เกษตรกรควรเฝ้าระวัง โรคตายพรายกำลังกลับมาระบาด !

โรคตายพรายในพันธุ์กล้วย ที่เกษตรกรชาวสวนต้องเฝ้าระวัง

วันนี้ทีมจันลั่นทุ่งจะมาเตือนภัยและทำความรู้จักกับ โรคตายพราย โรคร้ายที่เกษตรกรควรรู้ เป็นโรคที่ทำความเสียอย่างรุนแรงกับต้นกล้วย จะเกิดขึ้นในกล้วยที่มีอายุ 4-5 เดือนขึ้นไป สาเหตุมาจากเชื้อรา ที่จะเข้าไปทำลายราก และท่ออาหารของต้น ทำให้เกิดการอุดตัน จึงทำให้ใบมีอาการขาดน้ำ เหี่ยว และเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ซึ่งหากเป็นแบบนี้ต่อไป ต้นกล้วยจะหยุดการเจริญเติบโตและจะตายไปในที่สุด

ซึ่งอาการของโรคตายพรายในกล้วย อาการเริ่มแรกจะเห็นทางกล้วยสีเหลือง 3-4 ใบ และหักพับตรงโคนก้านใบของใบล่าง หรือใบแก่ก่อน กล้วยที่ตกเครือแล้วจะเกิดการเหี่ยว ผลเล็กไม่ค่อยสมส่วน หรือแก่ก่อนเวลาของมัน และในระยะสุดท้ายจะพบว่า ใบของกล้วยจะมีสีเหลือง เหี่ยวแห้งทั้งต้น และจะยืนต้นตายไปในที่สุด

โดยวิธีป้องกัน และดูแลโรคตายพรายในกล้วยน้ำว้านั้น ในบริเวณที่ปลูกไม่ควรที่จะมีน้ำท่วมขัง เพราะจะทำให้กล้วยอ่อนแอ เกิดโรคได้ง่าย จึงต้องโรยปูนขาวบริเวณที่ปลูก ทำความสะอาดเครื่องมือ และอุปกรณ์การเกษตรอยู่เสมอ เพราะเชื้อสามารถลามได้ง่าย ต้องหมั่นสังเกตที่กอกล้วยว่า มีอาการของโรคตายพรายที่ได้กล่าวไปหรือไม่

อย่างไรก็ตาม เกษตรกรผู้ปลูกกล้วย ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่พืชสวนของตน ทางทีมจันลั่นทุ่งขอให้ทุกคนสู้ ๆ เป็นกำลังให้เกษตรกรทุกคนที่ปลูกพืชสวนทุกอย่างให้ผ่านวิกฤตช่วงนี้ไปได้ และอย่าลืมช่วยกันเฝ้าระวังโรคตายพรายที่เกิดขึ้นกับกล้วยที่แปลงเพาะปลูกของทุกคนด้วยนะคะ