงาน 7 หน่วย ซึ่งผมยืนยันว่าไม่เป็นความจริงเลยแม้แต่นิดเดียว แผนที่ไม่มี จุดเผานั้นไม่มีอยู่จริง หน่วยงาน 7 หน่วยที่ร่วมปฏิบัติงานในวันนั้นก็ยืนยันได้ ผมยังไม่เคยไป “ปู่คออี้” ตามที่กล่าวหาเลย

ในเรื่องนี้ของกระทรวง หรือปลัดกระทรวงไม่ได้นำมาพูดถึงหลังจากที่เกิดเหตุ ปปท. มีมติเมื่อวันที่ 9 มีนาคม ก่อนส่งหนังสือมาถึงกระทรวง ก่อนที่ประชุมและมีมติไล่นายชัยวัฒน์ออก โดยไม่มีการแจ้งให้นายชัยวัฒน์ทราบ และไม่เคยตั้งคณะกรรมการสอบสวน เนื่องจากไม่ได้ทุจริตเป็นเพียงขั้นตอนในการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งอาจจะข้ามขั้นตอนไปบ้าง หรือขั้นตอนอาจจะมีปัญหาอุปสรรค ผมสามารถชี้แจงได้อยู่แล้วว่าทำไมต้องปฏิบัติแบบนั้น คนที่เข้าร่วมมีทั้งกระทรวง มีทั้งกรมแล้วที่เข้าไปมีทั้ง 7 หน่วยงานที่เข้าไปด้วยกันแล้วเป็นพื้นที่ชายแดน กองกำลังติดอาวุธมีหลายอย่าง ในสำนวนที่เราชี้แจงแล้วกระทรวงก็ชี้แจงเช่นเดียวกันแต่การชิมมูลครั้งนี้ไม่ได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวน ยืนตาม ปปท.เลย และนำเหตุผลนั้นมาชี้มูลความผิด ให้นายชัยวัฒน์ออกจากราชการ ด้วยสาเหตุว่าไม่ถูกต้องมิชอบ

กระบวนการร้องเรียนนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร? นายชัยวัฒน์ กล่าวว่า เหตุเกิดตั้งแต่ 5 – 9 พฤษภาคม 2554 แต่คนที่ฟ้องมาร้องเรียนในปี 2558 หลังจากที่ผมถูกย้ายจากตำแหน่ง แล้วก็ใช้เอกสารรายงานราชการที่เราทำตามปกติมาเป็นหลักฐานฟ้อง บอกว่า 7 จุดที่เรารายงานคือจุดที่ผมไปเผาบ้าน ซึ่งนายชัยวัฒน์ยืนยันว่า ไม่ใช่ข้อเท็จจริงแล้วเราตรวจสอบสำนวน พบว่ามีการ เขียนบทให้กับกลุ่มชาติพันธุ์มาเซ็นรับรอง พร้อมอ้างว่ามีเหตุเกิดขึ้นจริง และผู้ที่ถูกอ้างก็ถูกแจ้งความดำเนินคดีกลับแล้ว ซึ่ง เป็นสิ่งที่เราถูกกระทำแล้ววันนี้ข้อมูลที่เราแจ้งต่อศาลชั้นต้น ซึ่งศาลก็เห็นหลักฐานเป็นวิทยาศาสตร์ มีพยานยืนยัน ไม่ว่าจะเป็นข่าวสารปรากฏภาพในวันที่ ที่ปรากฏในแผนที่ แต่ที่พบมาไม่มี 7 จุดนั้น ไม่มีบ้านถูกเผาที่กับพวก 6 คน ซึ่งอยู่ในแผนที่นายชัยวัฒน์ขอชี้แจงว่าไม่มีความจริง และยืนยันว่าไม่เคยไป “ปู่คออี้”

ซึ่งวันนี้ก็พิสูจน์ให้เห็นว่า นายชัยวัฒน์ถูกกระทำมาโดยตลอด และศาลก็พิจารณาค่อนข้างชัดว่า ปลัดกระทรวงต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนนายชัยวัฒน์ เพื่อให้นายชัยวัฒน์ ได้มีโอกาสชี้แจง นำมาชี้มูลความผิดมันไม่ยุติธรรม