เปิดแผน จัดสรร วัคซีนโควิด ประเทศไทย

ศูนย์ข้อมูล COVID-19 เปิดแผน จัดสรร วัคซีนโควิด ประเทศไทย ทั้ง 63 โดส ใน 3 ระยะ ภายในปี 2564

ศูนย์ข้อมูล COVID-19 เปิดแผนการจัดสรรวัคซีนโควิค-19 ปี 2564 จำนวน 63 ล้านโดส ออกเป็น 3 ส่วน ใน 3 ระยะ ประกอบด้วย

ระยะที่ 1 นำเข้าจาก ชิโนแวค (Sinovac) ช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน 2564 จำนวน 2 ล้านโดส จัดสรรเพื่อปกป้องระบบสุขภาพของประเทศ ลดอัตราการป่วยและตาย 89% จำนวน 1,778,700 โดส จัดสรรเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ 10% จำนวน 200,000 โดส และสำรองกรณีฉุกเฉิน 1% จำนวน 21,300 โดส

ระยะที่ 2 นำเข้าจาก แอสตราเซเนกา (AstraZeneca) ช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคม 2564 จำนวน 26 ล้านโดส จัดสรรเพื่อปกป้องระบบสุขภาพของประเทศ ลดอัตราการป่วยและตาย 70% จำนวน 18,200,000 โดส จัดสรรเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ 25% จำนวน 6,500,000 โดส และสำรองกรณีฉุกเฉิน 5% จำนวน 1,300,000 โดส

และระยะที่ 3 นำเข้าจาก แอสตราเซเนกา (AstraZeneca) ช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคม 2564 จำนวน 35 ล้านโดส จัดสรรเพื่อปกป้องระบบสุขภาพของประเทศ ลดอัตราการป่วยและตาย 50% จำนวน 17,500,000 โดส จัดสรรเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ 48% จำนวน 16,800,000 โดส และสำรองกรณีฉุกเฉิน 2% จำนวน 700,000 โดส

ส่วนแผนการจัดหาวัคซีนโควิด ทั้ง 63 โดส จากทั้ง 3 ระยะ แบ่งการนำเข้าเป็นรายเดือน ประกอบด้วย

ระยะที่ 1 จาก ชิโนแวค (Sinovac) วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564 นำเข้าจำนวน 200,000 โดส เดือนมีนาคม 2564 นำเข้าจำนวน 800,000 โดส และเดือนเมษายน 2564 นำเข้า 1,000,000 โดส

ระยะที่ 2 จาก แอสตราเซเนกา (AstraZeneca) เดือนมิถุนายน 2564 นำเข้าจำนวน 6,000,000 โดส เดือนกรกฎาคม 2564 นำเข้าจำนวน 10,000,000 โดส และเดือนสิงหาคม 2564 นำเข้า 10,000,000 โดส

และระยะที่ 3 จาก แอสตราเซเนกา (AstraZeneca) เดือนกันยายน 2564 นำเข้าจำนวน 10,000,000 โดส เดือนตุลาคม 2564 นำเข้าจำนวน 10,000,000 โดส เดือนพฤศจิกายน 2564 นำเข้า 10,000,000 โดส และเดือนธันวาคม 2564 นำเข้า 5,000,000 โดส

ขณะที่แผนการกระจายวัคซีนโควิด ระยะที่ 1 จากชิโนแวค (Sinovac) จำนวน 200,000 โดส ในช่วงเดือนมีนาคม 2564 ใน 13 จังหวัด ประกอบด้วย

-พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 1 จังหวัด ได้แก่ สมุทรสาคร จำนวน 70,000 โดส

-พื้นที่ควบคุมสูงสุด 4 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ ฝั่งตะวันตก จำนวน 66,000 โดส ปทุมธานี จำนวน 8,000 โดส นนทบุรี จำนวน 6,000 โดส และสมุทรปราการ จำนวน 6,000 โดส

-พื้นที่ควบคุม 4 จังหวัด ได้แก่ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก จำนวน 5,000 โดส นครปฐม จำนวน 3,500 โดส ราชบุรี จำนวน 2,500 โดส และสมุทรสงคราม จำนวน 2,000 โดส

-พื้นที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม 4 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี จำนวน 4,700 โดส ภูเก็ต จำนวน 4,000 โดส เชียงใหม่ จำนวน 3,500 โดส และเกาะสมุย สุราษฎร์ธานี จำนวน 2,500 โดส