การผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ให้ผลผลิตดีกว่าปลูกข้าว

ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ หลังทำนา มีการรับประกันราคา

นางประเทือง วาจรัต ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 11 อุบลราชธานี(สศท.11) สำนักงาน

เศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงการติดตามสถานการณ์การผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ รุ่น 2 (ข้าวโพดหลังนา) ของ

จังหวัดอุบลราชธานีซึ่งเป็นแหล่งผลิตอันดับ 1 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยปี 2566 (ข้อมูลจาก สศท.11 ณ

วันที่ 10 มีนาคม 2566) คาดว่า มีเนื้อที่ปลูกรวม 70,370 ไร่ เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาที่มีจำนวน 69,461 ไร่ (เพิ่มขึ้น

909 ไร่ หรือ ร้อยละ 1.30) ผลผลิตรวม 57,703 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาที่มีจำนวน 56,724 ตัน (เพิ่มขึ้น 979 ตัน

หรือ ร้อยละ 1.72) มีเกษตรกรผู้ปลูกที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร 5,683 ครัวเรือน ทั้งนี้ เนื้อที่ปลูกและ

ผลผลิตรวมเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาจูงใจ ประกอบกับภาคเอกชนมีการประกันราคารับซื้อ เกษตรกรจึงขยายเนื้อที่

ปลูก

สำหรับการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์รุ่น 2 (ข้าวโพดหลังนา) เกษตรกรจะปลูกช่วงเดือนพฤศจิกายน –

กุมภาพันธ์ ของปีถัดไป และเก็บเกี่ยวผลผลิตช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 6,060 บาท/ไร่/รอบ

การผลิต ผลผลิตเฉลี่ย 820 กิโลกรัม/ไร่/รอบการผลิต ผลตอบแทนเฉลี่ย 9,127 บาท/ไร่/รอบการผลิต ผลตอบแทน

สุทธิเฉลี่ย (กำไร) 3,067 บาท/ไร่/รอบการผลิต ทั้งนี้ ปี 2566 ผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์รุ่น 2 (ข้าวโพดหลังนา) ของ

เกษตรกร ในจังหวัดอุบลราชธานีจะทยอยออกสู่ตลาดในช่วงปลายเดือนมีนาคม และจะออกมากที่สุดช่วงเดือน

เมษายน คิดเป็นร้อยละ 70 ของผลผลิตทั้งจังหวัด

ราคาขายข้าวโพดเลี้ยงสัตว์รุ่น 2 (ข้าวโพดหลังนา) ของจังหวัดอุบลราชธานีในช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาด

ณ ความชื้น 14.50% เฉลี่ยอยู่ที่ 11.13 บาท/กิโลกรัม โดยมีบริษัท ก้าวหน้าอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ จำกัด,

บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ประกันราคารับซื้อที่กิโลกรัมละ 8.00 บาท รับไม่จำกัดจำนวน ถ้า

ราคาตลาดสูงจะรับซื้อตามราคาตลาด สำหรับปี 2566 มีบริษัทเพิ่มจุดรับซื้อตามอำเภอต่าง ๆ ที่เป็นแหล่งผลิตใหญ่

ๆ เพิ่มขึ้น จำนวน 4 จุด เพื่อช่วยลดค่าขนส่งให้กับเกษตรกร ซึ่งสอดคล้องกับนโยบาย “ตลาดนำการผลิต” ของ

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

“ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ เนื่องจากอุตสาหกรรมอาหารสัตว์มีความต้องการ

อย่างต่อเนื่อง ผลผลิตเกือบทั้งหมดได้นำมาใช้เป็นวัตถุดิบหลักในอุตสาหกรรมการผลิตอาหารสัตว์ โดยเฉพาะ

อุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่เนื้อ ไก่ไข่ และสุกร อีกทั้งภาครัฐได้มีการส่งเสริมและสนับสนุนการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

หลังฤดูทำนาเพื่อเป็นทางเลือกให้กับเกษตรกร เนื่องจากการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์นอกจากใช้ปริมาณน้ำน้อยแต่

ยังให้ผลตอบแทนสูงเมื่อเทียบกับการทำนาปรัง และนอกจากการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ยังมีพืชทางเลือกอื่น ๆ ที่

น่าสนใจ ช่วยลดปริมาณการใช้น้ำและช่วยสร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกรในพื้นที่ อาทิ ถั่วเขียว ถั่วเหลือง

ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดฝักอ่อน สามารถเพาะปลูกได้ทุกภูมิภาค” ผู้อำนวยการ สศท.11 กล่าว

ทั้งนี้ ขอฝากเตือนเกษตรกรให้เฝ้าระมัดระวังโรคหนอนกระทู้ที่มักจะพบในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน

(ข้อมูลจากศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ กรมวิชาการเกษตร) โดยก่อนเพาะปลูกให้คลุกเมล็ดด้วยสารไซแอนทรานิลิโพรล

20% เอสซี (กลุ่ม 28) อัตรา 20 ซีซี/เมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม แล้วค่อยพ่นสารทางใบต่อเมื่อพบหนอนหรือการระบาด

หากพบหนอนขนาดเล็กที่เพิ่งฟักจากไข่ พ่นด้วยสารชีวภัณฑ์ ได้แก่ เชื้อบีที สายพันธุ์ไอซาไว หรือ สายพันธุ์ เคอร์

สตาร์กี้ อัตรา 80 กรัม/น้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 4-7 วัน สำหรับการใส่ปุ๋ยควรใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ใช้ปุ๋ยให้ตรงตาม

ระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน และตรงตามความต้องการของพืช จะทำให้พืชเจริญเติบโตดี และการให้ผลตอบแทน

คุ้มค่าแก่การลงทุน หากท่านใดสนใจข้อมูลการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์รุ่น 2 (ข้าวโพดหลังนา) สอบถามเพิ่มเติมได้ที่

สำนักงานเกษตรจังหวัดอุบลราชธานี โทร 0 4531 1052 และ สศท.11 อุบลราชธานี โทร 0 4534 4654 หรือ อีเมล

[email protected]